แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ทำไมเราจึงต้องการเครื่องหมายที่แลเห็นได้
    เทววิทยาด้านพิธีกรรมวิเคราะห์เรื่อง “เครื่องหมาย” ในพิธีกรรมและมาถึงจุดที่กล่าวถึง “ปัญหาพิธีกรรม”ที่เป็นพื้นฐานว่า “ทำไมเราจึงต้องการเครื่องหมายที่แลเห็นและประสาทสัมผัสได้ เพื่อจะได้รับความศักดิ์สิทธิ์และถวายพระเกียรติแด่พระเจ้า?
    เหตุผลมักจะได้มาจากสามแหล่งด้วยกัน
    ก่อนอื่นหมดก็คือเหตุผลทางมนุษยวิทยา มนุษย์เป็นสิ่งที่ประกอบด้วยร่างกายและจิต จิตต้องการร่างกายเพื่อจะสัมผัสกับสภาพแวดล้อมได้ และไม่มีอะไรเข้าถึงจิตได้นอกจากผ่านประสาททั้งห้า

    สำหรับเราคริสตชน ยังมีเหตุผลทางคริสตวิทยาด้วย เราเชื่อว่าพระเจ้าที่เราแลเห็นไม่ได้ทรงแสดงพระองค์ให้เราแลเห็นในมนุษย์ที่ชื่อว่า “เยซู” พระเยซูเจ้าทรงเป็นทั้งมนุษย์และพระเจ้า พระเยซูจ้าทรงเป็นเครื่องหมายยิ่งใหญ่ที่สุดของพระเจ้าที่เราแลไม่เห็นในโลกนี้ พระเยซูเจ้าจึงทรงเป็น “ศีล (เครื่องหมายและเครื่องมือ) ศักดิ์สิทธิ์” พื้นฐาน แบะยังทรงปฏิบัติพระภารกิจเป็น“ศีลศักดิ์สิทธิ์” ในพระศาสนจักรอาศัยเครื่องหมายที่เรามองเห็นได้
    เหตุผลสุดท้ายเป็นเหตุผลด้านพระศาสนจักร พระศาสนจักรเป็นพระกาย(ทิพย์) ของพระเยซูเจ้า “พระศาสนจักรของเราเป็นเครื่องหมายที่ตั้งไว้ให้นานาชาติได้แลเห็นภายใต้เครื่องหมายนี้ บรรดาบุตรของพระเจ้าซึ่งกระจัดกระจายอยู่จะได้มารวมกัน” (SC 2)
    ถ้าไม่มีเครื่องหมายที่แลเห็นได้ พิธีกรรมก็ไม่ใช่กิจกรรมแบบมนุษย์ แบบคริสตชน หรือแบบพระศาสนจักร
    คำพูดก็เป็นเครื่องหมายที่ได้ยินได้ด้วย และมีบทบาทสำคัญในพิธีกรรม พระวาจาของพระเจ้าได้รับการประกาศในพิธีกรรม  และถ้อยคำของบทภาวนาและคำอธิบายยังช่วยอธิบายความหมายของเครื่องหมายที่แลเห็นได้ให้ชัดเจนขึ้นด้วย เครื่องหมายการจุ่มตัวลงในน้ำได้รับคำอธิบายและคำจำกัดความหมายโดยคำว่า “ข้าพเจ้าล้างท่าน...” ในทำนองเดียวกัน ขนมปังและเหล้าองุ่นที่เป็นเครื่องหมายก็รับคำอธิบายและจำกัดความโดยคำว่า “นี่เป็นกายของเราที่มอบเพื่อท่าน” “นี่เป็นโลหิตของเราที่หลั่งเพื่อท่านทั้งหลาย” นี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้สภาสังคายนาฯต้องการปฏิรูปพิธีกรรม “เพื่อให้ข้อความและจารีตพิธีปรากฏชัดว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด” ( SC 35) และ “เมื่อสัตบุรุษเข้าใจจารีตพิธีและบทภาวนาเป็นอย่างดี จะได้ร่วมกิจกรรมศักดิ์สิทธิ์อย่างรู้สำนึก” (SC 48)
    เราจงสังเกตว่าสภาสังคายนาฯเอาใจใส่นำ “คำพูดและจารีตพิธี” และ “จารีตพิธีและคำภาวนา” มารวมไว้ด้วยกัน เพื่อจะเน้นความสำคัญของ “คำพูด” (รวมทั้ง “พระวาจา”) ในพิธีกรรม ผู้ร่วมพิธีต้องเข้าใจคำพูดเหล่านี้ ถ้าเราอยากจะให้พิธีกรรมมีความหมาย  ถ้าพิธีกรรมยังคงเป็นจารีตพิธีและคำพูดที่เข้าใจไม่ได้ต่อเนื่องกัน  พิธีกรรมก็อาจเป็นเหมือนกับคาถาหรือมายากล นี่เป็นเหตุผลที่อธิบายว่าทำไมสภาสังคายนาฯ จึงตัดสินใจอย่างกล้าหาญที่จะนำภาษาของประชาชนท้องถิ่นเข้ามาในพิธีกรรม ประตูใหม่ถูกเปิดแล้ว เป็นเวลาหลายศตวรรษ ภาษาละตินเป็นภาษาของพิธีกรรมจารีตโรมัน เหตุผลที่สภาฯให้ในการเปลี่ยนแปลงนี้เป็นเหตุผลด้านการอภิบาล
    “ให้รักษาการใช้ภาษาละตินไว้ในจารีตละติน เว้นแต่ในกรณีที่ได้รับสิทธิพิเศษเป็นอย่างอื่น ถึงกระนั้น ทั้งในมิสซา ในการประกอบศีลศักดิ์สิทธิ์ และในส่วนอื่นของพิธีกรรม หลายครั้งการใช้ภาษาท้องถิ่นอาจมีประโยชน์มากแก่ประชาชน ดังนั้น จึงอนุญาตให้ใช้ภาษาท้องถิ่นได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในบทอ่านและคำตักเตือน ในบทภาวนาและบทขับร้องบางบท ทั้งนี้ โดยปฏิบัติตามกฎซึ่งจะบัญญัติเกี่ยวกับเรื่องนี้ในบทต่อไปเป็นเรื่องๆ (SC 36 :1,2)
    ในเวลาเดียวกัน สภาฯก็ยังสำนึกว่าการอธิฐานภาวนาต้องการความเงียบด้วย บทอ่านและคำอธิบายจำนวนมากเกินไป (โดยเฉพาะในโบสถ์สมัยปัจจุบันที่ระบบเสียงอาจขยายเสียงได้จนบางครั้งอยู่ในระดับสูงหรือมีรูปแบบของเสียงเพี้ยนไปจนไม่น่าฟัง) อาจก่อให้เกิดบรรยากาศที่อึดอัดขึ้นได้ นี่จึงเป็นคำแนะนำของสภาฯ
    “เพื่อส่งเสริมการมีร่วมพิธีกรรมอย่างแข็งขัน ควรเอาใจใส่ให้สัตบุรุษมีส่วนในการร้องรับ การตอบ การขับร้องบทเพลงสดุดี บทสร้อย บทเพลงสรรเสริญต่างๆ รวมทั้งกิจการ อากัปกิริยา และอิริยาบถของร่างกาย ให้ทุกคนเงียบสงบด้วยความเครารพในเวลาที่เหมาะสมด้วย” (SC 30)
    เมื่อกล่าวว่า “เงียบสงบด้วยความเคารพ” สภาสังคายนาฯ หมายถึง ความเงียบร่วมกันในพิธีกรรม เป็นความเงียบที่ทุกคนต้องรักษา (รวมทั้งพระสงฆ์ผู้เป็นประธาน) เป็นเหมือนการหยุดพักในดนตรีบทหนึ่ง เมื่อนักขับร้องเงียบอยู่ช่วงเวลาหนึ่งงก่อนจะขับร้องต่อไป ความเงียบต้องเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม และเป็นเครื่องหมายว่า พระเยซูเจ้าประทับอยู่ในหมู่ผู้ร่วมพิธี ความเงียบนี้ไม่เหมือนกับความเงียบที่ผู้ร่วมพิธีต้องมีในมิสซาของสภาสังคายนาแห่งเมืองเตร็นท์ ที่ผู้ร่วมพิธีต้องเงียบขณะที่พระสงฆ์สวดบทขอบพระคุณเสียงต่ำๆในนามของสัตบุรุษ “ความเงียบด้วยความเคารพ” ที่สภาสังคายนาฯกล่าวถึงนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเสวนาระหว่างพระเจ้ากับบรรดาบุตรของพระองค์
    “ในพิธีกรรม  พระเจ้าตรัสกับประชากรของพระองค์ พระคริสตเจ้ายังทรงประกาศข่าวดี ประชากรก็ยังตอบพระเจ้าด้วยการขับร้องและอธิษฐานภาวนา” (SC 33)
    ความเงียบเป็นส่วนหนึ่งของการสนทนานี้ ต่อไปนี้คือข้อความที่ “คำแนะนำทั่วไป” ของหนังสือมิสซาจารีตโรมันอธิบายความหมายของความเงียบที่ต้องมีในช่วงเวลาของวจนพิธีกรรม
    “ภาควจนพิธีกรรมต้องจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการรำพึงภาวนา ดังนั้นจึงต้องหลีกเลี่ยงรูปแบบความรีบร้อนทุกอย่างที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการสำรวมจิตใจ ในวจนพิธีกรรมจึงควรมี ช่วงเวลาสั้นๆ ให้ทุกคนเงียบสงบหลายๆครั้ง เหมาะกับกลุ่มชนที่มาชุมนุม ในช่วงเวลาเช่นนี้ พระจิตเจ้าจะทรงช่วยเหลือเขาให้รับพระวาจาเข้ามาในใจและเตรียมคำตอบด้วยการภาวนา ช่วงเวลาเงียบสงบนี้อาจจัดให้มีหลังบทอ่านบทแรกและบทอ่านที่สอง และหลังการเทศน์ด้วย” (RM 56)

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันศุกร์ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 18:1-19:42) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ข้ามห้วยขิดโรน ที่นั่นมีสวนแห่งหนึ่ง พระองค์เสด็จเข้าไปพร้อมกับบรรดาศิษย์ ยูดาสผู้ทรยศรู้จักสถานที่นั้นด้วย เพราะพระองค์เคยทรงพบกับบรรดาศิษย์ที่นั่นบ่อยๆ ยูดาสนำกองทหารและยามรักษาพระวิหารที่บรรดาหัวหน้าสมณะ...
วันพฤหัสบดี สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 13:1-15) ก่อนวันฉลองปัสกา พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าถึงเวลาแล้วที่จะทรงจากโลกนี้ไปเฝ้าพระบิดา พระองค์ทรงรักผู้ที่เป็นของพระองค์ซึ่งอยู่ในโลกนี้ พระองค์ทรงรักเขาจนถึงที่สุด ระหว่างการเลี้ยงอาหารค่ำ ปีศาจดลใจยูดาสอิสคาริโอทบุตรของซีโมนให้ทรยศต่อพระองค์ พระเยซูเจ้าทรงทราบว่าพระบิดาประทานทุกสิ่งไว้ในพระหัตถ์ของพระองค์แล้ว และทรงทราบว่าพระองค์ทรงมาจากพระเจ้าและกำลังเสด็จกลับไปหาพระเจ้า จึงทรงลุกขึ้นจากโต๊ะ...
วันพุธ สัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ เทศกาลมหาพรต พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมัทธิว (มธ 26:14-25) เวลานั้น คนหนึ่งในบรรดาอัครสาวกสิบสองคน ชื่อ ยูดาส อิสคาริโอท ไปพบบรรดาหัวหน้าสมณะ ถามว่า “ถ้าข้าพเจ้ามอบเขาให้ท่าน ท่านจะให้อะไรแก่ข้าพเจ้า”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อคำสอน เทศกาลมหาพรตและปัสกา
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง เทศกาลมหาพรตและปัสกา กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้ เทศกาลมหาพรตและปัสกา E-book...
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อคำสอน อัครสาวก 12 องค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อัครสาวก 12 องค์ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง ศีลศักดิ์สิทธิ์ 7 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อคำสอน เรื่องพระบัญญัติ 10 ประการ
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง พระบัญญัติ 10 ประการ กิจกรรมที่ 1 แผนภูมิความรู้...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

212. มื้ออาหารของพระเยซูเจ้ากับเรามีชื่อว่าอะไรบ้าง และหมายความว่าอะไร มีชื่อแตกต่างกันที่ชี้บอกถึงความมั่งคั่งอย่างไม่อาจหยั่งถึงได้ของธรรมล้ำลึกนี้ คือ การบูชาศักดิ์สิทธิ์ มิสซา เครื่องบูชาศักดิ์สิทธิ์ของพิธีบูชาขอบพระคุณ อาหารค่ำขององค์พระผู้เป็นเจ้า การบิปัง การชุมนุมศีลมหาสนิท การรำลึกถึงพระทรมาน...
211. ศีลมหาสนิทสำคัญอย่างไรสำหรับพระศาสนจักร การเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท เป็นหัวใจของชุมชนคริสตชน ในศีลมหาสนิทพระศาสนจักรกลายเป็นพระศาสนจักร (1325) เราไม่ได้เป็นพระศาสนจักรเพราะเรากลมเกลียวกัน หรือเป็นเพราะเราสิ้นสุดในชุมชนวัดเดียวกัน แต่เนื่องจากในศีลมหาสนิทเราได้รับพระกายของพระคริสตเจ้า และเราถูกเปลี่ยนเพิ่มมากขึ้นในพระกายของพระคริสตเจ้า 126,217 ในศีลมหาสนิทเรากลายเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าเหมือนกับอาหารเป็นหนึ่งเดียวกับร่างกาย...
210. พระคริสตเจ้าทรงตั้งศีลมหาสนิทอย่างไร “ข้าพเจ้าได้รับสิ่งใดมาจากองค์พระผู้เป็นเจ้า ข้าพเจ้าก็ได้มอบสิ่งนั้นต่อให้ท่าน คือในคืนที่ทรงถูกทรยศนั้นเอง พระเยซูองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงหยิบปัง ขอบพระคุณ แล้วทรงบิออก ตรัสว่า “นี่คือกายของเราเพื่อท่านทั้งหลาย จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” เช่นเดียวกัน...

กิจกรรมพระคัมภีร์

ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา
อย่านำฉันลงมา เรื่อง การดูหมิ่น พระคัมภีร์ โรม 12:16 ภาพรวม เด็กๆ สร้างคนด้วยไม้จิ้มฟัน และเรียนรู้ว่า การดูหมิ่นทำให้ผู้อื่นเจ็บปวดอย่างไร อุปกรณ์ กระดาษ ไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน ปากกาเส้นใหญ่ กาว และแถบกาว ประสบการณ์ แบ่งเด็กเป็นกลุ่มๆ ละ 3-4 คน แจกไม้จิ้มฟัน ดินน้ำมัน...

ประมวลภาพกิจกรรม

ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
โครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม
🤖 TRV. Innovation Fair 2023 🤖 วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2024 ทีมคำสอนสัญจร ได้มีโอกาสไปออกร้านจำหน่ายศาสนภัณฑ์ และออกบูธจัดกิจกรรมคำสอน ร่วมกับฝ่ายจิตตาภิบาล โรงเรียนไตรราชวิทยา ในโครงการตลาดนัดวิชาการ ไตรราชวิทยา ก้าวหน้าสู่ห้องเรียนนวัตกรรม ประธานในพิธี บาทหลวงเอกรัตน์...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ พระสัญญาของพระเจ้า
ถ้าครุ่นคิดถึงความวุ่นวายก็จะพบแต่ความสิ้นหวัง จงมอบความวุ่นวายไว้กับพระเจ้า แล้วท่านจะพบชัยชนะ "จงวางใจในพระยาห์เวห์สุดจิตใจ อย่าเชื่อมั่นเพียงความรอบรู้ของตน จงระลึกถึงพระองค์ในทุกทางของลูก และพระองค์จะทรงทำให้ทางเดินของลูกราบรื่น" (สภษ 3:5)
วงล้อ
ทุกๆ คนล้วนแสวงหาความสุข และอยากจะพบความสุข จะมีสักกี่คนที่พบความสุขแท้ วงล้อ ความสุขแท้จากพระคัมภีร์ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่จะทำให้ท่านค้นพบความสุขแท้ ท่านจะได้รับข้อความดีๆ ที่ให้คำแนะนำ และจะพบกับพระวาจาของพระเจ้าจากพระคัมภีร์เล่มต่างๆ...

บทภาวนา (กิจกรรม)

การภาวนาคืออะไร
การภาวนาคืออะไร เป็นการยกจิตใจและดวงใจขึ้นหาพระเจ้า หรือเป็นการร้องขอสิ่งที่ดีจากพระเจ้า บ่งบอกถึงความสัมพันธ์ที่แสดงความรักของลูกๆของพระเจ้ากับพระบิดา...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...
22 กุมภาพันธ์  ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก
วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ฉลองธรรมาสน์นักบุญเปโตรอัครสาวก (Chair of Saint Peter, the Apostle, feast) "เราบอกท่านว่า...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
4096
15753
57952
253222
326718
35690726
Your IP: 44.195.47.227
2024-03-29 03:42

สถานะการเยี่ยมชม

มี 288 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์