การตระเตรียมเอกสารสำหรับการประชุมสมัชชาพระสังฆราช
นครรัฐวาติกัน, 5 พฤศจิกายน 2013 ( VIS )


เราจัดพิมพ์ข้อความฉบับเต็มข้างล่างนี้เพื่อเป็นเอกสารเตรียมการประชุมสมัยวิสามัญของสมัชชาพระสังฆราชครั้งที่สาม:  "ความท้าทายด้านงานอภิบาลสำหรับครอบครัวในบริบทของการประกาศพระวรสาร."
1.สมัชชาสภาพระสังฆราช : ครอบครัวและการประกาศพระวรสาร.
พันธกิจของการเทศน์สอนพระวรสารแก่มนุษย์ทั้งหมด, ซึ่งองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงมอบหมายแก่บรรดาศิษย์โดยตรง, ให้สืบทอดงานนี้ในพระศาสนจักรตลอดประวัติศาสตร์. วิกฤติทางสังคมและทางจิตวิญญาณ,กำลังเป็นความท้าทายต่อพันธกิจการประกาศพระวรสารที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวที่เห็นได้ชัดในโลกปัจจุบัน, ศิลาสำหรับก่อสร้างทรงชีวิตของสังคมและชุมชนของพระศาสนจักร. ไม่เคยเป็นมาก่อนที่มีการประกาศพระวรสารเกี่ยวกับครอบครัวในบริบทนี้ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนมากขึ้น. เราไตร่ตรองความสำคัญของเรื่องนี้ให้เห็นข้อเท็จจริงที่ว่า สมเด็จพระสันตะปาปาจึงทรงตัดสินพระทัยที่จะเรียกประชุมสมัชชาพระสังฆราช, ซึ่งมี 2 แผนงาน ได้แก่

          ขั้นตอนแรก การประชุมสมัยวิสามัญในปี 2014, มุ่งที่จะทำ "แบบสอบถาม”(status quaestionis) และรวบรวมประสบการณ์และข้อเสนอของพระสังฆราชในการประกาศและดำเนินชีวิตตามพระวรสารเกี่ยวกับครอบครัวในลักษณะที่น่าเชื่อถือได้; และ
            แผนงานที่สอง การประชุมสมัยสามัญของสมัชชา ในปี 2015 เพื่อแสวงหาแนวทางในการทำงานอภิบาลบุคคลและครอบครัว
           ปัจจุบันนี้ ได้เกิดความกังวลซึ่งไม่เคยได้ยินมาก่อนจนกระทั่งไม่กี่ปีที่ผ่านมา  ที่เป็นผลมาจากสถานการณ์ต่างๆ, จากความประพฤติปฏิบัติในการอยู่กินฉันสามีภรรยาที่กำลังแพร่หลายอยู่, ซึ่งไม่ได้นำไปสู่การรับศีลสมรส, และหลายครั้ง ขจัดความคิดนี้ไปเลย, ด้วยการเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างคนเพศเดียวกัน, ซึ่งไม่บ่อยนัก ที่พวกเขาได้รับอนุญาตให้เลี้ยงเด็กบุญธรรม. หลายสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่พระศาสนจักรควรใส่ใจด้านงานอภิบาล ได้แก่: การแต่งงานแบบนับถือศาสนาต่างกัน,ครอบครัวที่เลี้ยงบุตรคนเดียว,การมีภรรยาหลายคนในเวลาเดียวกัน,การแต่งงานที่มีปัญหาสินสอดทองหมั้นตามมา, หลายครั้ง การแต่งงานกลายเป็นเนทาอ
ราคาค่าตัวของผู้หญิงคนหนึ่ง;ระบบวรรณะ, วัฒนธรรมของการขาดความผูกมัดตนและสมมติฐานว่า พันธะการแต่งงานเป็นเรื่องชั่วคราว; เป็นรูปแบบต่างๆที่เรียกร้องเพื่อสิทธิสตรีเป็นศัตรูกับพระศาสนจักร,การอพยพย้ายถิ่นฐานและการกำหนดคำนิยามเกี่ยวกับครอบครัว,พหุนิยมเชิงสัมพัทธภาพครอบครัว;อิทธิพลของสื่อต่อวัฒนธรรมประชานิยมในเรื่องการแต่งงานและชีวิตครอบครัว,  ภายใต้แนวโน้มของความคิดที่จะเสนอเป็นกฎหมาย ซึ่งลดคุณค่าของความคิดของความยั่งยืนและความซื่อสัตย์ในพันธะการแต่งงาน; เพิ่มความคิดเกี่ยวกับการอุ้มครรภ์ (การอุ้มบุญ)แทนมารดา(ครรภ์ให้เช่า); และการตีความใหม่เกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นสิทธิมนุษยชน.  ความเชื่อในศีลสมรสและพลังเยียวยาของศีลอภัยบาป ภายในพระศาสนจักร,ที่แสดงเครื่องหมายของความอ่อนแอหรือการปล่อยตามอารมณ์โดยสิ้นเชิง
ดังนั้น     เราสามารถเข้าใจอย่างดีถึงความเร่งด่วนที่สมณะชั้นสูงทั่วโลก ได้รับเรียกให้เข้าประชุม ให้มาสืบทอดเจตนารมณ์ของนักบุญ
เปโตรเกี่ยวกับความท้าทายเหล่านี้. เช่น ด้วยการเรียกให้คิดถึงข้อเท็จจริง ที่เป็นผลของสถานการณ์ปัจจุบัน, เด็กและเยาวชนหลายคนจะไม่เคยเห็นบิดามารดาของพวกเขารับศีลศักดิ์สิทธิ์, แล้วเราจะเข้าใจข้อท้าทายให้ประกาศพระวรสารว่ามีความเร่งด่วนมากเพียงใด.  ซึ่งสามารถเห็นในเกือบทุกส่วนของ “หมู่บ้านโลก” (“global village”.)  เพื่อสอดคล้องกับแนวคิดที่เข้ากับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน  คือการยอมรับอย่างกว้างขวางของกาสอนเกี่ยวกับเมตตาของพระเจ้า และความห่วงใยที่มีต่อผู้ที่ประสบความทุกข์เยี่ยงผู้ขาดโอกาสของสังคม,ในโลกและในสถานการณ์ที่เป็นอยู่. ด้วยเหตุนี้ ความคาดหวังที่มีอยู่มากมาย ต้องการตัดสินใจที่จะทำตามแนวคิดเชิงอภิบาลเกี่ยวกับครอบครัว. สมัชชาพระสังฆราชจะไตร่ตรองให้เห็นถึงประเด็นเหล่านี้เพราะเป็นเรื่องจำเป็นและเร่งด่วนมาก เป็นการแสดงเมตตาธรรมตามหน้าที่ของพระสังฆราชที่มีต่อครอบครัวมนุษย์ทั้งมวลที่ได้รับมอบหมายให้
II. พระศาสนจักรและพระวรสารเกี่ยวกับครอบครัว
มีการประกาศข่าวดีเกี่ยวกับความรักของพระเจ้าแก่ทุกคนที่มีประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับคู่สมรสและการรวมเป็นหนึ่งกัน อันจะเปิดรับบุตรของขวัญ, ซึ่งเป็นประชาคมครอบครัว. ขอเสนอคำสอนเกี่ยวกับความเชื่อด้วยท่าทีที่ชัดเจนและทรงประสิทธิภาพ. เพื่อตรงใจและ แปรสภาพเรื่องนี้ไปตามพระประสงค์ของพระเจ้า,ที่สำแดงในพระเยซู
คริสตเจ้า
             การอ้างแหล่งที่มาของพระคัมภีร์เกี่ยวกับการแต่งงานและครอบครัวในเอกสารฉบับนี้เป็นการอ้างอิงที่จำเป็น.  เช่นเดียวกับที่เป็นจริงสำหรับเอกสารจากอำนาจการสั่งสอนของพระศาสนจักรที่ถูกจำกัดกับเอกสารที่เป็นสากล,รวมทั้งบางตำราจากสมณกระทรวงเพื่อครอบครัว .บรรดาผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นพระสังฆราชจะจัดทำส่วนที่เหลือ  และกล่าวอ้างอิงเอกสารจากการประชุมพระสังฆราชเอง
 ในทุกยุคสมัย,และในหลายวัฒนธรรมต่างๆมากมาย, คำสอนขององค์ชุมพามีความชัดเจน และไม่ขาดคำพยานที่เป็นรูปธรรมของผู้มีความเชื่อเลย ชายและหญิง- ในสภาวะแวดล้อมต่างๆที่ดำเนินชีวิตตามพระวรสารของครอบครัวว่าเป็นของขวัญทรงค่า สำหรับชีวิตและบุตรของพวกเขา. การอุทิศตนเพื่อการประชุมวิสามัญครั้งหน้า ได้รับแรงบันดาลใจและการสนับสนุนจากความปรารถนาที่จะสื่อสารนี้กับคำเชิญชวนที่ดีนี้,ด้วยหวังว่า “ทรัพย์แห่งการเผยแสดงที่มอบหมายกับพระศาสนจักรจะเติมเต็มหัวใจของแต่ละบุคคลมากขึ้น”(DV,26)
แผนการของพระเจ้าพระผู้สร้างและพระผู้ไถ่
                  ความงดงามของสารพระคัมภีร์เกี่ยวกับครอบครัวมีรากฐานจากการสร้างชายและหญิงตามภาพลักษณ์ของพระเจ้า และให้มีความคล้ายคลึงกับพระเจ้า (เทียบ ปฐก.  1:24-31 ; 2:4-25).      คู่สมรสที่ผูกมัดเข้าด้วยกันโดยพันธะศีลศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่อาจลบล้างได้  พวกเขามีประสบการณ์ความงดงามของความรัก, , ความเป็นพ่อ ,ความเป็นแม่ , และศักดิ์ศรีสูงสุดของการมีส่วนร่วมด้วยวิธีนี้ ในการเนรมิตสร้าง
ของพระเจ้าด้วย
       ในของขวัญของผลของการรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน,พวกเขาต้องรับผิดชอบในการเลี้ยงดูบุตร และให้การศึกษาพวกเขาเพื่ออนาคตของมนุษยชาติ.  อาศัยการให้กำเนิดบุตร,ชายและหญิง เติมเต็มความเชื่อเรื่องกระแสเรียกของการเป็นผู้ร่วมมือของพระเจ้าในการปกป้องการสร้างและการเจริญเติบโตของครอบครัวมนุษย์.
           (พระสันตะปาปา) นักบุญยอห์นปอลที่ 2 ทรงเห็นมุมมองนี้ในสมณสาส์น “ครอบครัวคริสตชนในโลกปัจจุบัน” (Familiaris  Consortio) : "พระเจ้าตรัสว่า “เรา จงสร้างมนุษย์ ขึ้นตามภาพลักษณ์ของเรา” (เทียบ ปฐก. 1:26 , 27) : ทรงเรียกเขาให้การดำรงอยู่อาศัยความรัก  ในเวลาเดียวกันพระองค์ทรงเรียกเขาเพื่อรัก . พระเจ้าทรงเป็นความรัก (เทียบ 1 ยน. 4: 8 ) และในพระองค์เอง พระองค์ทรงพระชนม์ในสภาพธรรมล้ำลึกแห่งความรักระหว่างความเป็นหนึ่งเดียวกันที่รักกันเยี่ยงพระบุคคล เมื่อทรงสร้างมนุษย์ทั้งชายและหญิงตามภาพลักษณ์ของพระองค์และทะนุบำรุงสภาพนั้นใหคงอยู่เสมอแล้ว พระองค์ก็ยังได้ทรงกำหนดพระกระแสเรียกพร้อมทั้งความสามารถและจิตสำนึกรับผิดชอบในตัวเขา ให้เขารักและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
 (สมณสาส์นพระศาสนจักรในโลกสมัยใหม่-GAUDIUM  et SPES , 12). ดังนั้น ความรักจึงเป็นพระกระแสเรียกขั้นพื้นฐานและเป็นองค์ประกอบของมนุษย์แต่ละคน(FC,11)
            พระบุตรของพระเจ้า ,พระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ (เทียบ ยน. 1.14) ในครรโภทรของพระนางมารีย์พรหมจารี, ทรงพระชนม์ชีพและเจริญพระชนม์ในครอบครัวนาซาเร็ธ และประทับในงานสมรสที่หมู่บ้านคานา,ที่พระองค์ทรงเพิ่มความสำคัญแก่งานเลี้ยงด้วยการทำ “เครื่องหมายอัศจรรย์” ครั้งแรก (เทียบ ยน.2.1-11). ในความชื่นชมยินดีนั้น พระองค์เสด็จไปร่วมงานในครอบครัวของบรรดาศิษย์ (เทียบ มก.1.29-31 ; 2:13-17 ) ของพระองค์และทรงปลอบโยนครอบครัวที่ถูกปลิดชีพครอบครัวของพระสหายของพระองค์ในหมู่บ้านเบทานี (เทียบ  ลก. 10:38-42;ยน.11:1-44)
                 พระเยซูคริสตเจ้าทรงฟื้นฟูความงดงามของศีลสมรส, โดยเสนอแผนการของพระเจ้าอีกครั้ง ที่เป็นแผนการที่ถูกทอดทิ้งอันเนื่องมาจากจิตใจแข็งกระด้างของมนุษย์. แม้จะอยู่ในประเพณีของประชากรอิสราเอลก็ตาม (เทียบ มธ. 5:31-32 ; 19:3 -12 ; มก. 10:1-12 ; ลก. 16:18 ). การกลับมาที่จุดเริ่มต้นนั้น, พระเยซูเจ้าทรงสอนเรื่องความสามัคคีและความซื่อสัตย์ของสามีและภรรยา, ปฏิเสธและทอดทิ้งบุตรและทำผิดประเวณี
แน่นอน อาศัยความงดงามอย่างพิเศษสุดของความรักของมนุษย์ – มีการเฉลิมฉลองในท่าทีที่เด่นชัดมากขึ้น,เป็นแรงบันดาลใจจากบทเพลงซาโลมอน,และพันธะแห่งศีลสมรสการเรียกร้อง –  และถูกปกป้องโดยบรรดาประกาศกเช่น โฮเชยา  (เทียบ โฮเชยา 1:2 3.3) และมาลาคี (เทียบ มลค. 2:13-16 ) - . พระเยซูเจ้าทรงยืนยันศักดิ์ศรีดั้งเดิมของ
ความรักในชีวิตสมรสของชายและหญิง

        คำสอนของพระศาสนจักรเกี่ยวกับครอบครัว
                ครอบครัวอยู่ในชุมชนคริสตชนตั้งแต่แรก ครอบครัวคือ “พระศาสนจักรภายในบ้าน”(domestic church-Ecclesia domestica).  (เทียบ คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก- CCC, 1656 ) : ใน “หลักการเกี่ยวกับครอบครัว” ของพระโอวาทเกี่ยวกับพันธสัญญาใหม่,ครอบครัวยิ่งใหญ่ของโลกโบราณ เป็นสิ่งเดียวกับสถานที่ของความสมานฉันท์ที่ลึกซึ้งระหว่างสามีและภรรยา,ระหว่างบิดามารดาและบุตร,ระหว่างคนรวยกับคนจน (เทียบ อฟ. 5:21-6:9 ; คส. 3:18-4:01 ; 1 ทธ. 2:8 -15 ; ทต. 2:1-10 ; 1 ปต. 2:13-3:7 ; เทียบจดหมายถึงฟิเลโมน). โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จดหมายถึงชาวเอเฟซัสที่สอนว่าความรักระหว่างสามีภรรยาเป็น
“ธรรมล้ำลึกที่ยิ่งใหญ่”  ที่ทำให้ความรักของพระคริสตเจ้าและใน
พระศาสนจักร (เทียบ อฟ. 5:31-32 )
        หลายศตวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคสมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน พระศาสนจักรไม่ล้มเหลวที่ยังคงสอนและพัฒนาข้อความเชื่อเกี่ยวกับครอบครัวและชีวิตแต่งงาน เพื่อวางพื้นฐานไว้. คำกล่าวที่ดีที่สุดอันหนึ่งที่การประชุมสภาสังคายนาวาติกันที่สองในสังฆธรรมนูญว่าด้วย
พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ เสนอว่าเป็นปัญหาที่เร่งด่วน, โดยใช้บทหนึ่งทั้งหมดเพื่อส่งเสริมศักดิ์ศรีของการแต่งงานและครอบครัว เท่าที่เห็นในคำอธิบายคุณค่าของการแต่งงานและครอบครัวสำหรับสังฆธรรมนูญเกี่ยวกับสังคมว่า: "ครอบครัวอันเป็นสถานที่คนหลายรุ่นมาพบปะกัน ช่วยเหลือกัน มีความฉลาดยิ่งขึ้นกับช่วยหาทางให้สิทธิของบุคคลประสานเข้ากับความต้องการอื่นๆในชีวิตสังคม ครอบครัวจึงเป็นรากฐานของสังคม” (GS 52) .  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งที่น่าประทับใจคือ การเรียกร้องชีวิตจิตวิญญาณที่เน้นพระพระคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลางในชีวิตแห่งความเชื่อของคู่สมรส"  “ให้คู่สมรสเอง,ทำตัวเองให้เป็นภาพลักษณ์ของพระเจ้าทรงชีวิตและชื่นชมยินดีกับศักดิ์ศรีของความเป็นบุคคล,ที่จะเข้าร่วมกับอีกคนหนึ่งในความรักที่ เท่ากัน ความผสมผสานด้านจิตใจและการทำงานของความศักดิ์สิทธิ์ร่วมกัน. ดังนั้น การติดตามพระเยซูคริสตเจ้าที่ทรงเป็นหลักการของชีวิต,  โดยการเสียสละและความชื่นชมยินดีของพระกระแสเรียกและอาศัยความรักที่ซื่อสัตย์ของพวกเขา, คู่สมรสจึงสามารถเป็นพยานของธรรมล้ำลึกแห่งความรักที่พระเยซูเจ้าทรง เผยแก่โลก ด้วยการสิ้นพระชนม์และทรงกลับคืนพระชนมชีพอีกครั้งหนึ่ง” (GS,52)
           หลังจากการประชุมสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ผู้สืบทอดตำแหน่งของนักบุญเปโตร มีคำสอนเกี่ยวกับชีวิตสมรสและครอบครัวมากมาย. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ที่ทรงเสนอพระสมณสาส์นสากล เรื่องชีวิตมนุษย์ (Encyclical Humanae Vitae)  ซึ่งมีหลักการและแนวทางปฏิบัติที่เฉพาะเจาะจง.  ด้วยเหตุนี้ ในพระสมณสาส์นเตือนใจเรื่องครอบครัวคริสตชนในโลกปัจจุบัน (Familiaris  Consortio) นักบุญยอห์น ปอลที่สอง ทรงยืนยันที่จะเสนอแผนการของพระเจ้าในความจริง พื้นฐานเกี่ยวกับความรักในชีวิตแต่งงานและ ครอบครัว: "แหล่งเดียวที่จะเอื้ออำนวยการอุทิศตัวดังกล่าวให้เป็นไปได้ตามความจริงของมันได้อย่างสมบูรณืก็คือ สถาบันการสมรส หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ คำสัญญาของความรักระหว่างสามีภรรยา หรือการเลือกสรรซึ่งชายและหญิงที่รู้ตัวและมีอสิระ สมัครใจดำเนินชีวิตและความรักด้วยความสนิทสนมที่ลึกซึ้ง ผู้สร้างความสัมพันธ์ประเภทนี้ก็คือพระเจ้าเอง” (เทียบ GS,48)  ด้วยเหตุผลข้อนี้ มนุษย์จึงจะเข้าใจความหมายอันแท้จริงของอันแท้จริงของความสัมพันธ์นั้น การตั้งสถาบันการสมรสมานั้น ไม่ใช่เกิดจากการแทรกแซงอันเกินควรของสังคมหรอืของผู้มีอำนาจหน้าที่ และก็ไม่ใช่การกำหนดรูปแบบที่บังคับจากภายนอก แต่การตั้งสถาบันนี้เกิดจากข้อเรียกร้องแห่งความรักฉันสามีภรรยาซึ่งต้องการจะแสดงตัวอย่างเปิดเผยว่าเป็นแบบรักเดียวใจเดียวและเฉพาะคู่ เพื่อจะดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับแผนการของพระผู้สร้างอย่างพิถีพิถัน อย่างไรก็ดี ความสอดคล้องนี้ไม่ไดจำกดัอิสระภาพของคนให้น้อยลงเลย แต่กลับป้องกันไม่ให้อิสรภาพตกเป็นแต่เพียงความคิดส่วนตัวหรือเป็นไปตามกระแสความคิดของสังคม และยังบันดาลให้อิสรภาพนั้นมีส่วนร่วมกับพระปรีชาญาณ” (FC, 11).
 คำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกเข้ากับมุมมองพื้นฐานของคำสอนนี้ "พันธสัญญาการแต่งงานซึ่งชายและหญิงสร้างชีวิต และความรักร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างเขาทั้งสองนั้น พระผู้สร้างได้ตั้งขึ้นและได้มอบให้เป็นธรรมบัญญัติเฉพาะ ได้ตั้งขึ้นมาตามธรรมชาติของมัน เพื่อความดีของคู่สามีภรรยา อย่างไรก็ดี  เพื่อให้กำเนิดและให้การศึกษาอบรมลูกหลาน พระคริสตเจ้ายกการแต่งงานระหว่างผู้รับศีลล้างบาปไปสู่ศักดิ์ศรีแห่งศีลศักดิ์สิทธิ์ (เทียบ สภาสังคายนาวาติกันที่ 2, พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้,,48,กฎหมายพระศาสนจักร,1055,คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก,1660).
 หลักคำสอนที่นำเสนอทั้งหลักการเทววิทยา และพฤติกรรมทางจริยธรรมในการสอนคำสอน,พัฒนาภายใต้หัวข้อสองประการ : ศีลสมรส ( ข้อ 1601-1658 ) และพระบัญญัติประการที่หก (ข้อ 2331-2391 ). บทอ่านที่น่าสนใจของตอนเหล่านี้ในการสอนคำสอน เพื่อปรับความเข้าใจข้อความเชื่อให้ทันสมัย, ซึ่งสนับสนุนงานของพระศาสนจักรในการเผชิญกับการท้าทายสมัยปัจจุบัน. ศาสนบริการด้านงานอภิบาลพบแรงบันดาลใจในความเจริงของการแต่งงานที่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผนการของพระเจ้า, ที่ได้สร้างมนุษย์ชายและหญิง และเมื่อถึงเวลาที่กำหนดได้เผยแสดงความสมบูรณ์ของความรักฉันสามีภรรยาในพระเยซูเจ้าแก่ระดับศีลศักดิ์สิทธิ์. การแต่งงานแบบคริสตชนพบในเอกฉันท์ที่ถูกมอบหมายด้วยผลของศีลเอง เช่น ความดีและหน้าที่ของคู่สมรส. ในเวลาเดียวกัน การแต่งงานไม่ได้รับการยกเว้นจากผลของบาป ( เทียบ ปฐก. 3.1-24),ซึ่งอาจก่อให้เกิดแผลลึกและการทำลายศักดิ์ศรีของศีลศักดิ์สิทธิ์
สมณสาส์นล่าสุด “แสงสว่างแห่งความเชื่อ” (Lumen Fidei-LF) ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส, กล่าวถึงครอบครัว พร้อมกับไตร่ตรองวิธีที่ความเชื่อเผยให้เห็น"ความเชื่อแสดงให้เราเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประชากรนั้นจะมั่นคงเช่นไร เมื่อพระเจ้าทรงประทับอยู่ท่ามกลางพวกเขา” (LF , 50) "จุดแรกที่ความเชื่อส่ส่องสว่างเมืองของมนุษย์คือครอบครัว. ข้าพเจ้าคิดถึงความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวระหว่างชายและหญิงในการแต่งงาน. การสมรสที่เกิดจากความรักเป็นเครื่องหมายถึงการยอมรับความดีงามในความแตกต่างทางเพศ ซึ่งคู่สมรสสามารถเป็นเนื้อเดียวกัน (เทียบ ปฐก. 2:24 ) และสให้กำเนิดชีวิตใหม่ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความดีงาม ปรีชาญาณและแผนการความรักของพระเจ้า.  เมื่อยึดมั่นในความรักนี้ ชายและหญิงจึงสามารถให้คำสัญญาในความรักซึ่งมีต่อกันและกันด้วยการกระทำที่ผูกมัดชีวิตทั้งชีวิตของพวกเขาและสะท้อนถึงลักษณะต่างๆมากมายของความเชื่อ. คำสัญญาที่จะรักตลอดไปนั้นย่อมเป็นไปได้ เมื่อเรามองเห็นแผนการอันยิ่งใหญ่กว่าความคิดและการกระทำของเราเอง เป็นแผนการที่สนับสนุนค้ำจุนเราและทำให้เรายอมมอบอนาคตของเราทั้งหมดแก่ผู้ที่เรารัก”   (LF , 52) "ความเชื่อมิใช่ที่หลบภัย  ซึ่งไม่ทำให้ผิดหวัง ความเชื่อมิใสช่ที่หลบภัยสำหรับผู้ขลาดกลัว แต่เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มพูนชีวิตของเราไม่มีใจเสาะ แต่ บางสิ่งบางอย่าง  ความเชื่อจะทำให้เราตระหนักถึงการเรียกที่ยิ่งใหญ่ คือ กระแสดเรียกแห่งความรัก  ความเชื่อทำให้เรามั่นใจว่า ความรักนี้ไว้วางใจได้และควรค่าที่จะโอบรับไว้ เพราะตั้งอยู่บนความซื่อสัตย์ของพระเจ้าซึ่งมั่นคงเข้ม
แข็งกว่าความอ่อนแอของเรา”(LF,53)


III.คำถาม
      ให้พระศาสนจักรท้องถิ่นตอบคำถามต่อไปนี้อย่างกระตือรือร้น เพื่อเตรียมเอกสารเพื่อการประชุมสมัยวิสามัญของสมัชชาพระสังฆราช, ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศพระวรสารในบริบทของความท้าทายที่ครอบครัวเผชิญหน้าอยู่ในปัจจุบันนี้.

1. การเผยแพร่คำสอนเกี่ยวกับครอบครัวนำมาจากข้อพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์และอำนาจการสอนของพระศาสนจักร,
ก) ประชาชนเข้าใจคำอธิบายถึงคำสอนเกี่ยวกับคุณค่าของครอบครัว ที่ปรากฎในพระคัมภีร์,พระสมณสาส์นเตือนใจเรื่องครอบครัวคริสตชนในโลกปัจจุบัน(Familiaris   Consortio) และเอกสารของอำนาจการสอนของพระศาสนจักรหลังสังคายนาวาติกันที่ 2  อย่างไรบ้างในปัจจุบัน
- จัดการอบรมประชาชนของเราเกี่ยวกับคำสอนของพระศาสนจักรเกี่ยวกับชีวิตครอบครัวอะไรบ้าง
ข) ในกรณีเหล่านี้ ที่คำสอนของพระศาสนจักรเป็นที่รู้จักกันแล้ว  เป็นที่ยอมรับอย่างเต็มที่ไหม หรือ
-มีความยากลำบากไหมในการนำคำสอนเหล่านี้ไปปฏิบัติ?
-ถ้าเป็นเช่นนั้น มีความยากลำบากอะไรบ้าง?
ค)พระศาสนจักรแพร่คำสอนของพระศาสนจักรในโครงการอภิบาลระดับชาติ,ระดับสังฆมณฑลและระดับชุมชนวัดอย่างไรบ้าง?
-จัดการสอนคำสอนเกี่ยวกับครอบครัวอะไรบ้าง?
ง) มีขอบเขตอะไร - และมุมมองอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง – ทำให้คำสอนนี้เป็นที่รู้จัก,ยอมรับ, ถูกปฏิเสธ และ / หรือ ถูกวิจารณ์ในมุมมองต่างๆภายนอกพระศาสนจักร
-ปัจจัยทางวัฒนธรรมอะไรบ้างที่ขัดขวางการยอมรับคำสอนเกี่ยวกับครอบครัวของพระศาสนจักรอย่างเต็มที่

2. การแต่งงานตามกฎธรรมชาติ
ก) ความคิดเกี่ยวกับกฎธรรมชาติอะไรบ้าง ที่เป็นเรื่องวัฒนธรรมของสังคม:ในสถาบันต่างๆ, วงการการศึกษา,วงการวิชาการและในคนทั่วไป?
-นำความคิดด้านมานุษยวิทยาอะไร ที่อยู่ภายใต้พื้นฐานตามธรรมชาติของครอบครัว?

ข) ความคิดเกี่ยวกับกฎธรรมชาติ ในเรื่องการรวมเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างชายและหญิง ได้รับการยอมรับร่วมกันเหมือนยอมรับเรื่องศีลล้างบาปโดยทั่วไปไหม?
ค) ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของกฎธรรมชาติในเรื่องการเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างชายและหญิง ที่ถูกท้าทายอย่างไรในแง่ของการสร้างครอบครัวอย่างไร
-   จะเสนอและพัฒนาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของกฎธรรมชาติในสถาบันต่างๆด้านพลเรือนและพระศาสนจักรอย่างไร?

ง) ในหลายกรณีที่คาทอลิกที่ไม่ปฏิบัติศาสนกิจแล้วหรือผู้ที่ไม่เชื่อ มาขอเข้าจารีตพิธีศีลสมรส,  จงอธิบายถึงข้อท้าทายด้านงานอภิบาลนี้มา
เกี่ยวข้องอย่างไร?
3) การดูแลด้านอภิบาลของครอบครัวในการประกาศพระวรสาร
ก) ประสบการณ์อะไรเกิดขึ้นในหลายทศวรรษที่ผ่านมาเกี่ยวกับ
การเตรียมเข้าพิธีสมรส?
-    ความพยายามอะไรที่กระตุ้นงานประกาศพระวรสารของคู่สมรสและของครอบครัว?
-    ความตระหนักว่าครอบครัวเป็น “พระศาสนจักรภายในบ้าน” ที่ควรได้รับการส่งเสริมอย่างไร ?
ข) คุณประสบความสำเร็จอย่างไรในการใช้ท่าทีการภาวนาภายในครอบครัว      ซึ่งทำให้อดทนต่อการความซับซ้อนของชีวิตและวัฒนธรรมในปัจจุบัน
ค) ในวิกฤตของชนรุ่นปัจจุบัน, ครอบครัวคริสตชนสามารถเติมเต็มกระแสเรียกของพวกเขาในการถ่ายทอดความเชื่อนี้อย่างไร
ง) พระศาสนจักรท้องถิ่นและขบวนการต่างๆเกี่ยวกับชีวิตจิตวิญญาณของครอบครัว สามารถสร้างวิธีการแสดงออกที่เป็นแบบอย่างได้อย่างไร
จ) คู่สมรสและครอบครัวมีส่วนร่วมเฉพาะอะไร เพื่อเผยแพร่ความคิดแบบองค์รวมที่น่าเชื่อถือได้ของคู่สมรสและครอบครัวคริสตชนในปัจจุบัน?
ฉ) งานอภิบาลอะไรที่พระศาสนจักรจัดทำอยู่ เพื่อสนับสนุนคู่สมรสในการอบรม และสำหรับคู่สมรสที่อยู่ในสถานการณ์วิกฤต

4.งานอภิบาลในสถานการณ์การแต่งงานที่ยุ่งยาก
ก)    การอยู่กินฉันสามีภรรยา เป็นสภาพความเป็นจริงทางอภิบาลในวัดของคุณไหม
 -มีจำนวนการอยู่กินฉันสามีภรรยากี่เปอร์เซนต์
ข)    มีการรวมเป็นหนึ่งเดียวกันแบบหลบๆซ่อนๆ ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับทั้งด้านศาสนาและด้านกฎหมายไหม
ค)    คู่สมรสที่แยกกันอยู่และคู่สมรสที่หย่าร้างกัน และคู่สมรสที่ไม่ได้แต่งงานใหม่  เป็นสภาพความเป็นจริงทางอภิบาลในวัดของคุณไหม
-คุณสามารถคาดเดาคู่สมรสดังกล่าวมีจำนวนกี่เปอร์เซนต์ดังกล่าว
-คุณเกี่ยวข้องกับสถานการณ์นี้ในโครงการอภิบาลที่เหมาะสมอย่างไร
       ง) ในกรณีทั้งหมดข้างต้น ผู้ที่รับศีลล้างบาปดำเนินชีวิตใน     สถานการณ์ที่ผิดปกตินี้อย่างไร
-เราตระหนักถึงกรณีข้างต้นไหม
- พวกเขารู้สึกเฉยๆเท่านั้นไหม
-พวกเขารู้สึกว่า เป็นคนชายขอบหรือทนทุกข์จากการไม่ได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆไหม
จ) คนหย่าร้างและแต่งงานใหม่ตั้งคำถามอะไรกับพระศาสนจักร เกี่ยวข้องกับศีลมหาสนิทและศีลอภัยบาป?
-    บุคคลเหล่านั้นที่ประสบอสถานการณ์เหล่านี้ด้วยตนเอง หลายคนขอรับศีลเหล่านี้อย่างไร
ฉ) มีการทำให้การปฏิบัติตามกฎหมายพระศาสนจักรง่ายลงไหม ในการยอมรับการประกาศให้พันธะศีลสมรสเป็นโมฆะ  ทำให้ร่วมกันแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
-ถ้าใช่   คุณจะใช้รูปแบบใด

ช) ศาสนบริการยังใส่ใจกรณีเหล่านี้ไหม ? 
-  อธิบายเรื่องศาสนบริการด้านอภิบาลนี้
-โครงการเช่นนี้ยังมีอยู่ในระดับสังฆมณฑลและระดับชาติไหม
-พระเมตตาของพระเจ้าได้รับการประกาศแก่คู่สมรสที่แยกกันอยู่และคู่สมรสที่หย่าร้างกันและแต่งงานใหม่ไหม และ
พระศาสนจักรนำพระเมตตาของพระเจ้าไปปฏิบัติเพื่อสนับสนุน
พวกเขาในการเดินทางแห่งความเชื่ออย่างไร?
5. เกี่ยวกับการรวมเป็นหนึ่งของคนเพศเดียวกัน
ก) มีกฎหมายในประเทศของคุณ ที่ยอมรับให้สิทธิการรวมเป็นหนึ่งสำหรับคนเพศเดียวกัน และถือว่ามีสิทธิเสมอการแต่งงานไหม
ข) ทัศนคติอะไรของพระศาสนจักรท้องถิ่นและวัด ที่มีต่อรัฐมีทัศนคติอะไรต่อผู้ส่งเสริมสิทธิการรวมเป็นหนึ่งทางกฎหมายสำหรับคนเพศเดียวกัน และคนที่เกี่ยวข้องในการเป็นหนึ่งเดียวกันแบบนี้
ค)มีความใส่ใจด้านอภิบาลอะไรแก่คนที่ได้รับเลือกให้ดำเนินชีวิตร่วมกันในรูปแบบเหล่านี้
ง) ในกรณีของการรวมเป็นหนึ่งของคนเพศเดียวกัน ที่นำเด็กมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม
-ควรให้การอภิบาลอะไรเพื่อถ่ายทอดความเชื่อ
6. ให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่ผิดปกติ
ก) มีเด็กและวัยรุ่นจำนวนเท่าใดในกรณีเหล่านี้, เรื่องที่เด็กที่เกิดมาและสำหรับเด็กๆที่กิดมาและได้รับการเลี้ยงดูในครอบครัว
ที่แต่งงานถูกต้อง
ข) พ่อแม่ในสถานการณ์เหล่านี้ จะเข้าถึงพระศาสนจักรได้อย่างไร
- พวกเขาถามอะไรบ้าง
-พวกเขาขอรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เท่านั้นไหมหรือพวกเขาต้องการเรียนคำสอนและมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา
ค)วัดพยายามอย่างไรที่จะสนองความต้องการของพ่อแม่ของเด็กเหล่านี้เพื่อให้พวกเขาเรียนศาสนาคริสต์
ง)การรรับศีลศักดิ์สิทธิ์ในกรณีเหล่านี้อะไร ในกรณีเหล่านี้:เช่น การเตรียมตัว การจัดพิธีรับศีลและการให้คำแนะนำ

7.การเปิดรับคู่แต่งงานเพื่อชีวิต
ก)ความรู้อะไรที่คริสตชนมีในปัจจุบันเกี่ยวกับคำสอนของพระสมณสาสน์สากลว่าด้วยกฎเกณฑ์แห่งการคุมกำเนิดของชีวิตมนุษย์ ( Humanae Vitae) เกี่ยวกับความรับผิดชอบของ
บิดามารดา
-พวกเขาตระหนักเกี่ยวกับวิธีการที่ถูกทำนองคลองธรรม ในการประเมินวิธีวางแผน ครอบครัวไหม
- จะเสนอข้อมูลเชิงลึกหรือความหยั่งรู้ในการวางแผนครอบครัวไหม
ข) จะยอมรับคำสอนด้านศีลธรรมนี้ไหม
-มุมมองอะไร ที่เสนอความยุ่งยากที่สุดในสังคมส่วนใหญ่ของการยอมรับคำสอนนี้ของคู่สมรส
ค) วิธีธรรมชาติอะไรที่วัดส่งเสริม เพื่อช่วยให้คู่สมรสนำคำสอนในพระสมณสาสน์สากลว่าด้วยกฎเกณฑ์แห่งการคุมกำเนิดของชีวิตมนุษย์(Humanae Vitae)ไปปฏิบัติ ?
ง)คุณมีประสบการณ์อะไรเกี่ยวกับหัวข้อการรับศีลอภัยบาปและร่วมพิธีมิสซาขอบพระคุณ
จ)คำสอนของพระศาสนจักรแตกต่างกับการศึกษาเรื่องทางโลกเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง
ฉ)ทัศนคติเปิดรับมากขึ้นอย่างไรต่อการนำเด็กมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม
-ควรส่งเสริมการให้กำเนิดบุตรมากขึ้นอย่างไร
8. ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับแต่ละบุคคล
ก) พระเยซูคริสตเจ้าทรงเผยให้เห็นถึงธรรมล้ำลึกและ
กระแสเรียกของบุคคล
-ครอบครัวสามารถเป็นสถานที่ยกเว้นไม่ให้เกิดสิ่งนี้อย่างไร?
      ข) สถานการณ์ที่สำคัญอะไรในครอบครัวปัจจุบัน ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อบุคคลที่จะพบปะกับพระคริสตเจ้า ?
ค) ขอบเขตอะไรที่เป็นวิกฤติของความเชื่อ ที่มากระทบ
กับชีวิตครอบครัว?

9. ความท้าทายและข้อเสนออื่น ๆ
     ข้อท้าทายหรือข้อเสนออื่นๆอะไรบ้าง ที่เกี่ยวข้องกับ หัวข้อต่างๆในคำถามข้างต้น ที่คุณพิจารณาว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน  และเป็นประโยชน์?