หลักการแก้ปัญหาที่เป็นธรรมสำหรับความขัดแย้งในประเทศซีเรีย
นครรัฐวาติกัน, 6 กันยายน 2013 ( VIS )


เมื่อวานนี้ พระอัครสังฆราชโดมินิค มัมแบร์ติ  (Dominique Mamberti) เลขาธิการกิจการต่างประเทศ ได้พบกับบรรดาทูตของสันตะสำนัก เพื่อแสดงความกังวลของสมเด็จพระสันตะปาปาและสำนักวาติกันเกี่ยวกับกรณีสถานการณ์ไม่สงบทั่วโลก โดยเฉพาะภูมิภาคตะวันออกกลางและโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศซีเรีย
 
พระสมณผู้ใหญ่ตั้งข้อสังเกตว่า สมเด็จพระสันตะปาปาทรงประณามความขัดแย้งในซีเรียต่อสาธารณชนในโอกาสต่างๆ. จนถึงขณะนี้พลเรือนกว่า 110,000 คน เสียชีวิต บาดเจ็บล้มตาย ก่อให้เกิดผู้ลี้ภัยสี่ล้านคนภายในประเทศ และการอพยพมากกว่าสองล้านคนเข้าไปในประเทศเพื่อนบ้าน  "การที่ต้องเผชิญกับข้อเท็จจริงของเรื่องนี้ ไม่มีใครสามารถเงียบอยู่ได้” ท่านกล่าวว่า "และสันตะสำนักหวังว่า สถาบันที่มีสิทธิอำนาจจะทำให้สถานการณ์กระจ่างชัดและผู้ที่รับผิดชอบจะออกมารับผิดชอบ "

พระอัครสังฆราช Mamberti ย้ำว่า   ต้องยุติการใช้ความรุนแรงคือ "ประการแรกสุด” และขอให้คู่กรณีไม่ให้ “ถูกครอบงำด้วยผลประโยชน์ของตัวเอง  แต่จะใช้ความกล้าหาญและการตัดสินใจใช้วิธีพบปะพูดคุยกันและะการเจรจาทางการทูต,เพื่อเอาชนะฝ่ายตรงข้ามที่มืดบอด", และคำวิงวอนที่สอสำหรับประชาคมโลก คือ  “ให้พยายามทุกวิถีทางที่จะส่งเสริมโดยไม่ชักช้า, ความริเริ่มที่ชัดเจนเพื่อสันติภาพในประเทศ  บนพื้นฐานของการเสวนาและการเจรจาทางการทูต”
 
ท่านเน้นย้ำความสำคัญของ "ความจำเป็นและความเร่งด่วนของการ เคารพสิทธิมนุษยชน" และ "ความจำเป็นเร่งด่วนสำหรับความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมสำหรับประชากรส่วนใหญ่" นอกจากนี้  ท่านขอบคุณสำหรับความเอื้ออาทรของรัฐบาลจำนวนมากที่ให้ความช่วยเหลือประชาชนซีเรียผู้ทุกข์ยาก

พระอัครสังฆราช Mamberti เน้นย้ำว่า ในส่วนพระศาสนจักรคาทอลิก มุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมทุกวิถีทาง  ไม่ว่าประชาชนนั้นจะเป็นคริสตชนหรือไม่ก็ตาม  สันตะสำนักเห็นความสำคัญของการวางแผนขั้นสุดท้ายสำหรับอนาคตของประเทศซีเรีย

หลักการทั่วไปที่ท่านเสนอสำหรับการแก้ปัญหาความขัดแย้งรวมถึงการมุ่งมั่นในการเจรจาระหว่างคู่กรณีและเพื่อสร้างความสมานฉันท์ของประชากรซีเรีย; รักษาความเป็นเอกภาพของประเทศ,ด้วยการหลีกเลี่ยงที่จะสร้างเขต (Zone) ต่างๆสำหรับผู้คนของสังคม, รวมถึงเอกภาพของประเทศ และรับรองบูรณภาพแห่งดินแดน

เลขาธิการยังกล่าวถึงความสำคัญของการที่ทุกกลุ่มจะรับรองอนาคตของประเทศซีเรียว่า ประเทศซีเรียจะมีที่สำหรับทุกคน  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชนกลุ่มน้อยรวมทั้งคริสตชนด้วย. ท่านกล่าวถึงความสำคัญของการเคารพสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพทางศาสนา, และท่านเน้นความสำคัญแบบเสมอภาคกันของความคิดรวบยอดเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง บนพื้นฐานของอิสรภาพของทุกชาติพันธุ์  หรือผู้นับถือศาสนา  พวกเขาล้วนเป็นพลเมืองที่มีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกัน ด้วยสิทธิและภาระหน้าที่ที่เสมอหน้ากัน

ท่านสรุปด้วยความกังวลเกี่ยวกับ  "การมีกลุ่มหัวรุนแรงในประเทศซีเรีย, บ่อยครั้งก่อตัวจากประเทศอื่น ๆ. ดังนั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องผลักดันให้ประชากรและกลุ่มต่อต้านและอยู่ห่างจากพวกหัวรุนแรง, ทำให้พวกนี้โดดเดี่ยวเพื่อเป็นการต่อต้านการก่อการร้ายอย่างเปิดเผยและชัดเจน "