บทสัมภาษณ์สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสในนิตยสารคณะสงฆ์เยสุอิต
นครรัฐวาติกัน, 20 กันยายน 2013 ( VIS )

         สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสได้ประทานบทสัมภาษณ์ที่ตีพิมพ์ในนิตยสารคณะสงฆ์เยสุอิตฉบับภาษาอิตาลี "ลา ชีวีลตา  คาตโตลิคา" (La Civilta Cattolica)  และนิตยสาร 16 ฉบับที่เป็นเครือข่ายกับคณะสงฆ์เยสุอิตทั่วโลก.  บทสัมภาษณ์เป็นผลมาจาก การพบปะเป็นส่วนบุคคลและการอภิปรายกว่า 6 ชั่วโมงระหว่างสมเด็จพระสันตะปาปากับคุณพ่อ อันโตนิโอ สปาดาดาโร (Fr. Antonio Spadaro) บรรณาธิการของ "Civilta Cattolica", ในช่วงเดือนสิงหาคม ณ บ้านพักรับรองซานตามาร์ตา

        บทสัมภาษณ์ยาวกว่า 30 หน้า สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสอย่างตรงไปตรงมาเกี่ยวกับพระองค์ท่าน รสนิยมด้านศิลปะและวรรณกรรม  ( Dostoyevsky และ Holderlin , Borges and Cervantes, Caravaggio และ Chagall) แต่ยังรวมถึง  "La Strada " Rossellini”ของเฟลลีนี่, "งานเลี้ยงของ Babette" โมสาร์ท และ "Tetralogy" ของวาคเนอร์ ) และประสบการณ์ของพระองค์ในคณะสงฆ์เยสุอิตและการเป็นพระอัครสังฆราชแห่งบัวโนสไอเรส. พระองค์เรียกพระองค์เองว่า  "คนบาป. นี่คือ คำนิยามที่ถูกต้องมากที่สุด. ไม่ใช่บุคคลแห่งสุนทรพจน์ คนรักวรรณกรรม พ่อเป็นคนบาป "


     เมื่อกล่าวถึงช่วงเวลาที่พระองค์ทรงเป็นเจ้าคณะแขวงของคณะสงฆ์เยสุอิต พระองค์ตรัสว่า “สิทธิอำนาจและการตัดสินใจอย่างรวดเร็วทำให้พ่อพบปัญหาร้ายแรงและถูกกล่าวหาว่าเป็นนักอนุรักษ์นิยมอย่างมาก”.  อย่างไรก็ตาม ในขณะที่เป็นพระอัครสังฆราช  ประสบการณ์นี้ช่วยให้พระองค์เข้าพระทัย ความสำคัญของการฟังทัศนคติของผู้อื่น "พ่อเชื่อว่า การให้คำปรึกษาเป็นสิ่งสำคัญมาก. ยกตัวอย่าง คณะพระคาร์ดินัลและสภาพระสังฆราชเป็นสถาบันที่สำคัญต่อการให้คำปรึกษาอย่างแท้จริง. อย่างไรก็ตาม ขอให้พวกเขามีรูปแบบที่เข้มงวดน้อยลง"

                   พระองค์ตรัสถึงวิธีการฝึกอบรมแบบเยสุอิต และโดยเฉพาะกระบวนการของการพิเคราะห์แยกแยะ เพราะสามารถทำให้พระองค์ทำศาสนบริการได้ดีขึ้น. “ยกตัวอย่าง หลายคนคิดว่า การเปลี่ยนแปลงและการปฏิรูปสามารถเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ. พ่อเชื่อว่า เรามักจะต้องใช้เวลาในการวางรากฐานสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่แท้จริงและมีประสิทธิภาพ... , ภูมิปัญญาของการพิเคราะห์แยกแยะช่วยให้พ้นจากความกำกวมที่จำเป็นเกี่ยวกับชีวิตและช่วยเราให้พบวิธีการที่เหมาะสมมากที่สุด ซึ่งไม่เคยเข้าได้กับเรื่องใหญ่โตและกระด้าง"
         สำหรับสมเด็จพระสันตะปาปา,พระศาสนจักรในปัจจุบันต้องการ "ความสามารถในการรักษาบาดแผลและให้ความอบอุ่นแก่หัวใจของสัตบุรุษ; ต้องการการปรับเปลี่ยนและความใกล้ชิดเป็นกันเอง. พ่อเห็นพระศาสนจักรเป็นโรงพยาบาลภาคสนามหลังสงคราม. ไม่มีประโยชน์ที่จะถามคนที่รับบาดเจ็บสาหัส เกี่ยวกับระดับความดันโลหิตและเกี่ยวกับระดับน้ำตาลในเลือด.  เขาต้องรักษาบาดแผลของเขา. เมื่อนั้นแหละเราก็จะสามารถพูดคุยได้ทุกเรื่อง. จงรักษาแผลเยียวยาแผล... และคุณจะต้องเริ่มต้นจากพื้นดิน...หลายครั้ง พระศาสนจักรกักตัวเองในสิ่งเล็กๆน้อยๆ ในกฎที่แสดงความใจแคบ.  สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการประกาศพระวรสาร
ครั้งแรก : พระเยซูคริสตเจ้าทรงช่วยให้ท่านรอด... แทนที่จะเป็น เพียงแค่พระศาสนจักรที่ให้การต้อนรับและคอยรับสิ่งต่างๆโดยการเปิดประตูไว้, ให้เราพยายามที่จะเป็นพระศาสนจักรที่ค้นหาเส้นทางใหม่ด้วย  ที่สามารถที่จะก้าวออกไปข้างนอก และไปหาคนที่ไม่ได้ร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณ หาคนที่ทิ้งศาสนาหรือใจเย็นชา"

                 ปัญหาที่ซับซ้อน เช่น การรักคนเพศเดียวกัน หรือสถานการณ์ของคาทอลิกที่หย่าร้างและแต่งงานใหม่, พระองค์ทรงยืนยันเกี่ยวกับความจำเป็นที่จะ "พิจารณาบุคคล. ที่นี่ เราเข้าไปในความเร้นลับของมนุษย์.  , พระเจ้าทรงเป็นเพื่อนกับบุคคลในชีวิต, และเราจะต้องเป็นเพื่อนกับพวกเขา, เริ่มจากสถานการณ์ของพวกเขา. มีความจำเป็นต้องเป็นเพื่อนกับพวกเขาด้วยความเมตตา "

             สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสเสริมว่า "คำสอนของพระศาสนจักรด้านจริยธรรมและข้อความเชื่อทั้งหมดไม่มีความสำคัญเท่ากัน” และ "ศาสนบริการเชิงอภิบาลของพระศาสนจักรไม่ได้ถูกหล่อหลอมกับการถ่ายทอดคำสอนที่ไม่เชื่อมต่อกับคำสอนที่ถูกกำหนดขึ้นมาอย่างหัวรั้น ... เราต้องไปหาสมดุลใหม่ ... เพราะข้อเสนอของพระวรสารต้องเรียบง่าย ลึกซึ้ง แผ่ไปมากขึ้น. มันมาจากข้อเสนอที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางศีลธรรม"


             การไตร่ตรองเกี่ยวกับบทบาทของสตรีใน พระศาสนจักร  พระองค์ทรงตอกย้ำว่า "ต้องการอัจฉริยะของสตรี ที่เราตัดสินใจว่าเป็นเรื่องสำคัญ. ความท้าทายในวันนี้คือ จะคิดเกี่ยวกับจุดยืนเฉพาะของสตรีที่อยู่ในที่มีการใช้สิทธิอำนาจของพระศาสนจักรสำหรับพื้นที่ต่างๆของพระศาสนจักร"

      หัวข้ออื่นที่ได้รับการพิจารณาระหว่างการสัมภาษณ์คือ ความสำคัญของการประชุมสภาสังคายยาวาติกัน ครั้งที่สองเป็นการ “อ่านพระวรสารอีกครั้งในแง่ของวัฒนธรรมร่วมสมัย" สมเด็จพระสันตะปาปาตรัสว่า "การประชุมสังคายนาวาติกันที่สองก่อให้เกิดขบวนการฟื้นฟูที่มาจากพระวรสารเดียวกัน. เกิดผลมหาศาลโดยเฉพาะเรื่องพิธีกรรม. งานปฏิรูปพิธีกรรมเป็นการให้บริการสัตบุรุษ  ในเรื่องการอ่านพระวรสารอีกครั้งจากสถานการณ์ประวัติศาสตร์ที่เป็นรูปธรรม. ใช่ มีการตีความพระวรสารเรื่องความต่อเนื่องและความไม่ต่อเนื่อง, แต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนคือ :พัลวัตของการอ่านพระวรสาร, การทำให้สารสำหรับวันนี้เป็นจริง- ซึ่งเป็นปกติของสังคนาวาติกันที่ 2  - เปลี่ยนแปลงไม่ได้อย่างแน่นอน"

               ในย่อหน้าสุดท้ายของบทสัมภาษณ์, สมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิสตรัสถึง  "สิ่งล่อใจที่จะแสวงหาพระเจ้าในอดีตหรือในอนาคตที่เป็นไปได้" และทรงตั้งข้อสังเกตว่า " พระเจ้าทรงแน่นอนมั่นคงในอดีตที่ผ่านมาเพราะเราสามารถมองเห็นรอยพระบาทได้. และพระเจ้ายังทรงอยู่ในอนาคตตามพระสัญญา. แต่พระเจ้า "ที่เป็นรูปธรรม” , ในวันนี้. ด้วยเหตุนี้ การบ่นไม่เคยช่วยให้เราแสวงหาพระเจ้าได้. เพราะคำบ่นในทุกวันนี้เกี่ยวกับโลกช่าง “ป่าเถื่อน” –  หลายครั้ง คำบ่นเหล่านี้จบลงด้วยการให้กำเนิดเพื่อปรารถนาที่จะกำหนดคำสั่งในการอนุรักษ์ให้เป็นเครื่องป้องกันภายในพระศาสนจักร. ไม่. เราจะพบปะกับพระเจ้าในโลกวันนี้"

           ท่านจะอ่านบทสัมภาษณ์เต็มในฉบับออนไลน์ของนิตยสารอเมริกัน (www.americanmagazine.org ) และยูเค-ความเชื่อเป็นพื้นของสหราชอาณาจักร ( www.thinkingfaith.org )