ทำไมข้อความว่า “บรรดาผู้มีความเชื่อจะได้รับการแนะนำให้มีส่วนร่วมประกอบพิธีกรรมอย่างเต็มที่ โดยรู้สำนึกอย่างแข็งขัน” (SC14) จึงมีความสำคัญเช่นนี้
    สภาสังคายนาฯให้เหตุผลไว้สองประการ
    ประการแรก “ธรรมชาติของพิธีกรรมเองก็เรียกร้องให้ทำเช่นนี้”  ในพิธีกรรม พระคริสตเจ้าทรงทำให้พระศาสนจักรมีส่วนร่วมกับพระองค์เสมอในการประกอบพระราชกิจใหญ่ยิ่งนี้ ซึ่งถวายพระสิริรุ่งโรจน์แด่พระเจ้าอย่างสมบูรณ์ และบันดาลความศักดิ์สิทธิ์แก่มนุษย์ อาศัยเครื่องหมายที่ประสาทรับรู้แลเห็นได้ “เพื่อให้ประชากรคริสตชนเข้าใจความหมายได้ง่ายและสมบูรณ์เท่าที่จะเป็นไปได้ เขาจะได้ร่วมพิธีอย่างแข็งขันเต็มเปี่ยมร่วมกัน (SC 21)

    ประการที่สอง “การมีส่วนร่วมประกอบพิธีกรรมของประชากรคริสตชนในฐานะที่เป็น “ชาติที่ทรงเลือกสรรไว้ เป็นสมณราชตระกูล เป็นชนชาติศักดิ์สิทธิ์ เป็นประชากรที่เป็นกรรมสิทธิ์พิเศษของพระเจ้า” (1 ปต 2: 9 เทียบ 2: 4-5) ก็มีสิทธิและหน้าที่อาศัยศีลล้างบาปที่จะทำเช่นนี้” (SC 14)
    สำหรับพระสงฆ์ หน้าที่และสิทธิของเขาที่จะเป็นประธานของพิธีบูชาขอบพระคุณนั้นสืบเนื่องมาจากการที่เขาได้รับศีลบวช ในทำนองเดียวกัน บรรดาผู้มีความเชื่อก็มีสิทธิและหน้าที่ในการมีส่วนร่วมมิสซาอย่างแข็งขันที่สืบเนื่องมาจากศีลล้างบาปที่เขาได้รับด้วย
    ที่ตรงนี้ ข้าพเจ้าอยากเพิ่มความทรงจำส่วนตัวสองเรื่อง เมื่อข้าพเจ้าเป็นเยาวชนในยุโรป (หลายๆสิบปีมาแล้ว) ข้าพเจ้าจำได้ดีว่าทุกครั้งที่ผู้เล่นออร์แกนผู้กล้าหาญเริ่มบทเพลงขับร้องภาษาอิตาเลียนซึ่งทุกคนรู้จักดีขึ้นในช่วงกลางมิสซา คุณจะได้ยินเสียงดังราวกับฟ้าร้องระเบิดขึ้นจริงๆ จากส่วนลึกของหัวใจของสัตบุรุษทุกคนจะร่วมขับร้องด้วย (เว้นแต่คณะสงฆ์ที่ถูกบังคับให้ขับร้องในภาษาละตินทางการเท่านั้น) และรู้สึกว่าสัตบุรุษทุกคนมีความเชื่อร่วมกัน ทุกคนร่วมยินดีเฉลิมฉลองพร้อมกัน ตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิงกับการขับร้องบทเพลงเกรโกเรียนที่ได้รับการฝึกขับร้องมาแล้วเป็นอย่างดี บทเพลงเหล่านี้ไม่อาจเป็นที่นิยมและเป็นบทเพลงขับร้องมาแล้วเป็นอย่างดี บทเพลงเหล่านี้ไม่อาจเป็นที่นิยมและเป็นบทเพลงขับร้องร่วมกันของสัตบุรุษทุกคนได้ แม้กระทั่งสำหรับชาวอิตาเลียน
    ความทรงจำเรื่องที่สองย้อนไปถึงเวลาที่มีการเริ่มปฏิรูปพิธีกรรมที่นี่ในฮ่องกง ข้าพเจ้ายังจำได้ดีมากเมื่อมีการทดลองขับร้องบทเพลงสั้นๆ เป็นภาษากวางตุ้งระหว่างมิสซาที่ผู้ร่วมมิสซาส่วนใหญ่พูดภาษากวางตุ้งในโบสถ์ที่คณะนักขับร้องกำลังร้องบทเพลงเกรโกเรียนและเพลงประสานเสียงภาษาละตินบางบท หรือบางครั้งบทเพลงภาษาอังกฤษ การทดลองคราวนั้นนับเป็นหายนะ คณะนักขับร้องรู้สึกว่าตนถูกสบประมาท คนส่วนใหญ่รู้สึกแปลกใจ บางคนยืนขึ้นและออกไปจากโบสถ์... การขับร้องเป็นภาษากวางตุ้งคล้ายกันกับเพลงกวางตุ้งทั่วไปหรือเพลงงิ้ว หลายคนจึงรู้สึกสับสน บัดนี้ หลังจาก 40 ปีเท่านั้น สถานการณ์เปลี่ยนแปลงไปตรงกันข้าม สำหรับชาวคาทอลิกส่วนใหญ่ในฮ่องกง บทเพลงภาษากวางตุ้งกลายเป็นธรรมเนียมแสดงความเชื่อคาทอลิกของเขา และเป็นวิธีมีส่วนร่วมพิธีกรรมอย่างที่ชุมชนควรจะทำทุกครั้งที่ข้าพเจ้าขับร้องบท “ข้าแต่พระบิดา” เป็นภาษากวางตุ้งในมิสซาวันอาทิตย์พร้อมกับสัตบุรุษ     ข้าพเจ้ามีความรู้สึกลึกๆว่า มีความสัมพันธ์และเป็นสมาชิกของ”พระศาสนจักรคาทอลิกที่อยู่ในประเทศจีน” แม้ว่าภาษาละตินในแง่หนึ่งเป็นภาษาแม่ของข้าพเจ้า แต่ภาษากวางตุ้งไม่ใช่ ข้าพเจ้าไม่มีประสบการณ์เหมือนกันเมื่อ เพราะเหตุผลพิเศษบางประการ มีการขับร้องบท “ข้าแต่พระบิดา” เป็นภาษาละติน ความแตกต่างไม่ได้มาจากคุณค่าทางศิลปะของบทขับร้อง แต่มาจากที่บทขับร้องนี้อาจเป็นโอกาสให้สัตบุรุษทุกคนแสดงความรู้สึกร่วมกันได้