แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

“บรรดาผู้อภิบาลจึงต้องพยายามสุดความสามารถในงานอภิบาลทั้งหมด ที่จะให้ผู้มีความเชื่อได้รับการอบรมอย่างเหมาะสม  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความสำคัญอันดับแรกแก่การอบรมเรื่องพิธีกรรม” (SC 14)
    สมเด็จพระสันตะปาปายอห์นที่ 23 ทรงปรารถนาให้สภาสังคายนาเกี่ยวกับการอภิบาล และวาติกันที่ 2 ยังคงรักษาสาระสำคัญของคุณสมบัติประการนี้จนถึงที่สุด บรรดาพระสังฆราชผู้เข้าร่วมประชุมทราบดีถึงสภาพแท้จริงของบรรดาผู้มีความเชื่อในสังฆมณฑลของตน และเข้าใจถึงความจำเป็นที่จะต้องให้การอบรมด้านพิธีกรรมที่ถูกต้องแก่ประชาชน ในข้อ 14 ถึง 20 ของธรรมนูญ SC บรรดาพระสังฆราชผู้ร่วมประชุมจึงเสนอแผนการอบรมด้านพิธีกรรมทั้งสำหรับประชาชนและสำหรับคณะสงฆ์ ซึ่งก็ต้องได้รับการอบรมก่อนที่จะไปอบรมผู้อื่นได้ สภาสังคายนาฯกล่าวไว้ดังนี้ว่า

    “จุดประสงค์นี้จะบรรลุถึงไม่ได้ ถ้าบรรดาผู้อภิบาลเองไม่เป็นคนแรกที่มุ่งมั่นจะซึมซับจิตตารมณ์และพลังของพิธีกรรม และกลับเป็นครูสอนผู้อื่นในเรื่องนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้ความสำคัญอันดับแรกแก่การอบรมเรื่องพิธีกรรมสำหรับบรรดาบรรพชิต” (SC 14)
    ใครจะเป็นผู้ให้ความรู้แก่บรรดาผู้อภิบาล?
    ดังนั้น สภาสังคายนาจึงกำหนดข้อปฏิบัติไว้ดังต่อไปนี้ (SC 14)
    “บรรดาพระสงฆ์ทั้งที่สังกัดสังฆมณฑลและในสถาบันนักบวช ซึ่งทำงานในสวนองุ่นของพระเจ้าแล้ว ต้องได้รับความช่วยเหลือด้วยวิธีการเหมาะสมทุกอย่างเพื่อจะได้เข้าใจความหมายของพิธีศักดิ์สิทธิ์ที่เขาประกอบให้สมบูรณ์ยิ่งๆขึ้น เพื่อจะได้ดำเนินชีวิตตามพิธีกรรมและถ่ายทอดชีวิตนี้แก่บรรดาผู้มีความเชื่อที่เขาได้รับมอบหมายให้ดูแล” (SC 18)
    เรื่องนี้เป็นความจำเป็นที่ต้องปฏิบัติโดยเร่งด่วนทันที แต่สภาสังคายนาฯ ก็พิจารณาถึงรากของปัญหา นั่นคือการให้การอบรมพิธีกรรมในระดับสามเณราลัย การปฏิรูปพิธีกรรมของวาติกันที่ 2 เป็นโครงการระยะยาว บรรดาพระสงฆ์รุ่นใหม่จะเป็นพลังสำคัญเบื้องหลังการใช้พิธีกรรมเพื่อฟื้นฟูพระศาสนจักร
    “ในสามเณราลัยและบ้านนักบวช บรรดาบรรพชิตจะต้องได้รับการอบรมด้านพิธีกรรมในชีวิตจิต ดังนั้น เขาจะต้องได้รับความรู้อย่างเหมาะสมให้เข้าใจจารีตพิธีเป็นอย่างดี และร่วมพิธีกรรมอย่างสุดจิตใจ เขาจะต้องประกอบพิธีเฉลิมฉลองธรรมล้ำลึกศักดิ์สิทธิ์ และปฏิบัติกิจศรัทธาอื่นๆที่ซึมซับจิตตารมณ์ของพิธีกรรม ยิ่งกว่านั้น เขาต้องเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตามกฎพิธีกรรม เพื่อชีวิตในสามเณราลัยและสถาบันนักบวชจะได้ซึมซับจิตตารมณ์พิธีกรรมอย่างลึกซึ้ง” (SC 17)
    “ผู้ได้รับมอบหมายให้สอนพิธีกรรมในสามเณราลัย สำนักศึกษาของนักบวช และคณะเทววิทยาของมหาวิทยาลัย ต้องได้รับการอบรมเป็นพิเศษในวิชานี้ เพื่อจะได้ปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างดีในสถาบันที่ได้รับมอบหมายให้สอน” (SC 15)
    “วิชาพิธีกรรมในสามเณราลัยและในสำนักศึกษาของนักบวช ต้องถือว่าเป็นวิชาหนึ่งในกลุ่มวิชาที่จำเป็นและมีความสำคัญเป็นอันดับแรก ส่วนในคณะเทววิทยาของมหาวิทยาลัย ต้องถือว่าเป็นวิชาเอกวิชาหนึ่ง ที่จะต้องสอนทั้งในด้านเทววิทยาและประวัติศาสตร์ ทั้งด้านชีวิตจิต ด้านการอภิบาลและด้านกฎหมาย ยิ่งกว่านั้น อาจารย์ที่สอนวิชาอื่นๆ โดยเฉพาะเทววิทยาด้านพระสัจธรรม พระคัมภีร์ เทววิทยาด้านชีวิตจิต และการอภิบาล ต้องพยายามอธิบายพระธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าและประวัติศาสตร์แห่งความรอดพ้นตามทัศนะเฉพาะของแต่ละวิชา ให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชาที่ตนสอนกับพิธีกรรม และดังนี้เอกภาพของการอบรมพระสงฆ์จะปรากฏแจ้งชัด” (SC 16)
    บรรดาพระสังฆราชผู้เข้าร่วมประชุมก้าวหน้าลึกลงไปอีกก้าว หนึ่งในวิธีการให้การอบรมด้านพิธีกรรม โดยยืนยันถึงหลักการให้การอบรมที่สำคัญยิ่งข้อหนึ่งว่า “ครูสอนที่ให้การอบรมเรื่องพิธีกรรมได้ดีที่สุดก็คือพิธีกรรมเอง”
    “แม้พิธีกรรมเป็นการนมัสการพระเดชานุภาพของพระเจ้าโดยเฉพาะ แต่ก็ยังมีคุณค่ายิ่งใหญ่ในการอบรมประชากรผู้มีความเชื่ออีกด้วย ในพิธีกรรม พระเจ้าตรัสกับประชากรของพระองค์ พระคริสตเจ้ายังทรงประกาศข่าวดี ประชากรก็ยังตอบพระเต้าด้วยการขับร้องและอธิษฐานภาวนา ยิ่งกว่านั้น คำอธิษฐานภาวนาที่พระสงฆ์ผู้เป็นประธานของผู้ชุมนุมในฐานะที่เป็นองค์พระคริสตเจ้าทูลถวายแด่พระเจ้านั้น กล่าวในนามของประชากรศักดิ์สิทธิ์ทั้งหมด และในนามของผู้ที่ร่วมชุมนุมทุกคน ในที่สุด เครื่องหมายที่แลเห็นได้ซึ่งพิธีกรรมใช้เพื่อหมายถึงสิ่งที่แลเห็นไม่ได้ของพระเจ้านั้น ก็เป็นเครื่องหมายที่พระคริสตเจ้าทรงเลือกหรือพระศาสนจักรเลือก ดังนั้น มิใช่เฉพาะเมื่อเราอ่าน “สิ่งที่เขียนไว้สำหรับสั่งสอนเรา” (รม 15:4) เท่านั้น แต่เมื่อพระศาสนจักรอธิษฐานภาวนา ขับร้อง หรือประกอบกิจกรรม ความเชื่อของบรรดาผู้ที่มาร่วมพิธีก็ได้รับการหล่อเลี้ยง จิตใจของเขาถูกยกขึ้นไปหาพระเจ้าเพื่อถวายคารวกิจฝ่ายจิต และได้รับพระหรรษทานของพระองค์อย่างอุดมสมบูรณ์ยิ่งขึ้น”  (SC 33)
    การประกอบพิธีศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ก็มีการสั่งสอนสำหรับผู้ร่วมพิธีได้อย่างมากด้วย จุดประสงค์ของศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ก็คือเพื่อบันดาลความศักดิ์สิทธิ์แก่เราและเพื่อถวายเกียรติแด่พระเจ้า แต่ว่า “ในฐานะที่เป็นเครื่องหมายยังมีจุดประสงค์เพื่อให้การสั่งสอนอบรมด้วย ผู้รับศีลต้องมีความเชื่ออยู่ก่อนแล้ว แต่ถ้อยคำและจารีตพิธีของศีลศักดิ์สิทธิ์ก็ยังหล่อเลี้ยง  เสริมพลังและแสดงความเชื่อให้ปรากฏด้วย เพราะเหตุนี้ ศีลศักดิ์สิทธิ์จึงได้ชื่อว่า “ศีลแห่งความเชื่อ” (SC 59)
    สภาสังคายนาฯ ยังเสนอการปรับปรุงที่มีเจตนาด้านอภิบาล เพื่อหล่อเลี้ยงการที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันและได้รับการอบรมด้านพิธีกรรมอีกด้วย
    “ควรใช้วิธีการต่างๆ ให้การอบรมสัตบุรุษเกี่ยวกับพิธีกรรมโดยเฉพาะ และถ้าจำเป็น พระสงฆ์หรือศาสน บริกรที่มีความรู้อาจให้คำอธิบายสั้นๆ ในเวลาที่เหมาะสมระหว่างการประกอบพิธีก็ได้ แต่จะต้องใช้ถ้อยคำที่กำหนดไว้แล้วหรือที่คล้ายกัน”  (SC 35,3)
    ที่นี่น่าสังเกตข้อความที่ถูกใช้บ่อยๆ ในหนังสือพิธีกรรมฉบับใหม่ คือข้อความที่ว่า “โดยใช้ถ้อยคำที่กำหนดไว้หรือที่คล้ายกัน” ซึ่งหมายความว่า พระสงฆ์หรือศาสนบริกรเฉพาะอาจอ่านถ้อยคำที่พิมพ์ไว้ในหนังสือ หรืออาจใช้คำพูดของตนเองกล่าวแสดงความคิดเดียวกัน
    อันที่จริง เจตนาของการปฏิรูปพิธีกรรมของสภาสังคายนาที่เมืองเตร็นท์ก็คือ เพื่อทำให้จารีตพิธีเรียบง่ายและชัดเจนจนสอนผู้ร่วมพิธีได้
    “จารีตพิธีต้องมีลักษณะสง่างามและเรียบง่ายน่าเลื่อมใสและกะทัดรัด ชัดเจนและไม่ซ้ำซากโดยไร้ประโยชน์ จารีตพิธีจะต้องปรับให้เหมาะกับความเข้าใจของสัตบุรุษ และโดยทั่วไปไม่ต้องการคำอธิบายมากนัก” (SC 34)
    “บรรดาผู้อภิบาลต้องมีความกระตือรือร้นและพากเพียรที่จะให้การอบรมด้านพิธีกรรมแก่ผู้มีความเชื่อ เพื่อเขาจะร่วมพิธีกรรมได้อย่างแข็งขันทั้งในด้านจิตใจและภายนอก โดยคำนึงถึงอายุ สภาพความเป็นอยู่ วิถีชีวิต และระดับความรู้ทางศาสนาของผู้ได้รับการอบรม ถ้าบรรดาผู้อภิบาลทำเช่นนี้ได้  เขาก็จะปฏิบัติหน้าที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งให้สำเร็จในฐานะเป็นผู้แจกจ่ายธรรมล้ำลึกของพระเจ้าอย่างซื่อสัตย์ ในเรื่องนี้เขาจะต้องนำประชากรที่เขาอภิบาลดูแล ไม่ใช่ด้วยคำพูดเท่านั้น แต่โดยแบบอย่างที่ดีด้วย” (SC 19)

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพุธ สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 8:31-42) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับชาวยิวที่เชื่อในพระองค์ว่า “ถ้าท่านทั้งหลายยึดมั่นในวาจาของเรา ท่านก็เป็นศิษย์ของเราอย่างแท้จริง ท่านจะรู้ความจริง และความจริงจะทำให้ท่านเป็นอิสระ” คนเหล่านั้นจึงตอบว่า “พวกเราเป็นเชื้อสายของอับราฮัม...
วันอังคาร สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว (มธ 1:16, 18-21, 24ก) ยาโคบเป็นบิดาของโยเซฟ พระสวามีของพระนางมารีย์ พระเยซูเจ้าที่ขานพระนามว่า “พระคริสตเจ้า” ประสูติจากพระนางมารีย์ผู้นี้ เรื่องราวการประสูติของพระเยซูคริสตเจ้าเป็นดังนี้ พระนางมารีย์...
วันจันทร์ สัปดาห์ที่ 5 เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 8:1-11) เวลานั้น พระเยซูเจ้าเสด็จไปยังภูเขามะกอกเทศ เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น พระองค์เสด็จไปในพระวิหารอีก ประชาชนเข้ามาห้อมล้อมพระองค์ พระองค์ประทับนั่ง แล้วทรงเริ่มสั่งสอน บรรดาธรรมาจารย์และชาวฟาริสีนำหญิงคนหนึ่งเข้ามา...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เทศกาลมหาพรตและปัสกา กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ เทศกาลมหาพรตและปัสกา E-book...
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อัครสาวก 12 องค์ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

210. พระคริสตเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิทอย่างไร “ข้าพเจ้าได้รับสิ่งใดมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้มอบสิ่งนั้นต่อให้ท่าน คือในคืนที่ทรงถูกทรยศนั้นเอง พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงหยิบปัง ขอบพระคุณ แล้วทรงบิออก ตรัสว่า “นี่คือกายของเราเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” เช่นเดียวกัน...
209. พระคริสตเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิทเมื่อใด พระคริสตเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิทในตอนเย็นก่อนที่จะทรงสิ้นพระชนม์ “ในคืนที่ทรงถูกทรยศนั่นเอง” (1 คร 11:23) เมื่อพระองค์ทรงชุมนุมกับบรรดาอัครสาวกที่ล้อมรอบพระองค์ในห้องชั้นบน ในกรุงเยรูซาเล็ม และเฉลิมฉลองการเลี้ยงอาหารค่ำมื้อสุดท้ายพร้อมกับพวกเขา (1323,1337-1340)
208. ศีลมหาสนิทคืออะไร ศีลมหาสนิทเป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ ในศีลมหาสนิทพระเยซูคริสตเจ้าทรงมอบพระกายและพระโลหิตของพระองค์ คือมอบพระองค์เองให้กับเรา ดังนั้น เราต้องมอบตัวของเราเองให้กับพระองค์ในความรักและในความเป็นหนึ่งเดียวกับพระองค์ในศีลมหาสนิทด้วยเช่นเดียวกัน ด้วยวิธีนี้เราจึงร่วมกับพระกายของพระคริสตเจ้า พระศาสนจักร (1322, 1324,1409,1413) หลังจากศีลล้างบาปและศีลกำลังแล้ว...

กิจกรรมพระคัมภีร์

ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา เรื่อง การดูหมิ่น พระคัมภีร์ โรม 12:16 ภาพรวม เด็กๆ สร้างคนด้วยไม้จิ้มฟัน และเรียนรู้ว่า การดูหมิ่นทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดอย่างไร อุปกรณ์ กระดาษ ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน ปากกาเส้นใหญ่ กาว และแถบกาว ประสบการณ์ แบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆ ละ 3-4 คน แจกไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน...

ประมวลภาพกิจกรรม

โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
🤖 TRV. Innovation Fair 2023 🤖 วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2024 ทีมคำสอนสัญจร ได้มีโอกาสไปออกร้านจำหน่ายศาสนภัณฑ์ และออกบูธจัดกิจกรรมคำสอน ร่วมกับฝ่ายจิตตาภิบาล โรงเรียนไตรราชวิทยา ในโครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม ประธานในพิธี บาทหลวงเอกรัตน์...
อบรมคุณธรรม ให้กับนักเรียน โรงเรียนคาเบรียลอุปถัมภ์
อบรมคุณธรรม ให้กับนักเรียน โรงเรียนคาเบรียลอุปถัมภ์
❤ "รัก รับใช้ ซื่อสัตย์" ❤ . วันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้จัดกิจกรรมอบรมคุณธรรม ให้กับนักเรียน ชั้นอนุบาล - ประถมฯ 6 จำนวน 174 คน ที่โรงเรียนคาเบรียลอุปถัมภ์...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ พระสัญญาของพระเจ้า
ถ้าครุ่นคิดถึงความวุ่นวายก็จะพบแต่ความสิ้นหวัง จงมอบความวุ่นวายไว้กับพระเจ้า แล้วท่านจะพบชัยชนะ "จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก และพระองค์จะทรงทำให้ทางเดินของลูกราบรื่น" (สภษ 3:5)
วงล้อ
ทุกๆ คนล้วนแสวงหาความสุข และอยากจะพบความสุข จะมีสักกี่คนที่พบความสุขแท้ วงล้อ ความสุขแท้จากพระคัมภีร์ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านค้นพบความสุขแท้ ท่านจะได้รับข้อความดีๆ ที่ให้คำแนะนำ และจะพบกับพระวาจาของพระเจ้าจากพระคัมภีร์เล่มต่างๆ...

บทภาวนา (กิจกรรม)

การภาวนาคืออะไร
การภาวนาคืออะไร เป็นการยกจิตใจและดวงใจขึ้นหาพระเจ้า หรือเป็นการร้องขอสิ่งที่ดีจากพระเจ้า บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่แสดงความรักของลูกๆของพระเจ้ากับพระบิดา...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Lent
เทศกาลมหาพรต คือช่วงเวลาแห่งการภาวนาและการใช้โทษบาปก่อนถึงสมโภชปัสกา ซึ่งเริ่มต้นด้วยวันพุธรับเถ้าและมีระยะเวลานานสี่สิบวัน
Satation of the Cross
ทางแห่งกางเขน (เดินรูป 14 ภาค) เป็นการภาวนาที่ระลึกพระมหาทรมานของพระเยซูเจ้า...
Sign of the Cross
เครื่องหมายสำคัญมหากางเขน เป็นบทภาวนาถวายเกียรติแด่พระตรีเอกภาพ ทำโดยการใช้มือขวาทำเครื่องหมายกางเขนบนตัวเรา พร้อมกับภาวนาว่า “เดชะพระนาม...

ประวัตินักบุญ

19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...
22 กุมภาพันธ์  ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก (Chair of Saint Peter, the Apostle, feast) "เราบอกท่านว่า...
10 กุมภาพันธ์ ระลึกถึงนักบุญสกอลัสติกา พรหมจารี
10 กุมภาพันธ์ ระลึกถึงนักบุญสกอลัสติกา พรหมจารี (C. 480 - 547) (St Scholastica, Virgin, memorial)...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
7644
8544
22037
154282
326718
35591786
Your IP: 54.225.1.66
2024-03-19 14:23

สถานะการเยี่ยมชม

มี 225 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์