แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

พิธีกรรมเป็นการที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงปฏิบัติหน้าที่สมณะ
    หลังจากกล่าวถึงวิธีการต่างๆ ที่พระเยซูเจ้าประทับอยู่ในพิธีกรรมแล้ว ธรรมนูญข้อ 7 ก็บรรยายต่อไปถึงพิธีกรรมของคริสต์ศาสนาว่า
    “ดังนั้น พิธีกรรมจึงเรียกได้อย่างถูกต้องว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่สมณะของพระเยซูคริสตเจ้า ในพิธีกรรม มนุษย์ได้รับความศักดิ์สิทธิ์อาศัยเครื่องหมายที่ประสาทรับรู้แลเห็นได้ และบังเกิดผลตามความหมายเฉพาะของเครื่องหมายแต่ละประการ ในพิธีกรรมพระกายทิพย์ของพระเยซูคริสตเจ้า กล่าวคือ พระองค์ผู้ทรงเป็นศีรษะกับบรรดาคริสตชนผู้เป็นประหนึ่งส่วนต่างๆ ของพระวรกายเป็นผู้ประกอบคารวกิจทางการร่วมกันของพระวรกายทั้งหมดดังนั้นการประกอบพิธีกรรมทุกอย่าง ในฐานะที่เป็นกิจการของพระคริสตเจ้าผู้ทรงเป็นสมณะ และเป็นกิจการของพระศาสนจักรซึ่งเป็นพระวรกายของพระองค์ จึงเป็นกิจการศักดิ์สิทธิ์อย่างเลอเลิศ ไม่มีกิจการอื่นใดของพระศาสนจักรที่มีประสิทธิภาพเสมอเหมือนได้ ทั้งในความสำคัญและในคุณภาพ” (SC7)

    เมื่อใช้ถ้อยคำเหล่านี้ สภาฯไม่ต้องการจะให้คำนิยามพิธีกรรมในด้านพระสัจธรรม (เพราะสภาฯ ไม่มีเจตนาเช่นนั้น) แต่บรรยายอย่างละเอียดถึงธรรมชาติของพิธีกรรมของคริสต์ศาสนา
    พิธีกรรมเป็นพื้นที่ที่พระเยซูคริสตเจ้าทรงปฏิบัติพันธกิจสมณะของพระองค์ไปสุดปลายแผ่นดินจนสิ้นพิภพ พระเยซูเจ้าประทับอยู่ในพิธีกรรมในฐานะ “สมณะ” บนไม้กางเขน พระเยซูเจ้าทรงเป็น “สมณะ” ผู้ถวายพระองค์เองเป็น “เครื่องบูชา” แด่พระเจ้า พระองค์ทรงเป็นทั้งสมณะและเครื่องบูชา ในพิธีกรรมพระเยซูเจ้ายังทรงปฏิบัติหน้าที่สมณะของพระองค์ต่อไปและทรงทำให้การถวายบูชาหนึ่งเดียวของพระองค์เป็นปัจจุบันสำหรับเราแต่ละคน เพื่อให้เรามีส่วนร่วมในการถวายบูชานั้น ยอมรับโดยอิสรเสรี ทำให้การถวายบูชานั้นเป็นชีวิตของตน และประกาศให้แก่ผู้อื่นด้วย พระเยซูคริสตเจ้ายังทรงเป็นพระวิหารแห่งเดียวที่พวกเรามารวมกันเพื่ออธิษฐานภาวนาและถวายบูชาพร้อมกับพระองค์ พระองค์ทรงเป็นสมณะแต่องค์เดียว เป็นเครื่องบูชาหนึ่งเดียว และเป็นพระวิหารเพียงแห่งเดียว พระองค์ทรงเป็นสมณะ-คนกลาง เป็นผู้แทนของพระเจ้าสำหรับมนุษยชาติ และเป็นผู้แทนของมนุษยชาติต่อพระเจ้า แต่พระเยซูคริสตเจ้ามิได้อยู่เพียงพระองค์เดียวในพิธีกรรม
    “พระคริสตเจ้าประทับอยู่เสมอในพระศาสนจักร ในการประกอบพระราชกิจใหญ่ยิ่งนี้ ซึ่งถวายพระสิริรุ่งโรจน์แด่พระเจ้าอย่างสมบูรณ์ และบันดาลความศักดิ์สิทธิ์แก่มนุษย์ พระศาสนจักรเรียกขานพระคริสตเจ้าเป็นองค์พระผู้เป็นเจ้าของตน และอาศัยพระองค์ถวายคารวกิจแด่พระบิดานิรันดร” (SC7)
    พิธีกรรมเป็นพระราชกิจของพระเยซูคริสตเจ้า ศีรษะของพระศาสนจักรซึ่งเป็นเสมือนพระกายของพระองค์ พระเยซูเจ้า สมณะเพียงพระองค์เดียว ทรงแบ่งปันสมณภาพของพระองค์กับพระวรกายทั้งหมด เมื่อรับศีลล้างบาป พวกเราซึ่งเป็นส่วนต่างๆ ของพระวรกายของพระเยซูเจ้า ได้รับสิทธิและหน้าที่ที่จะถวายบูชาหนึ่งเดียวของพระเยซูเจ้าร่วมกับบูชาของเราเอง เพื่อทำให้การถวายบูชานี้เป็นการถวายบูชามีชีวิตของพระวรกายทั้งหมด (คือพระเยซูเจ้าและประชากรของพระองค์) เพื่อความรอดพ้นของโลก
    “ประชากรคริสตชนมีส่วนร่วมประกอบพิธีกรรมอย่างเต็มที่ในฐานะ ‘เป็นชาติที่ทรงเลือกสรรไว้ เป็นสมณราชตระกูล เป็นชนชาติศักดิ์สิทธิ์ เป็นประชากรที่เป็นกรรมสิทธิ์พิเศษของพระเจ้า’ (1 ปต 2:9; เทียบ 2:4-5) ก็มีสิทธิและหน้าที่อาศัยศีลล้างบาปที่จะทำเช่นนี้” (SC14)
    สมณภาพสามัญของผู้ได้รับศีลล้างบาปได้กลายเป็น “สิ่งต้องห้าม” (taboo) ในพระศาสนจักรคาทอลิก โดยเฉพาะหลังสภาสังคายนาที่เมืองเตร็นท์ บรรดาคริสตจักรโปรเตสแตนต์ได้ใช้เรื่องนี้เป็น “ธงสัญญาณ” สำหรับขบวนการของตน และได้เน้นเรื่องนี้จนถึงกับยกเลิกสมณภาพของพระฐานันดรที่ได้รับศีลบวช (พระสังฆราช พระสงฆ์ และสังฆานุกร) ไปเลย ขบวนการด้านพิธีกรรมได้ชี้เรื่องนี้ขึ้นมาใหม่อย่างแข็งขันหลังจากผ่านมาแล้วถึง 400 ปี สภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างคริสตจักรต่างๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างมาก และพระศาสนจักรคาทอลิกก็ได้รื้อฟื้นความจริงที่ได้รับการเปิดเผยของคริสต์ศาสนาเรื่องนี้ขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก และพระศาสนจักรคาทอลิกก็ได้รื้อฟื้นความจริงที่ได้รับการเปิดเผยของคริสต์ศาสนาเรื่องนี้ขึ้นใหม่ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากเพื่อการอบรมฆราวาสคาทอลิกให้เข้มแข็ง
    สภาสังคายนาฯ ได้ยอมรับมุมมองนี้ ได้มีการกล่าวถึงเรื่องสถานภาพสามัญของผู้ได้รับศีลล้างบาปแล้วในธรรมนูญ SC แต่เรื่องนี้ก็ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ ธรรมนูญ Lumen Gentium เรื่อง พระศาสนจักรดำเนินงานเรื่องนี้ต่อไปและกล่าวอย่างชัดเจนว่า
    “พระคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้า พระมหาสมณะซึ่งทรงได้รับการคัดเลือกจากมวลมนุษย์ ทรงบันดาลให้ประชากรใหม่เป็น “อาณาจักรและสมณะสำหรับพระเจ้าพระบิดา” บรรดาผู้ได้รับศีลล้างบาป โดยการเกิดใหม่และการเจิมของพระจิตเจ้า ได้รับการมอบถวายแด่พระเจ้าให้เป็นพระวิหารด้านจิตและสมณภาพศักดิ์สิทธิ์... ดังนั้น ศิษย์ทุกคนของพระคริสตเจ้า เมื่อร่วมภาวนาสรรเสริญพระเจ้าอย่างต่อเนื่อง ย่อมแสดงตนเป็นเครื่องบูชาที่มีชีวิต... แม้สมณภาพสามัญและสมณภาพของศาสนบริกรหรือพระฐานันดรจะแตกต่างกันในสาระสำคัญไม่เพียงแต่ในระดับมากน้อยเท่านั้น สมณภาพทั้งสองนี้ก็ยังมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันด้วย สมณภาพแต่ละอย่างก็เป็นการมีส่วนร่วมสมณภาพหนึ่งเดียวของพระคริสตเจ้าตามแบบเฉพาะของตน อาศัยอำนาจศักดิ์สิทธิ์ที่เขาได้รับมา พระสงฆ์ศาสนบริกรสั่งสอนและปกครองประชากรสมณะ เขาปฏิบัติงานในฐานะเป็นบุคคลของพระคริสตเจ้า ทำให้การถวายบูชาขอบพนระคุณเป็นปัจจุบันและถวายบูชาขอบพระคุณนี้ในนามของประชากรทุกคน แต่บรรดาผู้มีความเชื่อ โดยอำนาจของสมณภาพราชตระกูลที่ตนมีก็ร่วมถวายบูชาขอบพระคุณด้วย เขาเหล่านี้ปฏิบัติหน้าที่สมณะของตนเมื่อรับศีลศักดิ์สิทธิ์ เมื่ออธิษฐานภาวนาและในการเป็นพยานดำเนินชีวิตศักดิ์สิทธิ์ และโดยการสละตนเองและแสดงความรักต่อเพื่อนมนุษย์อย่างแข็งขัน” (LG10)
    ข้าพเจ้าเชื่อว่าเราพระสงฆ์น่าจะยินดีและพร้อมที่จะสอนความจริงสำคัญที่ได้รับการเปิดเผยเรื่องสมณภาพของทุกคนที่ได้รับศีลล้างบาปนี้แก่บรรดาฆราวาสเพื่อช่วยพวกเขาให้มีสำนึกว่าทุกครั้งที่เขามีส่วนร่วมพิธีกรรมอย่างแข็งขัน ผู้มีความเชื่อควรร่วมพิธีกรรมมิใช่เหมือนคนแปลกหน้า หรือผู้ชมอย่างเงียบๆแต่ (สภาสังคายนาฯ) ปรารถนาให้สัตบุรุษเข้าใจจารีตพิธีและบทภาวนาเป็นอย่างดี จะได้ร่วมกิจกรรมศักดิ์สิทธิ์อย่างรู้สำนึก อย่างเลื่อมใสศรัทธาและแข็งขัน ได้รับการอบรมจากพระวาจาของพระเจ้า และเลี้ยงชีวิตด้วยพระกายขององค์พระผู้เป็นเจ้า ขอบพระคุณพระเจ้า โดยถวายเครื่องบูชาไร้มลทิน มิใช่ด้วยมือของพระสงฆ์เท่านั้น แต่พร้อมกับพระสงฆ์ด้วย เขาจะได้เรียนรู้ที่จะถวายตนแด่พระเจ้า และอาศัยพระคริสตเจ้าผู้เป็นคนกลาง เขาจะได้ก้าวหน้ายิ่งวันยิ่งมากขึ้นในความเป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าและระหว่างกัน เพื่อในที่สุดพระเจ้าจะได้ทรงเป็นทุกสิ่งในทุกคน” (SC48)
    คำสอนคาทอลิกเรื่องสมณภาพสามัญของผู้รับศีลล้างบาปอธิบายอย่างชัดเจนว่า จุดประสงค์ของสมณภาพของศาสนบริกรก็คือเพื่อรับใช้สมณภาพสามัญของผู้รับศีลล้างบาปแล้วนั่นเอง

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพุธ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 12:44-50) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสเสียงดังว่า “ผู้ที่เชื่อในเรา ไม่ได้เชื่อในเราเท่านั้น แต่ยังเชื่อในพระองค์ผู้ทรงส่งเรามาด้วย ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา เราเข้ามาในโลกเป็นแสงสว่าง...
วันอังคาร สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 10:22-30) เวลานั้นเป็นเทศกาลฉลองพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม และเป็นฤดูหนาว พระเยซูเจ้าทรงพระดำเนินอยู่ในพระวิหารที่เฉลียงซาโลมอน ชาวยิวมาล้อมพระองค์ไว้ ทูลว่า “ท่านจะปล่อยให้ใจของพวกเราสงสัยอยู่นานเท่าใด ถ้าท่านเป็นพระคริสตเจ้า ก็จงบอกพวกเราให้ชัดเจนเถิด”...
วันจันทร์ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 10:1-10) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ผู้ที่ไม่เข้าคอกแกะทางประตู แต่ปีนเข้าทางอื่น ก็เป็นขโมยและโจร ผู้ที่เข้าทางประตูก็เป็นผู้เลี้ยงแกะ คนเฝ้าประตูย่อมเปิดประตูให้เขาเข้าไป...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
4451
11990
36570
246103
306218
35989825
Your IP: 52.14.8.34
2024-04-23 13:36

สถานะการเยี่ยมชม

มี 126 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์