แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

‘ธรรมประเพณีที่ดีงาม’ และ ‘ความก้าวหน้าที่ชอบธรรม’
    ข้าพเจ้าคิดว่าถ้าเราต้องการเข้าใจว่า บรรดาพระสังฆราชผู้ร่วมประชุมหมายความว่าอย่างไรเมื่อกล่าวถึง “ธรรมประเพณีที่ถูกต้องและความก้าวหน้าที่ชอบธรรม” เราก็ต้องระลึกถึงบริบทที่เรื่องนี้ได้รับการพิจารณาและรับรอง น่าจะเป็นความผิดอย่างมากที่จะแยกเรื่องนี้จากบริบทนั้น และพิจารณามันเหมือนกับเรื่องเทววิทยาทั่วไป วาติกันที่ 2 ไม่ใช่การประชุมนักเทววิทยาเพื่อพิจารณาปัญหาทางเทววิทยาด้านนามธรรมเท่านั้น วาติกันที่ 2 เป็นการประชุมของบรรดา “ผู้อภิบาล” บรรดาพระสังฆราชที่มาจากพระศาสนจักรท้องถิ่น และจะกลับไปยังพระศาสนจักร (ท้องถิ่น) ของตน จุดหมายของเขาเหล่านี้เป็นจุดหมายด้านอภิบาล คือ เพื่อจะช่วยอย่างดีที่สุดอย่างไรให้ ‘ผู้มีความเชื่อได้รับคำแนะนำให้มีส่วนร่วมประกอบพิธีกรรมอย่างเต็มที่ โดยมีความรู้และอย่างแข็งขัน ธรรมชาติของพิธีกรรมเองก็เรียกร้องให้ทำเช่นนี้และยังมีสิทธิและหน้าที่อาศัยศีลล้างบาปที่จะทำเช่นนี้’ (SC 14)

บรรดาพระสังฆราชผู้ร่วมประชุมสภาได้ลงความเห็นร่วมกันถึงหลักการพื้นฐานว่าจะปฏิรูปเรื่องใด ทำไมจึงต้องปฏิรูป และจะต้องปฏิรูปอย่างไร “การปรับปรุงแก้ไขและส่งเสริมพิธีกรรมต้องมีจุดประสงค์ก่อนอื่นหมด ที่จะให้ประชากรทั้งหมดร่วมพิธีกรรมอย่างเต็มที่และอย่างแข็งขัน เพราะพิธีกรรมเป็นบ่อเกิดแรกและจำเป็นที่ผู้มีความเชื่อจะตักตวงชีวิตจิตแบบคริสตชนอย่างแท้จริง” (SC 14) เพื่อบรรลุจุดประสงค์นี้ คือ “เพื่อประชากรคริสตชนจะได้รับพระหรรษทานอย่างอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้นจากพิธีกรรม พระศาสนจักร มารดาศักดิ์สิทธิ์ มีความประสงค์ที่จะปรับปรุงแก้ไขพิธีกรรมทั่วไปอย่างจริงจัง”... “ในการปรับปรุงแก้ไขนี้ จำเป็นต้องจัดตัวบทและจารีตพิธีใหม่ เพื่อให้แสดงความหมายของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ปรากฏชัดยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชากรคริสตชนเข้าใจความหมายได้ง่ายและสมบูรณ์เท่าที่จะเป็นได้ เขาจะได้ร่วมพิธีอย่างแข็งขันเต็มเปี่ยมร่วมกันให้สมกับที่เป็นชุมชน” (SC 21)
1. เพื่อรักษาธรรมประเพณีที่ดีงามไว้ และเพื่อเปิดทางสำหรับความก้าวหน้าที่ชอบธรรม... (SC 23)
    ต่อจากนั้น สภาสังคายนาฯ จึงเสนอข้อสังเกตสำคัญบางประการที่เกี่ยวกับเรื่อง “ธรรมประเพณีที่ดีงามและความก้าวหน้าที่ชอบธรรม” ไว้ดังนี้ว่า “พิธีกรรมประกอบด้วยส่วนที่พระเจ้าทรงกำหนด จึงเปลี่ยนแปลงไม่ได้ และประกอบด้วยส่วนที่เปลี่ยนแปลงได้ ส่วนนี้เมื่อเวลาล่วงไปอาจหรือต้องเปลี่ยนแปลง ถ้าบังเอิญมีองค์ประกอบที่ไม่สอดคล้องกับธรรมชาติของพิธีกรรมหรือไม่เหมาะสมอีกต่อไปสอดแทรกเข้ามา” (SC 21)
    สภาสังคายนาฯย้ำบ่อยๆ ถึงข้อสังเกตนี้เมื่อกล่าวถึงการปฏิรูปศีลศักดิ์สิทธิ์และสิ่งคล้ายศีลต่างๆ “ในช่วงเวลาที่ผ่านมา รายละเอียดบางประการของพิธีได้แทรกเข้าไปในการประกอบศีลศักดิ์สิทธิ์และสิ่งคล้ายศีล ทำให้คนในสมัยนี้เข้าใจลักษณะและจุดหมายของศีลศักดิ์สิทธิ์และสิ่งคล้ายศีลได้น้อยลง จึงจำเป็นต้องปรับปรุงบางสิ่งบางอย่างให้เหมาะสมกับสภาพในสมัยของเรา สภาสังคายนาจึงกำหนดให้ปรับปรุงแก้ไขพิธีต่างๆดังต่อไปนี้” (SC 62)
    ธรรมนูญข้อ 23 น่าจะได้รับความเอาใจใส่เป็นพิเศษในการพิจารณาเกี่ยวกับ “ธรรมประเพณี” และ “การเปลี่ยนแปลง” การนี้ฟังแล้วอาจทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าเป็นเสียงสั่งของนักวิชาการ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เป็นเสียงของผู้อภิบาลที่เชิญชวนให้นักวิชาการใช้ความสามารถเพื่อรับใช้ประชาชน “เพื่อรักษาธรรมประเพณีที่ดีงามไว้ และเพื่อเปิดทางสำหรับความก้าวหน้าอันชอบธรรม จะต้องตรวจสอบแต่ละส่วนของพิธีกรรมที่จะต้องแก้ไขนั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนเสมอ ในด้านเทววิทยา ประวัติศาสตร์ และการอภิบาล” (SC 23) แล้วสภาสังคายนาฯ จึงเสริมบางสิ่งที่ทุกวันนี้เกือบถูกลืมไปหมดแล้วว่า “นอกจากนั้นจะต้องคำนึงถึงทั้งกฎทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างและเจตนารมณ์ของพิธีกรรม รวมทั้งประสบการณ์ที่ได้มาจากการฟื้นฟูพิธีกรรมที่เพิ่งทำไปแล้ว และจากอนุญาตพิเศษที่สันตะสำนักเคยออกให้แก่หลายๆพื้นที่” (SC 23)
    นักวิชาการไม่อาจแยกตัวอยู่แต่ในห้องสมุดของตนเท่านั้น นักวิชาการต้องมีโอกาสเปรียบเทียบกฎทั่วไปด้านพิธีกรรมกับการปฏิรูปพิธีกรรมทางปฏิบัติที่ทำอยู่ในพระศาสนจักรและยังต้องพิจารณาผลลัพธ์ของการทดลองหลายๆอย่างที่ทำอยู่แล้วในชุมชนเล็กๆหรือเขตวัดต่างๆซึ่งได้รับอนุญาตพิเศษจากผู้มีอำนาจปกครองของพระศาสนจักรต้องพร้อมที่จะทดลองข้อเสนอใหม่ๆ โดยมีเจตนาที่จะรับใช้ผู้อื่นอย่างแท้จริง ในสมัยนั้นการทดลองเช่นนี้มีอยู่น้อยมาก แต่ก็มีประโยชน์มากจริงๆ
    “ในที่สุด อย่าให้มีการริเริ่มใดๆ นอกจากว่าการริเริ่มเหล่านี้ จะเป็นประโยชน์แท้จริงอย่างแน่นอนแก่พระศาสนจักร ในกรณีเช่นนี้ จะต้องเอาใจใส่ให้รูปแบบใหม่ๆนี้ พัฒนาขึ้นมาอย่างกลมกลืนจากรูปแบบที่มีอยู่แล้ว” (SC 23)
    สภาสังคายนาฯ ไม่สนับสนุนการเปลี่ยนแปลงเพื่อเปลี่ยนแปลงหรือเพื่อเจตนาอย่างอื่น การเปลี่ยนแปลงเป็นที่ยอมรับได้ก็ต่อเมื่อการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดิขึ้นเพื่อประโยชน์แท้จริงและชัดเจนสำหรับพระศาสนจักร ผลประโยชน์สำหรับพระศาสนจักรย่อมเป็นผลประโยชน์สำหรับประชาชนด้วย ข้อความว่า “ต้องเอาใจใส่ว่ารูปแบบใหม่ที่ถูกรับมาใช้จะต้องค่อยๆ พัฒนาขึ้นอย่างเป็นระเบียบจากรูปแบบที่มีอยู่แล้ว” มักถูกนำมาใช้บ่อยๆ เพื่อต่อต้านการปฏิรูปพิธีกรรมของวาติกันที่ 2
    ที่ตรงนี้ข้าพเจ้าอยากแบ่งปันประสบการณ์ส่วนตัวลึกๆ ที่เคยมี ตลอดเวลาเรามักพบบางคนที่รับการปฏิรูปของวาติกันที่ 2 ไม่ได้ กลุ่มสุดโต่งของพวกนี้กล่าวหา วาติกันที่ 2 และสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ว่าการนำสิ่งใหม่ๆเหล่านี้เข้ามา ขัดกับสภาสังคายนาเมืองเตร็นท์และธรรมประเพณีคาทอลิก คนเหล่านี้แยกตัวออกไปจากพระศาสนจักรและตั้งชุมชน “Tridentine” (สภาสังคายนาเมืองเตร็นท์) ของตน คนอีกกลุ่มหนึ่งไม่กล่าวหา วาติกันที่ 2 หรือสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 โดยตรง เขาโจมตีนักพิธีกรรมเกเร พระสงฆ์แหวกแนวบางคน และพระสังฆราชบางองค์ที่เติมการเปลี่ยนแปลงพิธีกรรมตามใจชอบ โดยลืมมาตรการซึ่งวาติกันที่ 2 กำหนดไว้ว่า “การออกกฎข้อบังคับเกี่ยวกับพิธีกรรมเป็นอำนาจของพระศาสนจักรเท่านั้น กล่าวคือ เป็นอำนาจของสันตะสำนัก และเป็นอำนาจของพระสังฆราชตามที่กฎหมายกำหนด ดังนั้น บุคคลอื่นแม้พระสงฆ์ จะเพิ่ม ตัดออก หรือเปลี่ยนแปลงสิ่งใดในพิธีกรรมตามอำเภอใจตนเองไม่ได้เลย” (SC 22: 1,3) คนกลุ่มนี้มักยกเพียงข้อกำหนดจาก SC เหล่านี้หรือที่คล้ายๆกัน เท่านั้นมาอ้าง และแพร่ข่าวว่าความสับสนต่างๆ ในพิธีกรรมเกิดขึ้นมาจากการทดลองอย่างไร้ระเบียบของบรรดา “ประกาศกอิสระ” เหล่านี้ที่ก่อให้เกิดความสับสนในหมู่ผู้มีความเชื่อ เราต้องยอมรับว่าในบางแห่งได้มีการทดลองอย่างไร้ระเบียบเช่นนั้นจริงๆ แต่บรรดาผู้มีความเชื่อส่วนใหญ่ไม่รู้สึกเช่นนี้ และนี่ไม่น่าจะเป็นสาเหตุของความเลวร้ายทั้งหมดเหล่านี้ ข้าพเจ้าเคยคิดอยู่เสมอว่าการกล่าวหาเหล่านี้มีอะไรบางอย่างซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีอะไรบางอย่างที่เขาไม่กล้าพูดออกมา เมื่อไม่กี่ปีมานี้ ข้าพเจ้าเห็นว่า พวกนี้กำลังออกมาจากหลังฉาก และชี้นิ้วอย่างเปิดเผยไปอย่างเป้าหมายแท้จริง ใช่แล้ว เราต้องปฏิรูปการปฏิรูป การปฏิรูปของวาติกันที่ 2 ที่ถูกนำมาปฏิบัติโดยมีสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ทรงเป็นผู้นำนั้นมีข้อบกพร่องและจำเป็นต้องปฏิรูป ไม่มีการกล่าวถึงนักพิธีกรรมเกเรและการทดลองที่แหวกแนวอีกต่อไป เป็นการปฏิรูปพิธีกรรมเองที่ต้องรับการปฏิรูปเพราะไม่ได้พัฒนาอย่างเป็นระเบียบจากรูปแบบที่มีอยู่แล้ว แต่เป็นการแยกตัวออกมาจากธรรมประเพณี เป็น “พิธีกรรมที่ทำขึ้นมาใหม่” คนพวกนี้ปรากฏให้เห็นภายนอกเพียงไม่กี่คน แต่เขารู้ดีมากว่าจะใช้สื่อต่างๆเพื่อแพร่ความเห็นของตนได้อย่างไร คุณลองค้นหา “พิธีกรรมที่สร้างขึ้นใหม่” (‘fabricated liturgy’) หรือเรื่องคล้ายๆกันดู แล้วคุณจะประหลาดใจที่เห็นว่ามีเรื่องนี้อยู่ท่วมเน็ตทีเดียว เรื่องที่ข้าพเจ้ากลัวมากที่สุดก็คือผลด้านลบที่เสียงเหล่านี้มีต่อทุกคนที่ได้ทำงานหนักตลอดเวลา 40 ปีที่ผ่านมา  เพื่ออบรมประชาชนในเรื่องพิธีกรรม บรรดาผู้มีความเชื่อยอมรับพิธีกรรมแบบใหม่ซึ่งค่อยๆกลายเป็นส่วนหนึ่งของความเชื่อ ชีวิติจิต และชีวิตประจำวันของเขา เวลา 40 ปี เป็นเวลาสั้นมากสำหรับประชาชนเพื่อจะรับเอาพิธีกรรมมาย่อยและทำให้เป็นชีวิตของตน น่าจะเป็นหายนะในขณะนี้ที่จะมีการปฏิรูป การปฏิรูปที่ถูกกำหนดลงมาจากเบื้องบนแทนที่จะค่อยๆพัฒนาขึ้นอย่างมีระเบียบจากประชาชน ที่มีพิธีกรรมซึ่งเป็นงานของประชาชนอยู่กับตน สำหรับพวกเราที่นี่ในฮ่องกงเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องพิจารณาสภาพของพระศาสนจักรบนแผ่นดินใหญ่ ทุกสิ่งที่เราทำที่นี่ในฮ่องกงย่อมมีผลกระทบถึงแผ่นดินใหญ่ด้วย การปฏิรูปพิธีกรรมที่นั่นเพิ่งจะเริ่มขึ้นและโดยทั่วไปแล้วก็กำลังดำเนินไปด้วยดี คงจะเป็นหายนะถ้าจะเริ่มพูดถึงการปฏิรูปการปฏิรูปขึ้นมาอีกบนแผ่นดินใหญ่ในขณะนี้ ต้องมีพระสงฆ์ชราและคาทอลิกจำนวนหนึ่งซึ่งเคยรับการศึกษาอบรมเรื่องพิธีกรรมของสภาสังคายนาที่เมืองเตร็นท์ ที่อยากกลับไปหาช่วงเวลาดีๆเหล่านั้นหลังจากได้รับทรมานและถูกเบียดเบียนอย่างมาก แต่พิธีกรรมนั้นมองไปข้างหน้า ไม่ใช่มองกลับไปข้างหลัง ในช่วงเวลา 40 ปีที่เพิ่งผ่านมานี้ มีผู้ที่เพิ่งได้รับศีลล้างบาปจำนวนหมื่นมาชุมนุมกันตามโบสถ์ในฮ่องกงและประเทศจีนบนแผ่นดินใหญ่ เขาเหล่านี้ได้พบอาหารฝ่ายจิตที่เขาต้องการทั้งจากโต๊ะพระวาจาและโต๊ะศีลมหาสนิท  เราต้องการการสนับสนุนอย่างเต็มที่และชัดเจนจากผู้ปกครองพระศาสนจักรเพื่อจะสืบต่อพันธกิจสำคัญยิ่งนี้ที่จะให้การการอบรมด้านพิธีกรรมแก่ประชาชน ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่าพิธีกรรมที่ได้รับการปฏิรูปของวาติกันที่ 2 ซึ่งสมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ทรงนำมาปฏิบัติตามคำแนะนำของบรรดาพระสังฆราชผู้ร่วมประชุมนั้น เป็นความก้าวหน้าที่ถูกต้องและตั้งอยู่บนธรรมประเพณีที่ดีงาม “หนังสือพิธีกรรมจะต้องได้รับการตรวจชำระโดยเร็วที่สุด โดยผู้เชี่ยวชาญ หลังจากปรึกษากับบรรดาพระสังฆราชท้องถิ่นต่างๆทั่วโลกแล้ว”  (SC 25) ถึงกระนั้น เราก็ยังต้องพบจุดอ่อนอยู่อีก เหมือนกับทุกๆจารีตพิธี แต่ธรรมนูญเรื่องพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ก็ยังคงเป็น Magna Charta  (แผนแม่บท) ของการปฏิรูปใดๆด้านพิธีกรรม และการนำแผนนี้มาปฏิบัติก็ยังคงเป็นผลงานชิ้นเอกของการปฏิรูปด้านพิธีกรรมที่พระศาสนจักรคาทอลิก (จารีตโรมัน) ได้ทำจนสำเร็จในประวัติศาสตร์อันยาวนานของตน บทสรุปในข้อ 23 จึงเป็นคำเตือนที่ดีสำหรับเราแม้ในปัจจุบันนี้ด้วย คือคำเตือนที่ว่า “ยังต้องเอาใจใส่หลีกเลี่ยงเท่าที่จะทำได้ มิให้จารีตต่างๆที่ใช้ในเขตใกล้เคียงนั้น แตกต่างกันมากเกินไป” (SC 23)

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 10:11-18) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า เราเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี ผู้เลี้ยงแกะย่อมสละชีวิตเพื่อแกะของตน ลูกจ้างที่ไม่ใช่ผู้เลี้ยง และไม่เป็นเจ้าของแกะ เมื่อเห็นสุนัขป่าเข้ามา ก็ละทิ้งบรรดาแกะและหนีไป สุนัขป่าแย่งชิงแกะ...
วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
14733
23407
81783
194301
306218
35938023
Your IP: 3.145.156.250
2024-04-20 12:04

สถานะการเยี่ยมชม

มี 630 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์