แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ดนตรีศักดิ์สิทธิ์
    บทที่ 6 ของธรรมนูญ SC เกี่ยวกับดนตรีศักดิ์สิทธิ์ได้รับการลงคะแนนเสียงรับรองเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ.1963 จากพระสังฆราชผู้ร่วมประชุมสภาฯจำนวน 2,096 องค์ ผลการลงคะแนนเป็นดังนี้ 2,080 คะแนนเสียงเห็นด้วย 6 คะแนนเสียงไม่เห็นด้วย 9 คะแนนเสียงเห็นด้วยโดยมีเงื่อนไข และ 1 คะแนนเป็นโมฆะ การพิจารณาถกเถียงก่อนลงคะแนนดำเนินไปอย่างราบรื่นและรวดเร็ว ถึงกระนั้น ความเห็นก็แบ่งเป็นสองกลุ่มอย่างเห็นได้ชัดตลอดบทที่ 6 นี้ มีกลุ่มหนึ่งที่ต้องการเก็บรักษา “ประเพณีการใช้ดนตรีของพระศาสนจักรสากล ซึ่งเป็นขุมทรัพย์ล้ำค่าสุดจะประมาณได้” (SC112) และอีกกลุ่มหนึ่งที่มีแนวโน้มที่จะคงยึดมั่นกับลักษณะด้านการอภิบาลและหลักการด้านพิธีกรรมของสภาฯ ตัวอย่างของแนวคิดทั้งสองนี้ปรากฏชัดในข้อ 114

    “ต้องเก็บรักษาและส่งเสริมมรดกทางดนตรีศักดิ์สิทธิ์ไว้ด้วยความเอาใจใส่อย่างยิ่ง ควรเอาใจใส่ส่งเสริมคณะนักขับร้อง โดยเฉพาะคณะนักขับร้องประจำอาสนวิหาร บรรดาพระสังฆราชและผู้อภิบาลสัตบุรุษต้องเอาใจใส่อย่างจริงจัง ให้ทุกครั้งที่ประกอบพิธีกรรมที่มีการขับร้อง สัตบุรุษทุกคนซึ่งมาชุมนุมกันต้องมีส่วนร่วมด้วยอย่างแข็งขันตามกฎในข้อ 28 และ 30” (SC114)
    ข้อ 112 ชี้ให้เห็นแนวความคิดแบบใหม่เกี่ยวกับดนตรีศักดิ์สิทธิ์ บรรดาพระสังฆราชผู้ร่วมประชุมมีความเห็นสอดคล้องกับธรรมประเพณีด้านดนตรีของพระศาสนจักร จึงย้ำถึงคุณค่าของดนตรีศักดิ์สิทธิ์ว่า “ประเพณีการใช้ดนตรีในพระศาสนจักรสากลเป็นขุมทรัพย์ล้ำค่าสุดจะประมาณได้ ประเสริฐกว่าศิลปะแบบอื่นใด ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า การขับร้องบทเพลงศักดิ์สิทธิ์ซึ่งประสานเป็นหนึ่งเดียวกับถ้อยคำ เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นของพิธีกรรมอย่างสง่า” (SC112)
    คำพูดเป็นส่วนประกอบของพิธีกรรม ถ้อยคำและบทเพลงก็เป็นเช่นเดียวกัน เราจึงกล่าวได้ว่าดนตรีศักดิ์สิทธิ์มิได้มีจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากเพื่อจุดประสงค์ของพิธีกรรม จุดประสงค์ของดนตรีศักดิ์สิทธิ์ คือ พระสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้าและการบันดาลความศักดิ์สิทธิ์แก่ผู้มีความเชื่อ (SC112) บรรดาพระสังฆราชผู้ร่วมประชุมจึงกล่าวถึง “บทบาทสำคัญเพื่อรับใช้ที่ดนตรีศักดิ์สิทธิ์มีในคารวกิจต่อพระเจ้า” (SC112) บทบาทของดนตรีศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรมนั้นเกี่ยวข้องกับประชาชน
    “ดังนั้น ยิ่งดนตรีศาสนามีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการประกอบพิธีกรรมมากเพียงใด ก็ยิ่งศักดิ์สิทธิ์มากขึ้นเพียงนั้น เพราะทำให้การอธิษฐานภาวนามีความไพเราะมากขึ้น ส่งเสริมความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และช่วยให้จารีตพิธีสง่างามยิ่งขึ้น พระศาสนจักรรับรองศิลปะแท้ทุกรูปแบบที่มีลักษณะเหมาะสม และยอมนำมาใช้ในคารวกิจต่อพระเจ้า” (SC112)
    บรรดาพระสังฆราชผู้ร่วมประชุมสภาฯ กล่าวซ้ำที่นี่ถึงหลักการทางเทววิทยาที่ท่านเคยใช้นิยามคุณสมบัติของศิลปะศักดิ์สิทธิ์ว่า “ศิลปะเหล่านี้ (ศิลปะศาสนาและศิลปะศักดิ์สิทธิ์) บรรลุจุดประสงค์ของตนที่จะส่งเสริมการสรรเสริญและถวายพระเกียรติแด่พระเจ้าตามส่วนที่ถูกใช้โดยเฉพาะเพื่อจุดประสงค์เพียงประการเดียว คือเพื่อนำจิตใจของประชาชนให้หันหาพระเจ้าได้อย่างเลื่อมใสศรัทธา” (SC122)
    ดนตรีศักดิ์สิทธิ์และศิลปะศักดิ์สิทธิ์ถูกจัดอยู่ในลำดับของการเป็นสิ่ง “ศักดิ์สิทธิ์” ได้ก็เพราะนำจิตใจของประชาชนไปหาพระเจ้า จุดประสงค์ของดนตรีศักดิ์สิทธิ์คือเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในพิธีกรรม โดยเพิ่มความไพเราะแก่คำภาวนา หล่อเลี้ยงจิตใจให้เป็นหนึ่งเดียวกันและช่วยให้พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์มีความสง่างามมากยิ่งขึ้น “การประกอบพิธีกรรมมีลักษณะสูงส่งชวนศรัทธายิ่งขึ้น เมื่อพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ประกอบอย่างสง่าโดยมีการขับร้อง มีศาสนบริกรศักดิ์สิทธิ์คอยช่วยเหลือ และมีประชาชนมาร่วมด้วยอย่างแข็งขัน” (SC113)
    ในพิธีกรรมของสภาสังคายนาที่เมืองเตร็นท์ บทเพลงเกรโกเรียนเป็นดนตรีศักดิ์สิทธิ์เพียงอย่างเดียวในทางปฏิบัติของจารีตโรมัน บรรดาพระสังฆราชผู้ร่วมประชุมสภาฯกล่าวไว้ในข้อ 116 ว่า “พระศาสนจักรยอมรับว่า บทเพลงเกรโกเรียนเป็นบทเพลงเฉพาะของพิธีกรรมจารีตโรมัน ดังนั้น ในการประกอบพิธีกรรม ต้องถือว่าบทเพลงเกรโกเรียนเป็นเอก ถ้าสถานการณ์ไม่เรียกร้องให้เป็นอย่างอื่น
    แต่ดนตรีศักดิ์สิทธิ์ประเภทอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทเพลงประสานเสียง ก็ไม่ถูกกีดกันให้ใช้ในพิธีกรรม ขอแต่ให้ดนตรีประเภทนั้นเข้ากับเจตนารมณ์ของการประกอบพิธีกรรมตามกฎที่ให้ไว้ในข้อ 30” ซึ่งกล่าวถึงการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของประชาชนว่า “เพื่อส่งเสริมการมีร่วมพิธีกรรมอย่างแข็งขัน ควรเอาใจใส่ให้สัตบุรุษมีส่วนโดยการขับร้องถวายเกียรติ การตอบรับ การขับร้องเพลงสดุดี บทสร้อย บทเพลงสรรเสริญต่างๆ รวมทั้งกิจการ อากัปกิริยาและอิริยาบถของร่างกาย และควรให้ทุกคนเงียบสงบด้วยความเคารพในเวลาที่เหมาะสมด้วย” (SC30)
    มีเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งที่ต้องได้รับคำอธิบายให้ชัดเจนที่นี่ เมื่อสภาสังคายนาฯ กล่าวถึงการใช้บทเพลงเกรโกเรียนหรือภาษาละตินในพิธีกรรมของจารีตโรมัน เรื่องนี้หมายถึงพิธีกรรมที่ปฏิรูปแล้วเสมอ ดังนั้น จึงมีคำสั่ง “ให้จัดพิมพ์หนังสือบทเพลงเกรโกเรียนฉบับมาตรฐานให้เสร็จ” (SC117) นอกจากนั้น ยังควรจัดพิมพ์หนังสือที่มีทำนองง่ายๆสำหรับใช้ตามวัดเล็กๆด้วย” (SC117) ถ้าประชาชนชอบมิสซาภาษาละตินและบทเพลงเกรโกเรียน เขาก็อาจทำเช่นนั้นได้โดยประกอบพิธีตามจารีตใหม่ของมิสซาเป็นภาษาละตินและขับร้องบทเพลงเกรโกเรียนตามความเหมาะสม
    ธรรมนูญข้อ 115 กล่าวถึงความสำคัญของการสอนและฝึกหัดดนตรีในสามเณราลัย ในนวกสถานและบ้านอบรมศึกษาของคณะนักบวชทั้งชายและหญิง รวมทั้งในสถาบันและสถาบันศึกษาคาทอลิกต่างๆด้วย สภาสังคายนาฯ ยังสนับสนุนให้จัดตั้งสถาบันดนตรีศักดิ์สิทธิ์ชั้นสูงยิ่งขึ้นเมื่อทำได้ แต่แล้วธรรมนูญข้อนี้กลับจบลงห้วนๆด้วยข้อความที่ทำให้เรารู้สึกสับสนนิดหน่อยว่า “นักแต่งเพลงและนักขับร้อง โดยเฉพาะเด็กชาย ต้องได้รับการฝึกฝนด้านพิธีกรรมที่แท้จริงด้วย” วลี “โดยเฉพาะเด็กชาย” อาจมีความหมายเป็นการเปิดกว้าง ถ้าหมายความว่า “ไม่เฉพาะแต่เด็กชายเท่านั้น” แต่วลีนี้รู้สึกว่าออกจะแปร่งๆสักหน่อย ถึงกระนั้น  จิตตารมณ์การเปิดกว้างของวาติกันที่ 2 ก็ปรากฏชัดในธรรมนูญข้อต่อๆไปว่า
    นักดนตรีที่ดื่มด่ำด้วยจิตตารมณ์คริสตชน จะต้องเข้าใจว่า ตนได้รับเรียกมาให้มีหน้าที่ส่งเสริมดนตรีศักดิ์สิทธิ์และเพิ่มขุมทรัพย์ทางดนตรี นักดนตรีควรแต่งทำนองเพลงที่มีลักษณะแท้จริงของดนตรีศักดิ์สิทธิ์ เป็นทำนองที่ไม่เพียงนักขับร้องคณะใหญ่ขับร้องได้เท่านั้น แต่ให้นักขับร้องคณะเล็กๆ ขับร้องได้ด้วย และเป็นทำนองที่ช่วยให้สัตบุรุษทุกคนที่มาชุมนุมกัน ก็มีส่วนร่วมขับร้องได้อย่างแข็งขันด้วย”  (SC121)
    เกี่ยวกับการใช้เครื่องดนตรีต่างๆ ธรรมนูญ SC กล่าวว่า
    “ในพระศาสนจักรละติน ควรให้เกียรติเป็นพิเศษแก่ออร์แกนลม (pipe organ) เพราะเป็นเครื่องดนตรีที่เคยใช้มาแต่โบราณ มีเสียงไพเราะ ทำให้จารีตพิธีของพระศาสนจักรมีความสง่างามเพิ่มขึ้นอย่างน่าพิศวง อีกทั้งยังช่วยยกจิตใจขึ้นไปหาพระเจ้าและสวรรค์ได้ดีขึ้น ส่วนการจะอนุญาตใช้เครื่องดนตรีอื่นๆ ในพิธีกรรม ให้อยู่ในดุลพินิจของผู้มีอำนาจปกครองท้องถิ่นตามกฎในข้อ 22 (2), 37 และ 40 ในการอนุญาตนี้ควรพิจารณาว่าเครื่องดนตรีนั้นเหมาะสมกับการใช้ในคารวกิจหรืออาจดัดแปลงให้เหมาะสม สอดคล้องกับศักดิ์ศรีของสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และส่งเสริมความเลื่อมใสศรัทธาให้สัตบุรุษมีส่วนร่วมพิธีกรรมอย่างแข็งขันได้จริงหรือไม่” (SC120)
    เกี่ยวกับบทเพลงศักดิ์สิทธิ์แบบชาวบ้าน ธรรมนูญ SC กล่าวว่า
    “ควรเอาใจใส่ส่งเสริมบทเพลงศักดิ์สิทธิ์แบบชาวบ้าน เพื่อช่วยให้สัตบุรุษร่วมขับร้องได้ทั้งในกิจศรัทธาทั่วไปและเมื่อประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ตามกฎเกณฑ์และข้อบังคับของจารีตพิธี” (SC118)
    จิตตารมณ์ของสภาสังคายนาฯ เรื่องการปรับพิธีกรรมของคริสตชนให้เข้ากับวัฒนธรรมต่างๆนั้น ปรากฏชัดในธรรมนูญ ข้อ 119
    “ในบางท้องที่ โดยเฉพาะในดินแดนมิสซัง ชนบางชาติมีประเพณีด้านดนตรีของตน ซึ่งมีความสำคัญมากในชีวิตทางศาสนาและสังคม เราจึงต้องยอมรับและให้ความสำคัญแก่ดนตรีดังกล่าวตามความเหมาะสม ทั้งโดยปลูกฝังมิติทางศาสนาในชนชาติเหล่านั้น และปรับพิธีกรรมให้เข้ากับลักษณะเฉพาะของเขา ตามกฎในข้อ 39 และ 40 ดังนั้น ในการอบรมธรรมทูตให้มีความรู้ทางด้านดนตรี จึงต้องเอาใจใส่จัดการเท่าที่ทำได้ ให้เขามีสมรรถนะที่จะส่งเสริมดนตรีซึ่งเป็นประเพณีของชนชาติเหล่านี้ ทั้งในโรงเรียนและในการประกอบพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์” (SC119)
    แล้ววันนี้ที่นี่ในฮ่องกงและจีนแผ่นดินใหญ่ควรจะเรียนรู้อะไรจากบทที่ 6 ของธรรมนูญ SC ในเรื่องดนตรีศาสนา ข้าพเจ้าคิดว่า สิ่งแรกที่จะต้องทำคือศึกษาเรียนรู้ถึงบริบททางสังคมที่แตกต่างกันอย่างมากที่เรากำลังดำเนินชีวิตอยู่ด้วยวันนี้ เมื่อ 40 ปีก่อนฮ่องกงยังเป็นอาณานิคมของอังกฤษอยู่ ดนตรีตะวันตกเป็นที่นิยมอย่างมาก เด็กหลายๆคนเรียนเล่นเปียโน ดนตรีจีนก็เป็นที่นิยมเช่นเดียวกัน อุปรากรจีน (งิ้ว) ก็เป็นที่นิยม แต่วัฒนธรรมส่วนใหญ่มีแนวโน้มไปทางตะวันตกอย่างมาก ดนตรีป๊อปสำหรับเยาวชนได้รับอิทธิพลโดยตรงจากสหรัฐอเมริกา  ดนตรีป๊อปของจีนกำลังเริ่มปรากฏตัวออกมา ทีแรกส่วนใหญ่มักจะเป็นเพลงภาษาจีนกลาง แต่ดนตรีป็อปภาษากวางตุ้งก็เริ่มเกิดขึ้นด้วย การนำท่วงทำนองเพลงภาษกวางตุ้งมาปรับเข้ากับดนตรีป๊อปของตะวันตกเป็นงานที่ยาก
    อย่างไรก็ตาม ศิลปินชาวกวางตุ้งที่สำคัญหลายคนได้รับการสนับสนุนจากสื่อและผู้ส่งเสริมที่ชาญฉลาด ก็ได้สร้างอุตสาหกรรม ดนตรีกวางตุ้งที่กลายเป็นแนวดนตรีร่วมสมัยที่สำคัญและเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วไปขึ้นได้อย่างรวดเร็ว
    ชาวคาทอลิกก็หวังว่าในพิธีกรรมคาทอลิก เพลงภาษากวางตุ้งคงจะมีคุณภาพแบบเดียวกัน ในปีแรกๆที่มีการทดลองใช้ดนตรีกวางตุ้งในพิธีกรรมเป็นช่วงเวลาที่ยากลำบากมาก ทุกสิ่งเป็นผลงานของผู้อาสามัคร ซึ่งในตนเองก็เป็นพระพรจากสวรรค์ เวลานั้นไม่มีผู้ที่ได้รับการฝึกฝนแบบมืออาชีพมาควบคุมและส่งเสริมดนตรีศักดิ์สิทธิ์ภาษากวางตุ้ง เหนือสิ่งอื่นใด มีสิ่งหนึ่งที่ขาดไปอย่างน่าเสียดาย คือ การสนับสนุนที่ชัดเจนอย่างเห็นได้ชัดจากผู้มีอำนาจปกครอง ไม่เพียงแต่การสนับสนุนผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับพิธีกรรม แต่โดยเฉพาะการสนับสนุนบรรดาผู้มีความเชื่อ เพื่อให้กำลังใจเขาให้หันมาใช้ดนตรีศักดิ์สิทธิ์ภาษากวางตุ้ง โดยให้การแนะแนวที่ชัดเจนและการตัดสินใจที่จะนำดนตรีเข้าสู่วัฒนธรรม บางครั้ง อย่างมากที่สุด ผู้มีอำนาจปกครองอาจให้ผู้รับผิดชอบเรื่องการนำการปฏิรูปพิธีกรรมมาปฏิบัติมีโอกาสจัดการอยู่บ้าง แต่ผู้มีอำนาจปกครองเองไม่ได้อุทิศตนเพื่องานนำพิธีกรรมเข้าสู่วัฒนธรรมซึ่งเป็นงานที่ยากลำบาก ถึงกระนั้น เราก็ต้องขอบพระคุณพระเจ้าที่ประทานนักแต่งเพลงท้องถิ่นผู้น่าชมหลายคนในช่วงเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมานี้ ในช่วงเวลาที่สั้นมากๆ (30หรือ40ปีนับว่าเป็นช่วงเวลาสั้นมากเพื่อจะสร้างดนตรีใหม่ๆสำหรับพิธีกรรม) พระเจ้าประทานบุคคลเหล่านี้แก่เราเป็นเสมือน “คลังขุมทรัพย์” ซึ่งจะต้องเจริญเติบโตขึ้นต่อไป เราไม่อาจพอใจกับสิ่งที่เรามีอยู่แล้วนี้ได้ นักแต่งเพลงต้องได้รับกำลังใจให้สร้างสรรค์ดนตรีที่ช่วยให้บรรดาผู้มีความเชื่อร่วมพิธีกรรมอย่างแข็งขันได้ ในที่สุด บรรดาผู้มีความเชื่อเหล่านี้ก็จะแยกแยะได้ว่าเพลงบทใดช่วยพวกเขาให้ยกจิตใจขึ้นหาพระเจ้าได้ และเพลงบทใดไม่เป็นเช่นนั้น
    ขอให้ข้าพเจ้ายกตัวอย่างสักเรื่องหนึ่ง ข้าพเจ้าจำได้ว่าเมื่อข้าพเจ้าอยู่ที่เวียดนามเมื่อสงครามจบ ข้าพเจ้าได้ไปถวายมิสซาสำหรับชุมชนที่พูดภาษากวางตุ้งที่นั่นบ่อยๆ เมื่อเราขับร้องบท “ข้าแต่พระบิดา” พร้อมกันเป็นภาษากวางตุ้ง (ที่แต่งทำนองที่นี่ในฮ่องกง แต่ก็ได้เผยแผ่ไปถึงชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลหลายแห่ง) ความรู้สึกสะเทือนใจและความไว้ใจในพระเจ้า ที่บทเพลงได้ปลุกขึ้นในผู้ร่วมพิธีนั้นท่วมท้นขึ้นภายในจิตใจของทุกคน ไม่มีบท “ข้าแต่พระบิดา” ใดๆ อาจทำให้จิตของทุกคนหันไปหาพระเจ้าเช่นนั้นได้ การขับร้องเป็นภาษาแม่ของตนคงได้ดังก้องอยู่ในส่วนลึกที่สุดของจิตใจของพวกเขา เวลาได้ผ่านมาแล้วหลายปี แต่ละครั้งที่ข้าพเจ้าขับร้องบท “ข้าแต่พระบิดา”  พร้อมกับประชาชนเป็นภาษากวางตุ้ง ข้าพเจ้าก็รู้สึกลึกๆถึงความหมายลึกซึ้งที่ทุกคนมีร่วมกันว่า กำลังอธิษฐานภาวนาพร้อมกับพระเยซูเจ้าแด่พระบิดาในพระจิตเจ้า บท “ข้าแต่พระบิดา”  ได้กลายเป็นธรรมประเพณีของดนตรีศักดิ์สิทธิ์ในภาษากวางตุ้ง เรื่องนี้ชวนให้คิดถึงอีกเรื่องหนึ่ง คือ เราจำเป็นต้องสร้างขุมทรัพย์ด้านดนตรีในพิธีกรรมเป็นภาษากวางตุ้ง เรายังต้องสร้างสรรค์บทเพลงใหม่ๆ เพราะการคัดเลือกที่สัตบุรุษได้ทำจะคัดเพลงหลายบทออกไป แต่เราต้องเก็บรักษาบทเพลงที่เคยใช้กันมา โดยเฉพาะบทเพลงสำหรับวันฉลองใหญ่ๆและเทศกาลต่างๆ เสียงเพลงและทำนองไพเราะจะปลุกวันฉลองและเทศกาลขึ้นในใจของบรรดาผู้มีความเชื่อเป็นประจำทุกปี

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:44-51) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “ไม่มีใครมาหาเราได้ นอกจากพระบิดาผู้ทรงส่งเรามาจะทรงชักนำเขา และเราจะทำให้เขากลับคืนชีพในวันสุดท้าย มีเขียนไว้ในหนังสือของบรรดาประกาศกว่า ทุกคนจะได้รับคำสอนจากพระเจ้า ทุกคนที่ได้ฟังพระบิดา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
1141
23407
68191
180709
306218
35924431
Your IP: 18.190.217.134
2024-04-20 01:04

สถานะการเยี่ยมชม

มี 555 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์