แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

คู่มือแนวทางการปฏิบัติตนของคาทอลิกในการร่วมพิธีของศาสนาอื่น
การเสี่ยงเซียมซี
saiemcee

ความเป็นมา
การเสี่ยงเซียมซี เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ทำนายโชคชะตา บนบานศาลกล่าว ซึ่งมีตามศาลเจ้าและวัดต่างๆ  เซียมซีเป็นวรรณกรรม ที่เกิดขึ้นในประเทศจีนไม่น้อยกว่า 1,000 ปี ในสมัยราชวงศ์ซ้องได้แพร่กระจายเข้ามาในประเทศไทย ในช่วงสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน ต่อมานายเปลี่ยน แซ่ซ้อง ได้แปลใบเซียมซีภาษาจีนเป็นภาษาไทยในรูปแบบในรูปร้อยกรองประมาณ 4-6 บท ในสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ปัจจุบันใบเซียมซีได้แปลเป็นหลายสำนวนโดยกวีนิรนาม รูปแบบการแต่งเซียมซีมีทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองมีเนื้อหาเกี่ยวกับชะตาชีวิต โชคลาภ ความรักความเจ็บไข้ ลูกหนี้ คดีความ บุตร ของสญหาย การพบปะญาติมิตร ฯลฯ ใบเซียมซีหนึ่งชุดมีประมาณ 28 - 36 ใบ ซึ่งมีเกณฑ์แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ ระดับดีมากมี 1-2 ใบ,ระดับดีมี 8-9 ใบ, ระดับกลางมี 9-10 ใบ และระดับไม่ดีมีประมาณ 8-9 ใบ

วิธีเสี่ยงเซียมซี
คนที่เสี่ยงเซียมซีจะสั่นกระบอกติ้วจนติ้วหลุดจากกระบอก 1 อัน ดูว่าไม้ติ้วนั้นมีเลขอะไรกำกับ และไปเลือกเซียมซี แต่ทว่าอาจจะไม่จบลงแค่นั้น บางทีต้องเสี่ยงไม้ปวย ประกอบด้วยว่าติ้วเซียมซีที่ได้นั้นเป็นของตนหรือไม่ โดยการโยนไม้ปวยทรงพระจันทร์เสี้ยวขนาดเท่ากัน 2 อัน ไม้ปวยต้องคว่ำอันหนึ่ง หงายอันหนึ่งจึงจะแสดงว่าติ้วเซียมซีที่เสี่ยงได้นั้นเป็นของตน ถ้าไม้ปวยหงายหรือคว่ำทั้ง 2 อัน ก็ต้องสั่นกระบอกติ้วใหม่

แนวทางการปฏิบัติของคริสตชนคาทอลิก

  • การเสี่ยงเซียมซีเป็นการการทำนายชีวิตเหตุการณ์ในอนาคต และการเสี่ยงเซียมซีเป็นการถามเทพเจ้าที่ตนนับถือ คริสตชนคาทอลิกไม่สามารถไปเสี่ยงเซียมซี เพราะเป็นเรื่องที่ขัดกับความเชื่อ
คำสอนของพระศาสนจักร
  • พระเจ้าทรงสามารถเผยแสดงอนาคตให้กับประกาศกหรือให้กับนักบุญท่านอื่นๆได้ อย่างไรก็ตาม ท่าทีของคริสตชนที่ถูกต้องควรประกอบด้วยการมอบตนเองไว้ในพระหัตถ์ของพระญาณเอื้ออาทรด้วยความมั่นใจสำหรับสิ่งซึ่งเกี่ยวข้อง และเพื่อหลีกหนีจากความอยากรู้อยากเห็นที่ไม่เป็นผลดีทุกชนิดจากทัศนะนี้ การไม่ได้จัดเตรียมไว้ก่อนล่วงหน้าอาจก่อให้เกิดข้อบกพร่องด้านความรับผิดชอบ ลัทธินับถือผี บ่อยๆ แอบอิงการปฏิบัติในการทำนายอนาคตหรือเวทมนต์คาถา พระศาสนจักรยังเฝ้าเอาใจใส่สัตบุรุษให้ห่างจากลัทธินี้

    ที่มา : คู่มือแนวทางการปฏิบัติตนของคาทอลิกในการร่วมพิธีของศาสนาอื่น