แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

เทศกาลพระคริสตสมภพ (เทศกาลแห่งการเผยแสดงพระองค์ขององค์พระผู้เป็นเจ้า)


บทนำ
The-Christmas-Story-01จากประวัติศาสตร์จะพบว่าคริสตชนใน 3 ศตวรรษแรก ฉลองวันพระเจ้า และปัสกาประจำปีเท่านั้น จนต้นศตวรรษที่ 4 เริ่มฉลองธรรมล้ำลึกของพระคริสตเจ้าในแง่มุมต่าง ๆ มากขึ้น เช่น ตรีวารปัสกา และสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ ก่อนการสมโภชปัสกา และ พระคริสตเจ้าเสด็จสู่สวรรค์ และวันสมโภชพระจิตเจ้าหลังจากวันสมโภชปัสกา
เทศกาลในวงพระคริสตสมภพประกอบด้วย เทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า (4 สัปดาห์) เทศกาลพระคริสตสมภพ (วันฉลองสำคัญคือสมโภชพระคริสตสมภพ และสมโภชพระคริสต์แสดงองค์) เทศกาลพระคริสตสมภพเริ่มเมื่อวัตรเย็นที่ 1 ของวันคริสตสมภพ และจบลงที่วันฉลองพระเยซูเจ้าทรงรับพิธีล้าง
เนื่องจากการนับวันคริสตสมภพ เป็นการนับตามปฏิทินสุริยคติ วันฉลองนี้จึงเป็นไปตามเดิมทุกปี

ประวัติวันสมโภชพระคริสตสมภพ
เอกสารที่เก่าแก่ที่สุดที่พูดถึงการฉลองคริสตสมภพ ในวันที่ 25 ธันวาคม มีต้นกำเนิดมาจากพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก คือ Chronograph ในปี ค.ศ. 354 ซึ่งแสดงวันสิ้นชีวิตของพระสังฆราชแห่งโรมและมรณสักขีชาวโรมัน ทำให้ทราบว่าอย่างเร็วที่สุดในปี ค.ศ. 336 ที่โรมมีการฉลองคริสตสมภพแล้ว
ทำไมที่โรมจึงฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าในวันที่ 25 ธันวาคม     
(Incarnation = Manifestation in the Flesh) มีสมมุติฐานดังนี้ คือ
1.    ธรรมประเพณีโบราณในศตวรรษที่ 2-3 ที่เชื่อว่า พระเยซูเจ้าทรงปฏิสนธิและสิ้นพระชนม์ในวันและเดือนเดียวกัน คือ วันที่   25 มีนาคม  (วันที่ 14 เดือนนิสาน – วันสิ้นพระชนม์และวันปฏิสนธิ)
2.    วันฉลองของชาวโรมันซึ่งฉลองในวันที่ 25 ธันวาคม คือ Natale (Solis) Invicti (ที่จักรพรรดิ เอาเลเรียนตั้งในปี 274) คริสตชนฉลองพระเยซูเจ้าทรงเป็น Sun of  Justice “แต่ดวงอาทิตย์แห่งความชอบธรรมซึ่งมีปีกรักษาโรคภัยได้   จะขึ้นมาสำหรับคนเหล่านั้นที่ยำเกรงนามของเรา   เจ้าจะกระโดดโลดเต้นออกไปเหมือนลูกวัวออกไปจากคอก” (มาลาคี 4:2)
 “เดชะพระเมตตากรุณา ของพระเจ้าของเรา พระองค์จะเสด็จมาเยี่ยมเราจากเบื้องบน ดังแสงอรุโณทัย” (ลก 1:78) และพระเยซูเจ้าทรงเป็นแสงสว่างส่องโลก (ยน 8:12)
วันฉลองพระคริสตสมภพเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็วทั้งทางตะวันตกและตะวันออก ในศตวรรษที่ 4 อาจจะเป็นเพราะธรรมล้ำลึกที่ฉลองเป็นคำตอบต่อพวกเฮเรติก Arianism ที่บอกว่าพระบุตรไม่เท่ากับพระบิดา ดังนั้นการฉลองในพิธีกรรมคริสตสมภพจึงเน้นธรรมชาติพระเจ้าแท้และมนุษย์แท้ God+Man ของพระเยซูเจ้า ซึ่งสอดคล้องกับคำสอนของสังคายนาที่นิเชอา (ค.ศ. 325) ซึ่งประนามลัทธิแอเรียน

พิธีกรรมสมโภชคริสตสมภพ
วันสมโภชพระคริสตสมภพ จะมีมิสซา 3 มิสซา (ไม่นับมิสซาเย็นก่อนวันฉลอง) บทอ่านของทั้งสามมิสซา จะเป็นคำยืนยันของพยานและผู้นิพนธ์พระวรสารเกี่ยวกับธรรมล้ำลึกแห่งการรับเอากายของพระบุตรพระเจ้า
ตาม Roman tradition มีร่องรอยใน ศต 7 อนุญาตให้พระสงฆ์ทำ 3 มิสซา (บทเทศน์พระคริสตสมภพของพระสันตะปาปาเกรโกรี่ มหาสมณะ 604 A.D.)
ปัจจุบันเช่นเดียวกัน มี Missa in nocte, Missa in aurora, Missa in die
(พวก mystic ในสมัยกลางกล่าวว่าพระบุตรทรงบังเกิด 3 ครั้ง จากพระบิดา พระนางมารีย์ และในวิญญาณของผู้ชอบธรรม จึงเหมาะที่จะถวายมิสซา 3 ครั้ง)
ในศตวรรษที่ 4 มีมิสซาเดียวที่มหาวิหารนักบุญเปโตร (เวลาประมาณ 9.00 น.)
ในศตวรรษที่ 5 มีมิสซาเที่ยงคืนที่มหาวิหาร St. Marry Major (สร้างขึ้นหลังสังคายนาที่เอเฟซัส ในปี 431 ซึ่งประกาศว่า พระนางมารีย์คือพระมารดาของพระเจ้า วัดนี้มีพระธาตุถ้ำเลี้ยงสัตว์)
ธรรมเนียมการถวายมิสซาเที่ยงคืนน่าจะมีมาจากธรรมเนียมของคริสตชนที่กรุงเยรูซาเล็ม คืนก่อน Epiphany คริสตชนที่กรุงเยรูซาเล็มจะร่วมมิสซาในวัดที่จักรพรรดิคอนสแตนตินสร้างบนถ้ำที่พระเยซูเจ้าทรงบังเกิดที่เบธเลแฮม หลังจากนั้นจะตั้งขบวนแห่ไปที่เยรูซาแลมและถวายมิสซาเช้าที่นั่น
ประมาณกลางศตวรรษที่ 6 เพิ่มมิสซารุ่งอรุณที่วัด St. Anastasia of Sirmium นักบุญองค์นี้เป็นมรณสักขีที่นับถือของคริสตชนตะวันออก ฉลอง 25 ธันวาคม โดยใช้บทอ่านจากพระคัมภีร์เรื่องการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทนบทอ่านระลึกถึงนักบุญท่านนี้ (พระสันตะปาปาจะแวะมาฉลองที่นี่ก่อน จึงจะไปถวายมิสซาที่มหาวิหารนักบุญเปโตร)
การถวาย 3 มิสซา เข้ามาที่หนังสือ Gregorian Sacramentary ของพระสันตะปาปาและแพร่หลายต่อไปทั่วยุโรป
สังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 ได้เพิ่มมิสซา vigil mass ของวันสมโภชพระคริสตสมภพ

มิสซาเย็นก่อนวันฉลอง
พระวาจาของวันนี้เป็นการเน้นที่ธรรมล้ำลึกเกี่ยวกับการมีเชื้อสายดาวิดของพระเยซูเจ้า และความสำเร็จของพระสัญญาที่พระเจ้าเคยให้ไว้ หัวข้อสำคัญนี้ได้มีการประกาศแล้วตั้งแต่วันอาทิตย์หลัง ๆ ของเทศกาลเตรียมรับเสด็จพระคริสตเจ้า
มธ 1:1-25 พระเจ้าทรงรักษาพระสัญญา แผนการแห่งความรอดพ้นสำเร็จโดยอาศัยการบังเกิดของพระเยซูเจ้า และการบังเกิดของพระองค์เป็นผลงานของพระจิตเจ้า เพราะนักบุญโยเซฟไม่ได้เกี่ยวข้องกับพระนางมารีย์ในฐานะสามีภรรยา
     บทอ่านที่ 1 อสย 62:1-5 ประกาศว่า พระเจ้าไม่ทรงทอดทิ้งประชากร แต่กำลังจะทำให้พระสัญญาแห่งความรอดกลับเป็นความจริง ไม่เพียงแต่เท่านั้น แต่ประชากรนี้จะได้มีชื่อว่า “ความพึงพอใจของท่าน” คำพูดเดียวกันนี้ที่ทูตสวรรค์ใช้กับพระนางมารีอาเมื่อมาแจ้งสารการบังเกิดของพระเยซูเจ้า (ลก 2:14)
บทอ่านที่ 2 กจ 13:16-17,22-25 เป็นคำให้การของเปาโลเกี่ยวกับพระเยซูเจ้า บทอ่านบทนี้มีสาระใกล้เคียงกับพระวรสารในเรื่องเกี่ยวกับการที่พระเยซูเจ้าเป็นคนเชื้อสายของดาวิด และการบังเกิดของพระองค์เป็นความสำเร็จจริงของพระสัญญาของพระธรรมเดิม
มิสซากลางคืน
พิธีขอบพระคุณนี้เต็มไปด้วยบรรยากาศของการสำแดง “พระสิริโรจนา” ของพระเจ้าในพระคุณของพระผู้ไถ่ที่ประทานแก่มนุษย์ และบรรยากาศของ “ความยินดี” ของมนุษย์ผู้ต้อนรับพระองค์ “วันนี้ พระผู้ไถ่ คือองค์พระคริสต์ ได้ประสูติเพื่อเราแล้ว”
ลก 2:1-14 การบังเกิดของพระเยซูเจ้าที่เบธเลแฮม จบที่ทูตสวรรค์ร้องเพลง Gloria (เพลงพิเศษของวันสมโภชนี้) จะเห็นได้ว่าการอวยพรให้มี “สันติสุข” จากปากของทูตสวรรค์ใน ลก 2:14 ก็จะเป็นคำเดียวกันกับที่พระเยซูเจ้าตรัสกับพวกอัครสาวกหลังจากที่พระองค์เสด็จกลับคืนชีพแล้วเช่นกัน (ลก 24:36)
อิสยาห์ 9: 2-4, 6-7 ความหวังเรื่องพระเมสสิยาห์สำเร็จในวันนี้ “ชนชาติที่ดำเนินในความมืด จะได้เห็นความสว่างยิ่งใหญ่ บรรดาผู้ที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินแห่งความตาย แสงสว่างจะได้ส่องมายังเขา... เหตุว่ามีกุมารผู้หนึ่งเกิดมาเพื่อเรา มีบุตรชายคนหนึ่งประทานมาให้เรา และการปกครองจะอยู่บนบ่าของพระองค์ และเขาจะขนานนามว่า “ที่ปรึกษามหัศจรรย์ พระเจ้าผู้ทรงอำนาจ พระบิดานิรันดร เจ้าแห่งสันติ”
ทิตัส 2:11-14 ความรอดของพระเจ้าปรากฎมาแล้ว (First Grace) ขอให้เราเจริญชีวิตอย่างรู้ประมาณ ยุติธรรม และชอบธรรมในโลกนี้
สัญญลักษณ์แสงสว่าง พบในบทภาวนาของประธาน และบทนำขอบพระคุณที่ 1 เทศกาลพระคริสตสมภพด้วย
ความเคารพพิเศษแสดงออกเมื่อสวดบท credo ถึงตอน “มาบังเกิดเป็นมนุษย์” ทุกคนคุกเข่า (เฉพาะวันสมโภชพระคริสตสมภพและวันสมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพเป็นมนุษย์)
มิสซารุ่งอรุณ
หัวข้อสำคัญของพิธีขอบพระคุณนี้คือความเชื่อ ในที่นี้ ความเชื่อถูกมองเป็นทั้งเส้นทางเดินของชีวิต และในเวลาเดียวกัน เป็นพระคุณที่พระเจ้าประทานให้ (บทอ่านที่ 1 และ 2)
ลก 2:15-20 ชุมพาบาลพบพระกุมารบนรางหญ้า พระวรสารตอนนี้เป็นตอนที่ต่อจากบทของพิธีตอนกลางคืน ซึ่งจบตอนที่ทูตสวรรค์แจ้งการบังเกิดของพระเยซูให้พวกคนเลี้ยงแกะทราบ บทอ่านตอนนี้เป็นปฏิกิริยาของพวกเขา ซึ่งเราสามารถเห็นวิธีการบรรยายของเส้นทางเดินของความเชื่อ ได้แก่ “การประกาศข่าวเกี่ยวกับความรอด จากนั้นมีการตอบสนองของความเชื่อ ซึ่งแสดงออกมาด้วยการฟัง การไปโดยไม่รอช้า การเห็นและจบลงด้วยการสรรเสริญพระเจ้าและการเป็นพยานให้คนอื่นทราบ”
สัญญลักษณ์ของแสงสว่างชัดเจนมากกว่ามิสซากลางคืน ในเพลงเริ่มพิธี บทภาวนาของประธาน สดุดี 97 (การประกาศสรรเสริญพระเจ้าผู้ทรงเป็นกษัตริย์ และเป็นความสว่างส่องเหนือผู้ชอบธรรม)
นอกจากนั้นยังพูดถึง ความเชื่อและความยินดี (บทภาวนาหลังรับศีล)
มิสซากลางวัน
มิสซากลางวันเสนอธรรมล้ำลึกเกี่ยวกับพระธรรมชาติของพระเยซู ผู้ทรงบังเกิดมาและเป็นพระมหาไถ่ของอิสราเอลและของประชาชาติว่า พระองค์ทรงเป็นพระบุตรของพระเจ้า ผู้ทรงเสมอเทียบเท่าพระบิดา ได้ถูกส่งมาท่ามกลางมนุษย์และเพื่อมนุษย์ทุกคน ในพิธีกรรมเน้นพระเยซูเจ้าทรงเป็นพระบุตรพระเจ้า
ยน 1:1-18 พระวจนาถต์ทรงรับเอากายเป็นมนุษย์ และมาประทับท่ามกลางเรา พระองค์ทรงรับเอากายเป็นมนุษย์เพื่อทำให้มนุษย์ได้เกิดใหม่เป็นบุตรของพระเจ้า “มีบางคนที่ยอมรับและเชื่อถือพระองค์ พระเจ้าทรงให้คนเหล่านี้มีสิทธิเป็นบุตรของพระองค์” ที่สุด ประโยคสุดท้ายนับเป็นการยืนยันถึงความหมายของ “เอ็มมานูเอล” ได้อย่างดี คือ “ไม่มีใครเคยเห็นพระเจ้าเลย พระบุตรเพียงพระองค์เดียว ผู้สถิตอยู่ในพระอุระของพระบิดานั้นได้ทรงเปิดเผยให้เรารู้” (ยน 1:18)
อสย 52:7-10 ความรอด สันติสุข ข่าวดี “พระเจ้าทรงเตรียมพระกรอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ เพื่อช่วยเหลือประชาชาติทั้งปวง และที่สุดปลายแผ่นดินทั้งสิ้น จะเห็นความรอดของพระเจ้าของเรา”
ฮบ 1:1-6 พระเจ้าตรัสกับเราผ่านทางพระบุตร พระบุตรสะท้อนสิริรุ่งโรจน์ของพระเจ้า รูปแบบสมบูรณ์แห่งธรรมชาติของพระเจ้า ผดุงจักรวาล ประทับเบื้องขวาพระบิดา
สรุป
การสมโภชพระคริสตสมภพมีจุดเน้นที่สำคัญอยู่ 4 ประการ คือ
1. เน้นที่การมารับสภาพเป็นมนุษย์ของพระเยซู
2. การแลกเปลี่ยนสภาวะธรรมชาติระหว่างพระกับมนุษย์
3. คริสตสมภพยังเป็นการฉลองการไถ่บาป (ธรรมล้ำลึกปัสกา) จากจดหมายถึงทิตัส มิสซารุ่งอรุณ 2:14 “พระเยซูคริสต์ผู้ทรงมอบพระองค์เพื่อเรา เพื่อไถ่เราจากความชั่วร้ายทั้งมวล และชำระให้บริสุทธิ์ ให้เป็นประชากรของพระองค์ เป็นผู้กระตือรือร้นในการทำความดี”
4. แม่พระมีส่วนในธรรมล้ำลึกการรับเอากายของพระคริสตเจ้า อาทิตย์ที่ 4 เตรียมรับเสด็จฯ 17-24 ธันวาคม และวันสุดท้ายของอัฐมวารคริสตสมภพ เราสมโภชพระนางมารีย์พระชนนีพระเป็นเจ้า   

อัฐมวารพระคริสตสมภพ
คริสตสมภพเป็นเทศกาลที่มีอัฐมวาร และอยู่ในช่วงปีใหม่ซึ่งคนต่างศาสนาฉลองเทพเจ้า Janus ซึ่งคริสตชนมีมิสซาเพื่อป้องกันการนับถือรูปเคารพ “Ad prohibendum ab idolis”
นักบุญออกัสตินเคยเทศน์ว่า “ให้พวกเขาให้ของขวัญปีใหม่แต่ท่านจงให้ทาน ให้พวกเขาร้องเพลงเอะอะแต่ท่านจงเปิดใจรับพระวาจาของพระเจ้า ให้เขาไปที่โรงละคร แต่ท่านควรจะไปที่วัด ให้พวกเขาดื่มเหล้าแต่พวกท่านควรจะอดอาหาร”
สังคายนาครั้งที่ 2 ที่ Tours (567) ให้มีการใช้โทษบาป 3 วันแรกของปีใหม่ สังคายนาครั้งที่ 4 ที่ Toledo ก็พูดถึงเรื่องการใช้โทษบาปเช่นเดียวกัน
พระศาสนจักรที่กรุงโรมสมโภชพระนางมารีย์พระชนนีของพระเจ้า โดยได้รับอิทธิพลจากคอนสแตนติโนเปิล
เมื่อวันสมโภชการประกาศเรื่องพระวจนาถทรงรับเอากาย และวันสมโภชแม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์เข้ามาที่กรุงโรม ดูเหมือนว่าวันที่ 1 มกราคมที่โรมกลายเป็นวันสุดท้ายในอัฐมวารพระคริสตสมภพเหมือนเดิม
ในศตวรรษที่ 6 วันฉลองพระเยซูเจ้ารับศีลตัด ในวันที่ 1 มกราคม มีการฉลองที่สเปน โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่โกล
ใน ศตวรรษที่ 13-14     เราพบชื่อวันฉลององค์พระผู้เป็นเจ้าทรงรับศีลตัดและอัฐมวารคริสตสมภพที่โรม
หลังสังคายนาวาติกันครั้งที่ 2 จึงกลับมาสมโภชพระนางมารีย์พระชนนีของพระเจ้า เหมือนเดิม
การฉลองพระนามพระเยซู (3 มกราคม ในปัจจุบัน) เริ่มฉลองในศตวรรษที่ 15 โดยผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่วันฉลองนี้ คือ ยอห์น แห่งคาปริสตาโน และนักบุญเบเนดินชาวซีอานา

ที่มา: เอกสารสอนปีพิธีกรรม (คุณพ่อเชษฐา ไชยเดช)

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันพฤหัสบดี สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา (ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร) พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญมาระโก (มก 16:15-20) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสกับบรรดาศิษย์ว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลก ประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง ผู้ที่เชื่อและรับศีลล้างบาปก็จะรอดพ้น ผู้ที่ไม่เชื่อจะถูกตัดสินลงโทษ...
วันพุธ สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 12:44-50) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสเสียงดังว่า “ผู้ที่เชื่อในเรา ไม่ได้เชื่อในเราเท่านั้น แต่ยังเชื่อในพระองค์ผู้ทรงส่งเรามาด้วย ผู้ที่เห็นเรา ก็เห็นพระองค์ผู้ทรงส่งเรามา เราเข้ามาในโลกเป็นแสงสว่าง...
วันอังคาร สัปดาห์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 10:22-30) เวลานั้นเป็นเทศกาลฉลองพระวิหารที่กรุงเยรูซาเล็ม และเป็นฤดูหนาว พระเยซูเจ้าทรงพระดำเนินอยู่ในพระวิหารที่เฉลียงซาโลมอน ชาวยิวมาล้อมพระองค์ไว้ ทูลว่า “ท่านจะปล่อยให้ใจของพวกเราสงสัยอยู่นานเท่าใด ถ้าท่านเป็นพระคริสตเจ้า ก็จงบอกพวกเราให้ชัดเจนเถิด”...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

ความสุขแท้จริง 8 ประการ สำหรับครูคำสอน
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

222. อาจโปรดศีลมหาสนิทให้กับผู้ที่มิใช่คริสตชนด้วยหรือ ศีลมหาสนิท เป็นการแสดงออกถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันของพระกายของพระคริสตเจ้า การเป็นของพระศาสนจักรคาทอลิก บุคคลนั้นต้องได้รับศีลล้างบาปในพระศาสนจักร มีส่วนร่วมในความเชื่อของพระศาสนจักร ดำเนินชีวิตร่วมกันกับพระศาสนจักร จะเป็นความขัดแย้งกันถ้าพระศาสนจักรจะเชิญผู้ที่ยังไม่มีส่วนร่วมในความเชื่อ และยังไม่ดำเนินชีวิตตามพระศาสนจักรเข้ามารับศีลมหาสนิท จะเป็นความเสียหายของความน่าเชื่อถือของเครื่องหมายแห่งศีลมหาสนิท (1398...
221. ศีลมหาสนิทเปลี่ยนแปลงเราอย่างไร ทุกครั้งที่รับศีลมหาสนิทยิ่งทำให้ฉันเป็นหนึ่งเดียวกับพระคริสตเจ้าได้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ทำให้ฉันเป็นสมาชิกที่มีชีวิตชีวาของพระกายพระคริสตเจ้า ฟื้นฟูพระหรรษทานที่ฉันได้รับในศีลล้างบาป และศีลกำลัง และสร้างป้อมปราการให้ฉันในการต่อสู้กับบาป (1391-1397,1416)
220. ในการรับศีลมหาสนิทต้องเตรียมตัวอย่างไร ผู้ที่ต้องการรับศีลมหาสนิทต้องเป็นคาทอลิก ถ้าเขามีบาปหนักในมโนธรรมของเขา สิ่งแรกคือเขาต้องไปสารภาพบาป ก่อนเข้าไปสู่พระแท่นผู้นั้นควรคืนดีกับเพื่อนบ้านของตน (389 , 1417) จนกระทั่งเมื่อไม่กี่ปีก่อน ในภาคปฏิบัตินั้นจะรับประทานอะไรไม่ได้เลยอย่างน้อย 3...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2024 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
9576
9039
50734
260267
306218
36003989
Your IP: 3.133.121.160
2024-04-24 19:40

สถานะการเยี่ยมชม

มี 147 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์