แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

การตระเตรียมเอกสารสำหรับการประชุมสมัชชาพระสังฆราช
นครรัฐวาติกัน, 5 พฤศจิกายน 2013 ( VIS )


เราจัดพิมพ์ข้อความฉบับเต็มข้างล่างนี้เพื่อเป็นเอกสารเตรียมการประชุมสมัยวิสามัญของสมัชชาพระสังฆราชครั้งที่สาม:  "ความท้าทายด้านงานอภิบาลสำหรับครอบครัวในบริบทของการประกาศพระวรสาร."
1.สมัชชาสภาพระสังฆราช : ครอบครัวและการประกาศพระวรสาร.
พันธกิจของการเทศน์สอนพระวรสารแก่มนุษย์ทั้งหมด, ซึ่งองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงมอบหมายแก่บรรดาศิษย์โดยตรง, ให้สืบทอดงานนี้ในพระศาสนจักรตลอดประวัติศาสตร์. วิกฤติทางสังคมและทางจิตวิญญาณ,กำลังเป็นความท้าทายต่อพันธกิจการประกาศพระวรสารที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวที่เห็นได้ชัดในโลกปัจจุบัน, ศิลาสำหรับก่อสร้างทรงชีวิตของสังคมและชุมชนของพระศาสนจักร. ไม่เคยเป็นมาก่อนที่มีการประกาศพระวรสารเกี่ยวกับครอบครัวในบริบทนี้ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนมากขึ้น. เราไตร่ตรองความสำคัญของเรื่องนี้ให้เห็นข้อเท็จจริงที่ว่า สมเด็จพระสันตะปาปาจึงทรงตัดสินพระทัยที่จะเรียกประชุมสมัชชาพระสังฆราช, ซึ่งมี 2 แผนงาน ได้แก่

          ขั้นตอนแรก การประชุมสมัยวิสามัญในปี 2014, มุ่งที่จะทำ "แบบสอบถาม”(status quaestionis) และรวบรวมประสบการณ์และข้อเสนอของพระสังฆราชในการประกาศและดำเนินชีวิตตามพระวรสารเกี่ยวกับครอบครัวในลักษณะที่น่าเชื่อถือได้; และ
            แผนงานที่สอง การประชุมสมัยสามัญของสมัชชา ในปี 2015 เพื่อแสวงหาแนวทางในการทำงานอภิบาลบุคคลและครอบครัว
           ปัจจุบันนี้ ได้เกิดความกังวลซึ่งไม่เคยได้ยินมาก่อนจนกระทั่งไม่กี่ปีที่ผ่านมา  ที่เป็นผลมาจากสถานการณ์ต่างๆ, จากความประพฤติปฏิบัติในการอยู่กินฉันสามีภรรยาที่กำลังแพร่หลายอยู่, ซึ่งไม่ได้นำไปสู่การรับศีลสมรส, และหลายครั้ง ขจัดความคิดนี้ไปเลย, ด้วยการเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างคนเพศเดียวกัน, ซึ่งไม่บ่อยนัก ที่พวกเขาได้รับอนุญาตให้เลี้ยงเด็กบุญธรรม. หลายสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่พระศาสนจักรควรใส่ใจด้านงานอภิบาล ได้แก่: การแต่งงานแบบนับถือศาสนาต่างกัน,ครอบครัวที่เลี้ยงบุตรคนเดียว,การมีภรรยาหลายคนในเวลาเดียวกัน,การแต่งงานที่มีปัญหาสินสอดทองหมั้นตามมา, หลายครั้ง การแต่งงานกลายเป็นเนทาอ
ราคาค่าตัวของผู้หญิงคนหนึ่ง;ระบบวรรณะ, วัฒนธรรมของการขาดความผูกมัดตนและสมมติฐานว่า พันธะการแต่งงานเป็นเรื่องชั่วคราว; เป็นรูปแบบต่างๆที่เรียกร้องเพื่อสิทธิสตรีเป็นศัตรูกับพระศาสนจักร,การอพยพย้ายถิ่นฐานและการกำหนดคำนิยามเกี่ยวกับครอบครัว,พหุนิยมเชิงสัมพัทธภาพครอบครัว;อิทธิพลของสื่อต่อวัฒนธรรมประชานิยมในเรื่องการแต่งงานและชีวิตครอบครัว,  ภายใต้แนวโน้มของความคิดที่จะเสนอเป็นกฎหมาย ซึ่งลดคุณค่าของความคิดของความยั่งยืนและความซื่อสัตย์ในพันธะการแต่งงาน; เพิ่มความคิดเกี่ยวกับการอุ้มครรภ์ (การอุ้มบุญ)แทนมารดา(ครรภ์ให้เช่า); และการตีความใหม่เกี่ยวกับสิ่งที่ถือว่าเป็นสิทธิมนุษยชน.  ความเชื่อในศีลสมรสและพลังเยียวยาของศีลอภัยบาป ภายในพระศาสนจักร,ที่แสดงเครื่องหมายของความอ่อนแอหรือการปล่อยตามอารมณ์โดยสิ้นเชิง
ดังนั้น     เราสามารถเข้าใจอย่างดีถึงความเร่งด่วนที่สมณะชั้นสูงทั่วโลก ได้รับเรียกให้เข้าประชุม ให้มาสืบทอดเจตนารมณ์ของนักบุญ
เปโตรเกี่ยวกับความท้าทายเหล่านี้. เช่น ด้วยการเรียกให้คิดถึงข้อเท็จจริง ที่เป็นผลของสถานการณ์ปัจจุบัน, เด็กและเยาวชนหลายคนจะไม่เคยเห็นบิดามารดาของพวกเขารับศีลศักดิ์สิทธิ์, แล้วเราจะเข้าใจข้อท้าทายให้ประกาศพระวรสารว่ามีความเร่งด่วนมากเพียงใด.  ซึ่งสามารถเห็นในเกือบทุกส่วนของ “หมู่บ้านโลก” (“global village”.)  เพื่อสอดคล้องกับแนวคิดที่เข้ากับสภาพความเป็นจริงในปัจจุบัน  คือการยอมรับอย่างกว้างขวางของกาสอนเกี่ยวกับเมตตาของพระเจ้า และความห่วงใยที่มีต่อผู้ที่ประสบความทุกข์เยี่ยงผู้ขาดโอกาสของสังคม,ในโลกและในสถานการณ์ที่เป็นอยู่. ด้วยเหตุนี้ ความคาดหวังที่มีอยู่มากมาย ต้องการตัดสินใจที่จะทำตามแนวคิดเชิงอภิบาลเกี่ยวกับครอบครัว. สมัชชาพระสังฆราชจะไตร่ตรองให้เห็นถึงประเด็นเหล่านี้เพราะเป็นเรื่องจำเป็นและเร่งด่วนมาก เป็นการแสดงเมตตาธรรมตามหน้าที่ของพระสังฆราชที่มีต่อครอบครัวมนุษย์ทั้งมวลที่ได้รับมอบหมายให้
II. พระศาสนจักรและพระวรสารเกี่ยวกับครอบครัว
มีการประกาศข่าวดีเกี่ยวกับความรักของพระเจ้าแก่ทุกคนที่มีประสบการณ์ส่วนตัวเกี่ยวกับคู่สมรสและการรวมเป็นหนึ่งกัน อันจะเปิดรับบุตรของขวัญ, ซึ่งเป็นประชาคมครอบครัว. ขอเสนอคำสอนเกี่ยวกับความเชื่อด้วยท่าทีที่ชัดเจนและทรงประสิทธิภาพ. เพื่อตรงใจและ แปรสภาพเรื่องนี้ไปตามพระประสงค์ของพระเจ้า,ที่สำแดงในพระเยซู
คริสตเจ้า
             การอ้างแหล่งที่มาของพระคัมภีร์เกี่ยวกับการแต่งงานและครอบครัวในเอกสารฉบับนี้เป็นการอ้างอิงที่จำเป็น.  เช่นเดียวกับที่เป็นจริงสำหรับเอกสารจากอำนาจการสั่งสอนของพระศาสนจักรที่ถูกจำกัดกับเอกสารที่เป็นสากล,รวมทั้งบางตำราจากสมณกระทรวงเพื่อครอบครัว .บรรดาผู้เข้าร่วมประชุมที่เป็นพระสังฆราชจะจัดทำส่วนที่เหลือ  และกล่าวอ้างอิงเอกสารจากการประชุมพระสังฆราชเอง
 ในทุกยุคสมัย,และในหลายวัฒนธรรมต่างๆมากมาย, คำสอนขององค์ชุมพามีความชัดเจน และไม่ขาดคำพยานที่เป็นรูปธรรมของผู้มีความเชื่อเลย ชายและหญิง- ในสภาวะแวดล้อมต่างๆที่ดำเนินชีวิตตามพระวรสารของครอบครัวว่าเป็นของขวัญทรงค่า สำหรับชีวิตและบุตรของพวกเขา. การอุทิศตนเพื่อการประชุมวิสามัญครั้งหน้า ได้รับแรงบันดาลใจและการสนับสนุนจากความปรารถนาที่จะสื่อสารนี้กับคำเชิญชวนที่ดีนี้,ด้วยหวังว่า “ทรัพย์แห่งการเผยแสดงที่มอบหมายกับพระศาสนจักรจะเติมเต็มหัวใจของแต่ละบุคคลมากขึ้น”(DV,26)
แผนการของพระเจ้าพระผู้สร้างและพระผู้ไถ่
                  ความงดงามของสารพระคัมภีร์เกี่ยวกับครอบครัวมีรากฐานจากการสร้างชายและหญิงตามภาพลักษณ์ของพระเจ้า และให้มีความคล้ายคลึงกับพระเจ้า (เทียบ ปฐก.  1:24-31 ; 2:4-25).      คู่สมรสที่ผูกมัดเข้าด้วยกันโดยพันธะศีลศักดิ์สิทธิ์ที่ไม่อาจลบล้างได้  พวกเขามีประสบการณ์ความงดงามของความรัก, , ความเป็นพ่อ ,ความเป็นแม่ , และศักดิ์ศรีสูงสุดของการมีส่วนร่วมด้วยวิธีนี้ ในการเนรมิตสร้าง
ของพระเจ้าด้วย
       ในของขวัญของผลของการรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน,พวกเขาต้องรับผิดชอบในการเลี้ยงดูบุตร และให้การศึกษาพวกเขาเพื่ออนาคตของมนุษยชาติ.  อาศัยการให้กำเนิดบุตร,ชายและหญิง เติมเต็มความเชื่อเรื่องกระแสเรียกของการเป็นผู้ร่วมมือของพระเจ้าในการปกป้องการสร้างและการเจริญเติบโตของครอบครัวมนุษย์.
           (พระสันตะปาปา) นักบุญยอห์นปอลที่ 2 ทรงเห็นมุมมองนี้ในสมณสาส์น “ครอบครัวคริสตชนในโลกปัจจุบัน” (Familiaris  Consortio) : "พระเจ้าตรัสว่า “เรา จงสร้างมนุษย์ ขึ้นตามภาพลักษณ์ของเรา” (เทียบ ปฐก. 1:26 , 27) : ทรงเรียกเขาให้การดำรงอยู่อาศัยความรัก  ในเวลาเดียวกันพระองค์ทรงเรียกเขาเพื่อรัก . พระเจ้าทรงเป็นความรัก (เทียบ 1 ยน. 4: 8 ) และในพระองค์เอง พระองค์ทรงพระชนม์ในสภาพธรรมล้ำลึกแห่งความรักระหว่างความเป็นหนึ่งเดียวกันที่รักกันเยี่ยงพระบุคคล เมื่อทรงสร้างมนุษย์ทั้งชายและหญิงตามภาพลักษณ์ของพระองค์และทะนุบำรุงสภาพนั้นใหคงอยู่เสมอแล้ว พระองค์ก็ยังได้ทรงกำหนดพระกระแสเรียกพร้อมทั้งความสามารถและจิตสำนึกรับผิดชอบในตัวเขา ให้เขารักและมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
 (สมณสาส์นพระศาสนจักรในโลกสมัยใหม่-GAUDIUM  et SPES , 12). ดังนั้น ความรักจึงเป็นพระกระแสเรียกขั้นพื้นฐานและเป็นองค์ประกอบของมนุษย์แต่ละคน(FC,11)
            พระบุตรของพระเจ้า ,พระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ (เทียบ ยน. 1.14) ในครรโภทรของพระนางมารีย์พรหมจารี, ทรงพระชนม์ชีพและเจริญพระชนม์ในครอบครัวนาซาเร็ธ และประทับในงานสมรสที่หมู่บ้านคานา,ที่พระองค์ทรงเพิ่มความสำคัญแก่งานเลี้ยงด้วยการทำ “เครื่องหมายอัศจรรย์” ครั้งแรก (เทียบ ยน.2.1-11). ในความชื่นชมยินดีนั้น พระองค์เสด็จไปร่วมงานในครอบครัวของบรรดาศิษย์ (เทียบ มก.1.29-31 ; 2:13-17 ) ของพระองค์และทรงปลอบโยนครอบครัวที่ถูกปลิดชีพครอบครัวของพระสหายของพระองค์ในหมู่บ้านเบทานี (เทียบ  ลก. 10:38-42;ยน.11:1-44)
                 พระเยซูคริสตเจ้าทรงฟื้นฟูความงดงามของศีลสมรส, โดยเสนอแผนการของพระเจ้าอีกครั้ง ที่เป็นแผนการที่ถูกทอดทิ้งอันเนื่องมาจากจิตใจแข็งกระด้างของมนุษย์. แม้จะอยู่ในประเพณีของประชากรอิสราเอลก็ตาม (เทียบ มธ. 5:31-32 ; 19:3 -12 ; มก. 10:1-12 ; ลก. 16:18 ). การกลับมาที่จุดเริ่มต้นนั้น, พระเยซูเจ้าทรงสอนเรื่องความสามัคคีและความซื่อสัตย์ของสามีและภรรยา, ปฏิเสธและทอดทิ้งบุตรและทำผิดประเวณี
แน่นอน อาศัยความงดงามอย่างพิเศษสุดของความรักของมนุษย์ – มีการเฉลิมฉลองในท่าทีที่เด่นชัดมากขึ้น,เป็นแรงบันดาลใจจากบทเพลงซาโลมอน,และพันธะแห่งศีลสมรสการเรียกร้อง –  และถูกปกป้องโดยบรรดาประกาศกเช่น โฮเชยา  (เทียบ โฮเชยา 1:2 3.3) และมาลาคี (เทียบ มลค. 2:13-16 ) - . พระเยซูเจ้าทรงยืนยันศักดิ์ศรีดั้งเดิมของ
ความรักในชีวิตสมรสของชายและหญิง

        คำสอนของพระศาสนจักรเกี่ยวกับครอบครัว
                ครอบครัวอยู่ในชุมชนคริสตชนตั้งแต่แรก ครอบครัวคือ “พระศาสนจักรภายในบ้าน”(domestic church-Ecclesia domestica).  (เทียบ คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก- CCC, 1656 ) : ใน “หลักการเกี่ยวกับครอบครัว” ของพระโอวาทเกี่ยวกับพันธสัญญาใหม่,ครอบครัวยิ่งใหญ่ของโลกโบราณ เป็นสิ่งเดียวกับสถานที่ของความสมานฉันท์ที่ลึกซึ้งระหว่างสามีและภรรยา,ระหว่างบิดามารดาและบุตร,ระหว่างคนรวยกับคนจน (เทียบ อฟ. 5:21-6:9 ; คส. 3:18-4:01 ; 1 ทธ. 2:8 -15 ; ทต. 2:1-10 ; 1 ปต. 2:13-3:7 ; เทียบจดหมายถึงฟิเลโมน). โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จดหมายถึงชาวเอเฟซัสที่สอนว่าความรักระหว่างสามีภรรยาเป็น
“ธรรมล้ำลึกที่ยิ่งใหญ่”  ที่ทำให้ความรักของพระคริสตเจ้าและใน
พระศาสนจักร (เทียบ อฟ. 5:31-32 )
        หลายศตวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคสมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน พระศาสนจักรไม่ล้มเหลวที่ยังคงสอนและพัฒนาข้อความเชื่อเกี่ยวกับครอบครัวและชีวิตแต่งงาน เพื่อวางพื้นฐานไว้. คำกล่าวที่ดีที่สุดอันหนึ่งที่การประชุมสภาสังคายนาวาติกันที่สองในสังฆธรรมนูญว่าด้วย
พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ เสนอว่าเป็นปัญหาที่เร่งด่วน, โดยใช้บทหนึ่งทั้งหมดเพื่อส่งเสริมศักดิ์ศรีของการแต่งงานและครอบครัว เท่าที่เห็นในคำอธิบายคุณค่าของการแต่งงานและครอบครัวสำหรับสังฆธรรมนูญเกี่ยวกับสังคมว่า: "ครอบครัวอันเป็นสถานที่คนหลายรุ่นมาพบปะกัน ช่วยเหลือกัน มีความฉลาดยิ่งขึ้นกับช่วยหาทางให้สิทธิของบุคคลประสานเข้ากับความต้องการอื่นๆในชีวิตสังคม ครอบครัวจึงเป็นรากฐานของสังคม” (GS 52) .  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งที่น่าประทับใจคือ การเรียกร้องชีวิตจิตวิญญาณที่เน้นพระพระคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลางในชีวิตแห่งความเชื่อของคู่สมรส"  “ให้คู่สมรสเอง,ทำตัวเองให้เป็นภาพลักษณ์ของพระเจ้าทรงชีวิตและชื่นชมยินดีกับศักดิ์ศรีของความเป็นบุคคล,ที่จะเข้าร่วมกับอีกคนหนึ่งในความรักที่ เท่ากัน ความผสมผสานด้านจิตใจและการทำงานของความศักดิ์สิทธิ์ร่วมกัน. ดังนั้น การติดตามพระเยซูคริสตเจ้าที่ทรงเป็นหลักการของชีวิต,  โดยการเสียสละและความชื่นชมยินดีของพระกระแสเรียกและอาศัยความรักที่ซื่อสัตย์ของพวกเขา, คู่สมรสจึงสามารถเป็นพยานของธรรมล้ำลึกแห่งความรักที่พระเยซูเจ้าทรง เผยแก่โลก ด้วยการสิ้นพระชนม์และทรงกลับคืนพระชนมชีพอีกครั้งหนึ่ง” (GS,52)
           หลังจากการประชุมสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ผู้สืบทอดตำแหน่งของนักบุญเปโตร มีคำสอนเกี่ยวกับชีวิตสมรสและครอบครัวมากมาย. โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมเด็จพระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 ที่ทรงเสนอพระสมณสาส์นสากล เรื่องชีวิตมนุษย์ (Encyclical Humanae Vitae)  ซึ่งมีหลักการและแนวทางปฏิบัติที่เฉพาะเจาะจง.  ด้วยเหตุนี้ ในพระสมณสาส์นเตือนใจเรื่องครอบครัวคริสตชนในโลกปัจจุบัน (Familiaris  Consortio) นักบุญยอห์น ปอลที่สอง ทรงยืนยันที่จะเสนอแผนการของพระเจ้าในความจริง พื้นฐานเกี่ยวกับความรักในชีวิตแต่งงานและ ครอบครัว: "แหล่งเดียวที่จะเอื้ออำนวยการอุทิศตัวดังกล่าวให้เป็นไปได้ตามความจริงของมันได้อย่างสมบูรณืก็คือ สถาบันการสมรส หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ คำสัญญาของความรักระหว่างสามีภรรยา หรือการเลือกสรรซึ่งชายและหญิงที่รู้ตัวและมีอสิระ สมัครใจดำเนินชีวิตและความรักด้วยความสนิทสนมที่ลึกซึ้ง ผู้สร้างความสัมพันธ์ประเภทนี้ก็คือพระเจ้าเอง” (เทียบ GS,48)  ด้วยเหตุผลข้อนี้ มนุษย์จึงจะเข้าใจความหมายอันแท้จริงของอันแท้จริงของความสัมพันธ์นั้น การตั้งสถาบันการสมรสมานั้น ไม่ใช่เกิดจากการแทรกแซงอันเกินควรของสังคมหรอืของผู้มีอำนาจหน้าที่ และก็ไม่ใช่การกำหนดรูปแบบที่บังคับจากภายนอก แต่การตั้งสถาบันนี้เกิดจากข้อเรียกร้องแห่งความรักฉันสามีภรรยาซึ่งต้องการจะแสดงตัวอย่างเปิดเผยว่าเป็นแบบรักเดียวใจเดียวและเฉพาะคู่ เพื่อจะดำเนินชีวิตให้สอดคล้องกับแผนการของพระผู้สร้างอย่างพิถีพิถัน อย่างไรก็ดี ความสอดคล้องนี้ไม่ไดจำกดัอิสระภาพของคนให้น้อยลงเลย แต่กลับป้องกันไม่ให้อิสรภาพตกเป็นแต่เพียงความคิดส่วนตัวหรือเป็นไปตามกระแสความคิดของสังคม และยังบันดาลให้อิสรภาพนั้นมีส่วนร่วมกับพระปรีชาญาณ” (FC, 11).
 คำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกเข้ากับมุมมองพื้นฐานของคำสอนนี้ "พันธสัญญาการแต่งงานซึ่งชายและหญิงสร้างชีวิต และความรักร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างเขาทั้งสองนั้น พระผู้สร้างได้ตั้งขึ้นและได้มอบให้เป็นธรรมบัญญัติเฉพาะ ได้ตั้งขึ้นมาตามธรรมชาติของมัน เพื่อความดีของคู่สามีภรรยา อย่างไรก็ดี  เพื่อให้กำเนิดและให้การศึกษาอบรมลูกหลาน พระคริสตเจ้ายกการแต่งงานระหว่างผู้รับศีลล้างบาปไปสู่ศักดิ์ศรีแห่งศีลศักดิ์สิทธิ์ (เทียบ สภาสังคายนาวาติกันที่ 2, พระศาสนจักรในโลกสมัยนี้,,48,กฎหมายพระศาสนจักร,1055,คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก,1660).
 หลักคำสอนที่นำเสนอทั้งหลักการเทววิทยา และพฤติกรรมทางจริยธรรมในการสอนคำสอน,พัฒนาภายใต้หัวข้อสองประการ : ศีลสมรส ( ข้อ 1601-1658 ) และพระบัญญัติประการที่หก (ข้อ 2331-2391 ). บทอ่านที่น่าสนใจของตอนเหล่านี้ในการสอนคำสอน เพื่อปรับความเข้าใจข้อความเชื่อให้ทันสมัย, ซึ่งสนับสนุนงานของพระศาสนจักรในการเผชิญกับการท้าทายสมัยปัจจุบัน. ศาสนบริการด้านงานอภิบาลพบแรงบันดาลใจในความเจริงของการแต่งงานที่ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของแผนการของพระเจ้า, ที่ได้สร้างมนุษย์ชายและหญิง และเมื่อถึงเวลาที่กำหนดได้เผยแสดงความสมบูรณ์ของความรักฉันสามีภรรยาในพระเยซูเจ้าแก่ระดับศีลศักดิ์สิทธิ์. การแต่งงานแบบคริสตชนพบในเอกฉันท์ที่ถูกมอบหมายด้วยผลของศีลเอง เช่น ความดีและหน้าที่ของคู่สมรส. ในเวลาเดียวกัน การแต่งงานไม่ได้รับการยกเว้นจากผลของบาป ( เทียบ ปฐก. 3.1-24),ซึ่งอาจก่อให้เกิดแผลลึกและการทำลายศักดิ์ศรีของศีลศักดิ์สิทธิ์
สมณสาส์นล่าสุด “แสงสว่างแห่งความเชื่อ” (Lumen Fidei-LF) ของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรังซิส, กล่าวถึงครอบครัว พร้อมกับไตร่ตรองวิธีที่ความเชื่อเผยให้เห็น"ความเชื่อแสดงให้เราเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประชากรนั้นจะมั่นคงเช่นไร เมื่อพระเจ้าทรงประทับอยู่ท่ามกลางพวกเขา” (LF , 50) "จุดแรกที่ความเชื่อส่ส่องสว่างเมืองของมนุษย์คือครอบครัว. ข้าพเจ้าคิดถึงความสัมพันธ์เป็นหนึ่งเดียวระหว่างชายและหญิงในการแต่งงาน. การสมรสที่เกิดจากความรักเป็นเครื่องหมายถึงการยอมรับความดีงามในความแตกต่างทางเพศ ซึ่งคู่สมรสสามารถเป็นเนื้อเดียวกัน (เทียบ ปฐก. 2:24 ) และสให้กำเนิดชีวิตใหม่ ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความดีงาม ปรีชาญาณและแผนการความรักของพระเจ้า.  เมื่อยึดมั่นในความรักนี้ ชายและหญิงจึงสามารถให้คำสัญญาในความรักซึ่งมีต่อกันและกันด้วยการกระทำที่ผูกมัดชีวิตทั้งชีวิตของพวกเขาและสะท้อนถึงลักษณะต่างๆมากมายของความเชื่อ. คำสัญญาที่จะรักตลอดไปนั้นย่อมเป็นไปได้ เมื่อเรามองเห็นแผนการอันยิ่งใหญ่กว่าความคิดและการกระทำของเราเอง เป็นแผนการที่สนับสนุนค้ำจุนเราและทำให้เรายอมมอบอนาคตของเราทั้งหมดแก่ผู้ที่เรารัก”   (LF , 52) "ความเชื่อมิใช่ที่หลบภัย  ซึ่งไม่ทำให้ผิดหวัง ความเชื่อมิใสช่ที่หลบภัยสำหรับผู้ขลาดกลัว แต่เป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มพูนชีวิตของเราไม่มีใจเสาะ แต่ บางสิ่งบางอย่าง  ความเชื่อจะทำให้เราตระหนักถึงการเรียกที่ยิ่งใหญ่ คือ กระแสดเรียกแห่งความรัก  ความเชื่อทำให้เรามั่นใจว่า ความรักนี้ไว้วางใจได้และควรค่าที่จะโอบรับไว้ เพราะตั้งอยู่บนความซื่อสัตย์ของพระเจ้าซึ่งมั่นคงเข้ม
แข็งกว่าความอ่อนแอของเรา”(LF,53)


III.คำถาม
      ให้พระศาสนจักรท้องถิ่นตอบคำถามต่อไปนี้อย่างกระตือรือร้น เพื่อเตรียมเอกสารเพื่อการประชุมสมัยวิสามัญของสมัชชาพระสังฆราช, ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศพระวรสารในบริบทของความท้าทายที่ครอบครัวเผชิญหน้าอยู่ในปัจจุบันนี้.

1. การเผยแพร่คำสอนเกี่ยวกับครอบครัวนำมาจากข้อพระคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์และอำนาจการสอนของพระศาสนจักร,
ก) ประชาชนเข้าใจคำอธิบายถึงคำสอนเกี่ยวกับคุณค่าของครอบครัว ที่ปรากฎในพระคัมภีร์,พระสมณสาส์นเตือนใจเรื่องครอบครัวคริสตชนในโลกปัจจุบัน(Familiaris   Consortio) และเอกสารของอำนาจการสอนของพระศาสนจักรหลังสังคายนาวาติกันที่ 2  อย่างไรบ้างในปัจจุบัน
- จัดการอบรมประชาชนของเราเกี่ยวกับคำสอนของพระศาสนจักรเกี่ยวกับชีวิตครอบครัวอะไรบ้าง
ข) ในกรณีเหล่านี้ ที่คำสอนของพระศาสนจักรเป็นที่รู้จักกันแล้ว  เป็นที่ยอมรับอย่างเต็มที่ไหม หรือ
-มีความยากลำบากไหมในการนำคำสอนเหล่านี้ไปปฏิบัติ?
-ถ้าเป็นเช่นนั้น มีความยากลำบากอะไรบ้าง?
ค)พระศาสนจักรแพร่คำสอนของพระศาสนจักรในโครงการอภิบาลระดับชาติ,ระดับสังฆมณฑลและระดับชุมชนวัดอย่างไรบ้าง?
-จัดการสอนคำสอนเกี่ยวกับครอบครัวอะไรบ้าง?
ง) มีขอบเขตอะไร - และมุมมองอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง – ทำให้คำสอนนี้เป็นที่รู้จัก,ยอมรับ, ถูกปฏิเสธ และ / หรือ ถูกวิจารณ์ในมุมมองต่างๆภายนอกพระศาสนจักร
-ปัจจัยทางวัฒนธรรมอะไรบ้างที่ขัดขวางการยอมรับคำสอนเกี่ยวกับครอบครัวของพระศาสนจักรอย่างเต็มที่

2. การแต่งงานตามกฎธรรมชาติ
ก) ความคิดเกี่ยวกับกฎธรรมชาติอะไรบ้าง ที่เป็นเรื่องวัฒนธรรมของสังคม:ในสถาบันต่างๆ, วงการการศึกษา,วงการวิชาการและในคนทั่วไป?
-นำความคิดด้านมานุษยวิทยาอะไร ที่อยู่ภายใต้พื้นฐานตามธรรมชาติของครอบครัว?

ข) ความคิดเกี่ยวกับกฎธรรมชาติ ในเรื่องการรวมเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างชายและหญิง ได้รับการยอมรับร่วมกันเหมือนยอมรับเรื่องศีลล้างบาปโดยทั่วไปไหม?
ค) ภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของกฎธรรมชาติในเรื่องการเป็นหนึ่งเดียวกันระหว่างชายและหญิง ที่ถูกท้าทายอย่างไรในแง่ของการสร้างครอบครัวอย่างไร
-   จะเสนอและพัฒนาภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติของกฎธรรมชาติในสถาบันต่างๆด้านพลเรือนและพระศาสนจักรอย่างไร?

ง) ในหลายกรณีที่คาทอลิกที่ไม่ปฏิบัติศาสนกิจแล้วหรือผู้ที่ไม่เชื่อ มาขอเข้าจารีตพิธีศีลสมรส,  จงอธิบายถึงข้อท้าทายด้านงานอภิบาลนี้มา
เกี่ยวข้องอย่างไร?
3) การดูแลด้านอภิบาลของครอบครัวในการประกาศพระวรสาร
ก) ประสบการณ์อะไรเกิดขึ้นในหลายทศวรรษที่ผ่านมาเกี่ยวกับ
การเตรียมเข้าพิธีสมรส?
-    ความพยายามอะไรที่กระตุ้นงานประกาศพระวรสารของคู่สมรสและของครอบครัว?
-    ความตระหนักว่าครอบครัวเป็น “พระศาสนจักรภายในบ้าน” ที่ควรได้รับการส่งเสริมอย่างไร ?
ข) คุณประสบความสำเร็จอย่างไรในการใช้ท่าทีการภาวนาภายในครอบครัว      ซึ่งทำให้อดทนต่อการความซับซ้อนของชีวิตและวัฒนธรรมในปัจจุบัน
ค) ในวิกฤตของชนรุ่นปัจจุบัน, ครอบครัวคริสตชนสามารถเติมเต็มกระแสเรียกของพวกเขาในการถ่ายทอดความเชื่อนี้อย่างไร
ง) พระศาสนจักรท้องถิ่นและขบวนการต่างๆเกี่ยวกับชีวิตจิตวิญญาณของครอบครัว สามารถสร้างวิธีการแสดงออกที่เป็นแบบอย่างได้อย่างไร
จ) คู่สมรสและครอบครัวมีส่วนร่วมเฉพาะอะไร เพื่อเผยแพร่ความคิดแบบองค์รวมที่น่าเชื่อถือได้ของคู่สมรสและครอบครัวคริสตชนในปัจจุบัน?
ฉ) งานอภิบาลอะไรที่พระศาสนจักรจัดทำอยู่ เพื่อสนับสนุนคู่สมรสในการอบรม และสำหรับคู่สมรสที่อยู่ในสถานการณ์วิกฤต

4.งานอภิบาลในสถานการณ์การแต่งงานที่ยุ่งยาก
ก)    การอยู่กินฉันสามีภรรยา เป็นสภาพความเป็นจริงทางอภิบาลในวัดของคุณไหม
 -มีจำนวนการอยู่กินฉันสามีภรรยากี่เปอร์เซนต์
ข)    มีการรวมเป็นหนึ่งเดียวกันแบบหลบๆซ่อนๆ ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับทั้งด้านศาสนาและด้านกฎหมายไหม
ค)    คู่สมรสที่แยกกันอยู่และคู่สมรสที่หย่าร้างกัน และคู่สมรสที่ไม่ได้แต่งงานใหม่  เป็นสภาพความเป็นจริงทางอภิบาลในวัดของคุณไหม
-คุณสามารถคาดเดาคู่สมรสดังกล่าวมีจำนวนกี่เปอร์เซนต์ดังกล่าว
-คุณเกี่ยวข้องกับสถานการณ์นี้ในโครงการอภิบาลที่เหมาะสมอย่างไร
       ง) ในกรณีทั้งหมดข้างต้น ผู้ที่รับศีลล้างบาปดำเนินชีวิตใน     สถานการณ์ที่ผิดปกตินี้อย่างไร
-เราตระหนักถึงกรณีข้างต้นไหม
- พวกเขารู้สึกเฉยๆเท่านั้นไหม
-พวกเขารู้สึกว่า เป็นคนชายขอบหรือทนทุกข์จากการไม่ได้รับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆไหม
จ) คนหย่าร้างและแต่งงานใหม่ตั้งคำถามอะไรกับพระศาสนจักร เกี่ยวข้องกับศีลมหาสนิทและศีลอภัยบาป?
-    บุคคลเหล่านั้นที่ประสบอสถานการณ์เหล่านี้ด้วยตนเอง หลายคนขอรับศีลเหล่านี้อย่างไร
ฉ) มีการทำให้การปฏิบัติตามกฎหมายพระศาสนจักรง่ายลงไหม ในการยอมรับการประกาศให้พันธะศีลสมรสเป็นโมฆะ  ทำให้ร่วมกันแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง
-ถ้าใช่   คุณจะใช้รูปแบบใด

ช) ศาสนบริการยังใส่ใจกรณีเหล่านี้ไหม ? 
-  อธิบายเรื่องศาสนบริการด้านอภิบาลนี้
-โครงการเช่นนี้ยังมีอยู่ในระดับสังฆมณฑลและระดับชาติไหม
-พระเมตตาของพระเจ้าได้รับการประกาศแก่คู่สมรสที่แยกกันอยู่และคู่สมรสที่หย่าร้างกันและแต่งงานใหม่ไหม และ
พระศาสนจักรนำพระเมตตาของพระเจ้าไปปฏิบัติเพื่อสนับสนุน
พวกเขาในการเดินทางแห่งความเชื่ออย่างไร?
5. เกี่ยวกับการรวมเป็นหนึ่งของคนเพศเดียวกัน
ก) มีกฎหมายในประเทศของคุณ ที่ยอมรับให้สิทธิการรวมเป็นหนึ่งสำหรับคนเพศเดียวกัน และถือว่ามีสิทธิเสมอการแต่งงานไหม
ข) ทัศนคติอะไรของพระศาสนจักรท้องถิ่นและวัด ที่มีต่อรัฐมีทัศนคติอะไรต่อผู้ส่งเสริมสิทธิการรวมเป็นหนึ่งทางกฎหมายสำหรับคนเพศเดียวกัน และคนที่เกี่ยวข้องในการเป็นหนึ่งเดียวกันแบบนี้
ค)มีความใส่ใจด้านอภิบาลอะไรแก่คนที่ได้รับเลือกให้ดำเนินชีวิตร่วมกันในรูปแบบเหล่านี้
ง) ในกรณีของการรวมเป็นหนึ่งของคนเพศเดียวกัน ที่นำเด็กมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม
-ควรให้การอภิบาลอะไรเพื่อถ่ายทอดความเชื่อ
6. ให้การศึกษาแก่เด็กที่อยู่ในครอบครัวที่ผิดปกติ
ก) มีเด็กและวัยรุ่นจำนวนเท่าใดในกรณีเหล่านี้, เรื่องที่เด็กที่เกิดมาและสำหรับเด็กๆที่กิดมาและได้รับการเลี้ยงดูในครอบครัว
ที่แต่งงานถูกต้อง
ข) พ่อแม่ในสถานการณ์เหล่านี้ จะเข้าถึงพระศาสนจักรได้อย่างไร
- พวกเขาถามอะไรบ้าง
-พวกเขาขอรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เท่านั้นไหมหรือพวกเขาต้องการเรียนคำสอนและมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับศาสนา
ค)วัดพยายามอย่างไรที่จะสนองความต้องการของพ่อแม่ของเด็กเหล่านี้เพื่อให้พวกเขาเรียนศาสนาคริสต์
ง)การรรับศีลศักดิ์สิทธิ์ในกรณีเหล่านี้อะไร ในกรณีเหล่านี้:เช่น การเตรียมตัว การจัดพิธีรับศีลและการให้คำแนะนำ

7.การเปิดรับคู่แต่งงานเพื่อชีวิต
ก)ความรู้อะไรที่คริสตชนมีในปัจจุบันเกี่ยวกับคำสอนของพระสมณสาสน์สากลว่าด้วยกฎเกณฑ์แห่งการคุมกำเนิดของชีวิตมนุษย์ ( Humanae Vitae) เกี่ยวกับความรับผิดชอบของ
บิดามารดา
-พวกเขาตระหนักเกี่ยวกับวิธีการที่ถูกทำนองคลองธรรม ในการประเมินวิธีวางแผน ครอบครัวไหม
- จะเสนอข้อมูลเชิงลึกหรือความหยั่งรู้ในการวางแผนครอบครัวไหม
ข) จะยอมรับคำสอนด้านศีลธรรมนี้ไหม
-มุมมองอะไร ที่เสนอความยุ่งยากที่สุดในสังคมส่วนใหญ่ของการยอมรับคำสอนนี้ของคู่สมรส
ค) วิธีธรรมชาติอะไรที่วัดส่งเสริม เพื่อช่วยให้คู่สมรสนำคำสอนในพระสมณสาสน์สากลว่าด้วยกฎเกณฑ์แห่งการคุมกำเนิดของชีวิตมนุษย์(Humanae Vitae)ไปปฏิบัติ ?
ง)คุณมีประสบการณ์อะไรเกี่ยวกับหัวข้อการรับศีลอภัยบาปและร่วมพิธีมิสซาขอบพระคุณ
จ)คำสอนของพระศาสนจักรแตกต่างกับการศึกษาเรื่องทางโลกเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง
ฉ)ทัศนคติเปิดรับมากขึ้นอย่างไรต่อการนำเด็กมาเลี้ยงเป็นบุตรบุญธรรม
-ควรส่งเสริมการให้กำเนิดบุตรมากขึ้นอย่างไร
8. ความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวกับแต่ละบุคคล
ก) พระเยซูคริสตเจ้าทรงเผยให้เห็นถึงธรรมล้ำลึกและ
กระแสเรียกของบุคคล
-ครอบครัวสามารถเป็นสถานที่ยกเว้นไม่ให้เกิดสิ่งนี้อย่างไร?
      ข) สถานการณ์ที่สำคัญอะไรในครอบครัวปัจจุบัน ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อบุคคลที่จะพบปะกับพระคริสตเจ้า ?
ค) ขอบเขตอะไรที่เป็นวิกฤติของความเชื่อ ที่มากระทบ
กับชีวิตครอบครัว?

9. ความท้าทายและข้อเสนออื่น ๆ
     ข้อท้าทายหรือข้อเสนออื่นๆอะไรบ้าง ที่เกี่ยวข้องกับ หัวข้อต่างๆในคำถามข้างต้น ที่คุณพิจารณาว่าเป็นเรื่องเร่งด่วน  และเป็นประโยชน์?

รำพึงพระวาจาประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 4 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 10:11-18) เวลานั้น พระเยซูเจ้าตรัสว่า เราเป็นผู้เลี้ยงแกะที่ดี ผู้เลี้ยงแกะย่อมสละชีวิตเพื่อแกะของตน ลูกจ้างที่ไม่ใช่ผู้เลี้ยง และไม่เป็นเจ้าของแกะ เมื่อเห็นสุนัขป่าเข้ามา ก็ละทิ้งบรรดาแกะและหนีไป สุนัขป่าแย่งชิงแกะ...
วันเสาร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:60-69) เวลานั้น เมื่อศิษย์หลายคนได้ยินพระองค์ตรัสดังนี้ก็กล่าวว่า “ถ้อยคำนี้ขัดหูจริง ใครจะฟังได้” พระเยซูเจ้าทรงทราบด้วยพระองค์ว่าบรรดาศิษย์กำลังบ่นกันเรื่องนี้ จึงตรัสแก่เขาว่า “เรื่องนี้ทำให้ท่านเคลือบแคลงใจหรือ แล้วถ้าท่านจะเห็นบุตรแห่งมนุษย์กลับขึ้นสู่สถานที่ที่เคยอยู่แต่ก่อนเล่า...
วันศุกร์ สัปดาห์ที่ 3 เทศกาลปัสกา พระวรสารตามคำบอกเล่าของนักบุญยอห์น (ยน 6:52-59) เวลานั้น ชาวยิวจึงเถียงกันว่า “คนนี้เอาเนื้อของตนให้เรากินได้อย่างไร” พระเยซูเจ้าตรัสตอบเขาว่า “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ถ้าท่านไม่กินเนื้อของบุตรแห่งมนุษย์ และไม่ดื่มโลหิตของเขา ท่านจะไม่มีชีวิตในตนเอง...

Don't be afraid

E-Book แผนกคริสตศาสนธรรม อัคสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

สื่อการสอน เกมคำสอน เกมพระคัมภีร์ ออนไลน์

สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
สื่อการสอน คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ
คุณค่าพระวรสาร 21 ประการ สำหรับอัตลักษณ์การศึกษาคาทอลิก คุณค่าพระวรสาร คือ คุณค่าที่พระเยซูเจ้าสั่งสอน และเจริญชีวิตเป็นแบบอย่างแก่บรรดาสานุศิษย์และประชาชน...
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง อุปมาของพระเยซูเจ้า
อุปมาเป็นเรื่องราวสั้นๆ ชวนคิด ที่พระเยซูเจ้าทรงเล่าให้ประชาชนฟัง เพื่อสอนพวกเขาเกี่ยวกับพระเจ้าและหนทางไปสวรรค์
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง "คำสอนของพระเยซูเจ้า"
สื่อการเรียนการสอน เรื่อง
แผนภูมิความรู้ ความสอนของพระเยซูเจ้า ความเชื่อและการรับศีลล้างบาป ความสุขแท้จริง การเป็นแบบอย่างที่ดี การรักศัตรู การภาวนา ความไว้วางใจในพระเจ้า...
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป V. 2023
ดาวน์โหลดแผ่นพับ 5 ขั้นตอนของการรับศีลอภัยบาป .pdf

คำสอนสำหรับเยาวชน YOUCAT

219. คริสตชนคาทอลิกต้องไปร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณบ่อยครั้งเพียงใด คริสตชนคาทอลิกมีพันธะผูกพันให้เข้าร่วมพิธีมิสซาบูชาขอบพระคุณทุกวันอาทิตย์ และวันฉลองบังคับ ผู้ใดที่แสวงหามิตรภาพกับพระเยซูเจ้าอย่างแท้จริง จะตอบรับการเชิญมาสู่งานเลี้ยงของพระเยซูเจ้าบ่อยที่สุดเท่าที่สามารถทำได้ (1389, 1417) ความจริงแล้วสำหรับคริสตชนแท้ “หน้าที่ในวันอาทิตย์” ไม่สมควรเป็นแค่การแสดงออกถึงภาระผูกพันเป็นดัง “การจุมพิตหน้าที่”...
218. วิธีที่ถูกต้องในการถวายเกียรติแด่องค์พระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทับอยู่ในแผ่นปังและเหล้าองุ่นคืออะไร เพราะพระเจ้าทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในรูปของปังและเหล้าองุ่นที่ได้การเสก เราต้องเก็บของถวายศักดิ์สิทธิ์นี้ด้วยความเคารพบูชาอย่างสูงสุด และกราบนมัสการองค์พระผู้เป็นเจ้าและพระผู้ไถ่กู้ของเราในศีลมหาสนิท (1378 -1381 ,1418) ถ้ามีแผ่นปังที่ได้รับการเสกเหลืออยู่จากพิธีมิสซาขอบพระคุณ ต้องเก็บรักษาไว้ในภาชนะศักดิ์สิทธิ์ในตู้ศีล เมื่อศีลมหาสนิทประทับอยู่ในตู้ศีล ตู้ศีลจึงเป็นสถานที่ที่เคารพที่สุดของวัด...
216. พระคริสตเจ้าทรงประทับอยู่ในพิธีมิสซาขอบพระคุณในวิธีใด พระคริสตเจ้าทรงเป็นพรธรรมล้ำลึกอย่างยิ่ง แต่ทรงประทับอยู่อย่างแท้จริงในศีลศักดิ์สิทธิ์แห่งศีลมหาสนิท เนื่องจากพระศาสนจักรปฏิบัติตามคำสั่งของพระเยซูเจ้าที่ว่า “จงทำการนี้เพื่อระลึกถึงเราเถิด” (1 คร 11:24) การบิปังและการหยิบยื่นถ้วยกาลิกษ์ที่กระทำในทุกวันนี้ เป็นสิ่งเดียวที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น เป็นพระคริสตเจ้าอย่างแท้จริงที่ทรงมอบพระองค์เองแก่เรา...

กิจกรรมพระคัมภีร์

เดินตามกฎ
เดินตามกฎ
เดินตามกฎ เรื่อง กฎต่างๆ พระคัมภีร์ โยชูวา 1:7-8 ภาพรวม เด็กๆ ปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในเกม และเรียนรู้ถึงคุณค่าของการปฏิบัติตามกฎต่างๆ ในชีวิต อุปกรณ์ ปากกาเส้นใหญ่สีดำ เทปแถบกาว และกระดาษสีแดง 5 แผ่น สีเขียว 10 แผ่น วาดเครื่องหมายหยุดไว้บนกระดาษสีแดงแต่ละแผ่น และวาดลูกศรลงบนกระดาษสีเขียวแต่ละแผ่น ประสบการณ์ ให้เด็กๆ...
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม
ดูซิ เห็นไหม เรื่อง ยืนยันต่อผู้อื่น พระคัมภีร์ สุภาษิต 16:24 ภาพรวม เด็กๆ พบสิ่งดีในผู้อื่นจากการเรียนรู้จักสิ่งดีในตนเอง อุปกรณ์ ทอฟฟี่ ดินสอ การ์ด 3 x 5 นิ้ว (2 เท่าของจำนวนเด็ก) ประสบการณ์ บอกเด็กๆ ว่าเรากำลังมองหาความดีในผู้อื่น ครูแจกดินสอและกระดาษการ์ด 3...

ประมวลภาพกิจกรรม

พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
พิธีเอฟฟาธา ฟื้นผู้จิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ปี 2024
🙏 "เอฟฟาธา แปลว่า จงเปิดเถิด" 🙏 วันเสาร์ที่ 8 เมษายน ค.ศ. 2023 แผนกคริสตศาสนธรรมอัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ได้จัด "พิธีเอฟฟาธา" และฟื้นฟูจิตใจผู้เตรียมเป็นคริสตชน ณ อาสนวิหารอัสสัมชัญ บางรัก และห้องประชุมชั้นใต้ดิน (สำนักมิสซัง) ในกฤษฎีกาสมัชชาใหญ่ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย...
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
ค่ายคำสอนลูกแม่พระ ปี 2024
🎊 “ท่องโลกพระคัมภีร์”🎊 วันศุกร์ที่ 22 มีนาคม 2024 ทีมคำสอนสัญจรได้ไปกิจกรรมพิเศษของค่ายคำสอนลูกแม่พระ ให้กับเด็กนักเรียนคำสอน วัดแม่พระฟาติมาดินแดง กว่า 50 คน ในหัวข้อ “ท่องโลกพระคัมภีร์” วันนี้ เด็กๆ ได้เรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของพระคัมภีร์ตั้งแต่พันธสัญญาเดิมเรื่อยมาจนถึงพันธสัญญาใหม่ ผ่านทางวีดีโอ ควบคู่ไปกับการเติมคำในช่องว่าง และยังได้ทำกิจกรรมเพื่อช่วยให้จดจำชื่อหนังสือพระคัมภีร์ได้มากขึ้น...

สวดสายประคำ

สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น
สายประคำทำให้ความเชื่อเข้มแข็งขึ้น ตลอดประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรคาทอลิก พระสันตะปาปาและนักบุญจํานวนมากสนับสนุนให้สวดสายประคํา เมื่อเราเริ่มเข้าใจและซาบซึ้งในสายประคําและสวดบ่อยขึ้น เราจะเห็นความหมายที่แท้จริงของการรําพึงภาวนา เราเริ่มเห็นคุณค่าว่าคําภาวนานั้นไม่เพียงแต่ถึงพระนางมารีย์...
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ
ทำไมชาวคาทอลิกจึงสวดสายประคำ (The Rosary)การสวดบทภาวนาเดียวกันซ้ำหลายๆ ครั้ง เป็นวิธีปฏิบัติในบางศาสนา เพราะคิดว่าการสวดภาวนาซ้ำไปซ้ำมาจะได้ผลดีกว่า...

ช่วงเวลาสั้นๆ กับพระเจ้า

วงล้อ
พระเจ้าตรัสอะไรกับท่านในวันนี้ พระ​วาจา​ของ​พระองค์​เป็น​โคม​ส่อง​ทาง​ของ​ข้าพ​เจ้า เป็น​แสง​สว่าง​ส่อง​ทางเดิน​ให้​ข้าพ​เจ้า (สดด 119:105) ภาวนาวอนขอความสว่างจากพระองค์ แล้วหมุนวงล้อ...
วงล้อ พระวาจาหนุนใจในเหตุการณ์ต่างๆ ของชีวิต
ในชีวิตประจำวัน เราจะพบความเศร้า ความกลัว ปัญหา ความทุกข์ยาก ความไม่สบายใจ ความรู้สึกผิด ความหดหู่ ถูกทดลอง เจ็บป่วย...

คำถามที่เด็กๆ อยากรู้เกี่ยวกับพระเจ้า

Messiah
พระเมสสิยาห์ คำว่า พระเมสสิยาห์ เป็นภาษาฮีบรูที่ใช้เรียกพระคริสต์ ซึ่งเปลว่า...
Redeemer
พระผู้ไถ่ เป็นพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า ที่หมายถึงว่า พระองค์สิ้นพระชนม์เพื่อไถ่เราให้รอดพ้นจากบาป
tomb
อุโมงค์ฝังศพ คือสถานที่ใช้ฝังศพผู้ตาย อุโมงค์ฝังพระศพของพระเยซูเจ้านั้นมีลักษณะเป็นโพรงหิน

ประวัตินักบุญ

25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร
25 เมษายน ฉลองนักบุญมาระโก ผู้นิพนธ์พระวรสาร (St. Mark, Evangelist, feast) มีความเห็นพ้องต้องกันโดยทั่วไปว่า ชื่อของ มาระโก ที่มีกล่าวไว้ในหนังสือกิจการอัครสาวก...
25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์
วันที่ 25 มีนาคม สมโภชการแจ้งสารเรื่องพระวจนาตถ์ทรงรับสภาพมนุษย์ ( The Annunciation of the Lord, solemnity )...
19 มีนาคม  สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี
วันที่ 19 มีนาคม สมโภชนักบุญโยเซฟ ภัสดาของพระนางมารีย์พรหมจารี (St. Joseph, Spouse of the Blessed Virgin...
17 มีนาคม  ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช  (St. Patrick, Bishop, memorial)
วันที่ 17 มีนาคม ระลึกถึงนักบุญปาตริก พระสังฆราช (St. Patrick, Bishop, memorial) นักบุญปาตริกเป็นนักบุญยิ่งใหญ่และเป็นองค์อุปถัมภ์ของประเทศไอร์แลนด์ ท่านเป็นบุตรชายของ Calpurnius...

CCBKK Channel

youtube1

Kamson TikTok

tiktok

Facebook CCBKK

วันละหนึ่งนาทีกับนักบุญโยเซฟ

St.Joseph 2021

คำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก

ccc thai web

บทอ่านและบทมิสซา

ordomissae

พระคัมภีร์คาทอลิก

WOPTMR80W7YC0H90QTK7LZC1E1L2WM

บทเพลงศักดิ์สิทธิ์

angels-5b

วิชาคริสต์ศาสนา + จริยศึกษา

poster 2023 moral re

------------------------------------------

poster 2023 christianity re

สถิติเยี่ยมชม (22-2-2012)

วันนี้
เมื่อวานนี้
สัปดาห์นี้
เดือนนี้
เดือนที่แล้ว
ทั้งหมด
21122
23407
88172
200690
306218
35944412
Your IP: 18.222.67.251
2024-04-20 16:42

สถานะการเยี่ยมชม

มี 406 ผู้มาเยือน และ ไม่มีสมาชิกออนไลน์ ออนไลน์