แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ทำไมพระสันตะปาปาจึงมีผู้แทนพระองค์อยู่ในประเทศต่างๆ
    พระสันตะปาปามิได้เป็นแค่พระสังฆราชแห่งกรุงโรมเท่านั้น แต่ทว่าในฐานะผู้แทนองค์พระคริสตเจ้า พระองค์ยังเป็นนายชุมพาบาล (ผู้อภิบาล) สากล ดูแลบรรดาสัตบุรุษอีกด้วย พระองค์ยังทรงห่วงใยผู้ที่อยู่นอกพระศาสนจักรด้วย พระองค์ทรงเป็นศูนย์กลางของเอกภาพและเป็นศูนย์รวมของบรรดาพระสังฆราชท้องถิ่นต่างๆ และสัตบุรุษด้วย ยิ่งกว่านั้น พระองค์ยังต้องยืนยันความเป็นพี่น้องกันในฐานันดรพระสังฆราช (เทียบ ลก 22:32) นั่นคือ ประคับประคอง ชี้นำ ให้กำลังใจและช่วยบรรเทาใจพวกเขา โดยทางผู้แทนพระองค์ที่ประจำอยู่ในท้องถิ่นต่างๆ

    แน่นอนว่ามีการติดต่อกันทางจดหมาย ซึ่งก็มีการใช้บ่อยๆ นอกจากนั้นยังมีการให้พระสังฆราชเข้าเฝ้าพระสันตะปาปาเป็นระยะ ซึ่งเป็นโอกาสให้พระสันตะปาปาและบรรดาพระสังฆราชได้พบปะและสื่อสารกันเป็นการส่วนตัว ความก้าวหน้าอันทันสมัยในการขนส่ง เปิดโอกาสให้พระสันตะปาปาเสด็จไปเยี่ยมพระศาสนจักรท้องถิ่นต่างๆ แต่ยังไม่เพียงพอ ไม่ควรมีเพียงแค่การเคลื่อนไหวจากพระศาสนจักรท้องถิ่นต่างๆ สู่ศูนย์กลางและหัวใจของพระศาสนจักร เพียงแค่การเข้าเฝ้าคารวะพระสันตะปาปาเท่านั้น แต่ยังมีการเคลื่อนไหวจากศูนย์กลางสู่ส่วนนอกด้วย
    วิธีการที่เป็นรูปธรรมที่มั่นใจเรื่อง “การปรากฏอยู่” ของพระสันตะปาปาในพระศาสนจักรท้องถิ่นต่างๆ คือมีการแต่งตั้งผู้แทนพระองค์ให้ประจำอยู่ในดินแดนต่างๆ อย่างถาวร ที่เกี่ยวพันในการเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างพระสันตะปาปากับพระศาสนจักรท้องถิ่นต่างๆ บรรดาผู้แทนพระองค์หรือพระสมณฑูตนั้นตามปรกติเป็นสมณะระดับพระสังฆราช ซึ่งมีหน้าที่สำคัญอย่างมากในการดำเนินการรับใช้พระศาสนจักร
    พึงสังเกตว่าพวกท่านเป็นผู้แทนพระสันตะปาปามิใช่หัวหน้าสูงสุดของอาณาเขตทางฝ่ายโลก (เช่น รัฐวาติกัน) แต่ในฐานะหัวหน้าของพระศาสนจักร พวกท่านเป็นพระสมณทูตของสันตะสำนัก และเอาใจใส่ดูแลเรื่องพันธกิจฝ่ายจิตในพระศาสนจักร
    ตามคำขอของบรรดาปิตาจารย์ของสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ให้บ่งชัดถึงบทบาทหน้าที่ต่างๆ ของบรรดาผู้แทนพระสันตะปาปา (Degree on Bishops 9) พระสันตะปาปา ปอล ที่ 6 ได้ทรงออกสมณ-สารเรื่อง Solicitudo omnium ecclesiarum (solicitude for all the Churches) ได้ให้หลักปฏิบัติในการทำหน้าที่ผู้แทนพระสันตะปาปา โดยกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ให้ เรื่องนี้มีระบุไว้ในประมวลกฎหมายพระ-ศาสนจักร (ดู ม.362-367)
    บรรดาผู้แทนพระสันตะปาปานั้นถูกส่งไปประจำอยู่ที่พระ-ศาสนจักรท้องถิ่นเท่านั้น หรือในพระศาสนจักรอื่นๆ รวมทั้งประเทศและรัฐบาลด้วย หรือในองค์กรนานาชาติ เช่น UNESCO
    เมื่อผู้แทนพระสันตะปาปาเกี่ยวข้องกับพระศาสนจักรท้องถิ่นเท่านั้น มิได้เป็นผู้ปกครองรัฐ และมิได้เป็นรัฐบาลปกครองชาตินั้นๆ ท่านเป็นผู้แทนซึ่งเรียกว่า สมณทูต (Nuncio) ภารกิจของท่านมิใช่ปฏิบัติการปกครองแทนพระสังฆราชท้องถิ่น แต่มีหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนพระศาสนจักรท้องถิ่น และผูกพันความแน่นแฟ้นระหว่างพระศาสนจักรท้องถิ่นกับสันตะสำนัก
    ในขณะที่ท่านทำหน้าที่แทนทางด้านศาสนาและเพิ่มหน้าที่ทางการทูตกับรัฐและรัฐบาลนั้น ผู้แทนพระสันตะปาปาอาจเป็นพระ-สมณทูต ผู้แทนสมณทูต หรือเอกอัครสมณทูต
    ตามธรรมเนียมปฏิบัติในประเทศที่เป็นคาทอลิก ผู้แทนพระ-สันตะปาปาในฐานะหัวหน้าคณะในด้านการทูต ในกรณีนี้ผู้แทนสมเด็จพระสันตะปาปาคือสมณทูต อีกอย่างหนึ่งคือเอกอัครสมณทูต สมณ-ทูตหรือเอกอัครสมณทูตมีตำแหน่งเทียบเท่าเอกอัครราชทูตตามกฎหมายสากลทางการทูต พระเอกอัครสมณทูตหรือผู้แทนพิเศษที่มีอำนาจเต็ม
    แน่นอนว่าจุดประสงค์และเป้าหมายของพระศาสนจักรและของรัฐนั้นแตกต่างกัน แต่ทั้งสองมีอยู่และมีหน้าที่เพื่อประโยชน์ของมนุษย์ กิจการต่างๆ ของพระศาสนจักรและของรัฐนั้นเสริมสร้างซึ่งกันและกัน จึงจำเป็นต้องมีการเสวนา ทำความเข้าใจและร่วมมือกัน เพื่อส่งเสริมสันติภาพสากลและความเจริญก้าวหน้าของชาติต่างๆ ทั้งหมดนี้ได้แรงบันดาลใจจากพันธกิจทางด้านอภิบาลของพระศาสนจักรและความห่วงใยทางด้านจิตใจ ด้านศีลธรรมและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ บรรดาผู้แทนพระสันตะปาปานั้นกระทำการติดต่อกันอย่างใกล้ชิดกับรัฐต่างๆ เพื่อให้จุดประสงค์ต่างๆ ที่วางไว้เป็นความจริง