แผนกคริสตศาสนธรรม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

CATECHETICAL CENTER OF BANGKOK ARCHDIOCESE

thzh-CNenfritjako

ทำไมการกระทำการุณยฆาตกรรม (ฆ่าเพราะสงสาร) จึงเป็นสิ่งผิด

3600peutanazja    “Euthanasia” เป็นคำกรีก ที่หมายถึง การมรณะอย่างเรียบง่ายและสงบ ก่อนคริสตศักราชนั้น เคยมีธรรมเนียมปฏิบัติว่า เมื่อมีบุตรที่ไม่พึงประสงค์ และคนชราที่ถูกทอดทิ้งให้ได้รับการเผชิญหน้ากับความตาย
    ความสนใจสมัยใหม่เกี่ยวกับการกระทำการุณยฆาตกรรมนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 19 ซึ่งได้มีการปฏิบัติกันในสงครามโลกครั้งที่สอง ในพวกนาซีเยอรมัน เพื่อทำลายผู้ที่ถือว่าเป็นเสี้ยนหนามทางการเมือง และทางเผ่าพันธุ์มนุษย์ที่ส่งผลร้ายต่อรัฐ
    เมื่อใครบางคนถูกกระทำให้ตายแบบส่วนตัวหรือแบบทางการ โดยไม่เข้าใจหรือไม่มีการยินยอม เป็นการกระทำ “เชิงบังคับ” เป็นการกระทำการุณยฆาตกรรม และการสังหารหมู่ แม้เป็นความสมัครใจของผู้ขอก็เท่ากับเป็นการฆ่าตัวตาย

    ชีวิตเป็นพระพรพิเศษจากพระเจ้า อันเป็นแหล่งแรกเริ่มของการเป็นอยู่ ถ้าปราศจากสิ่งนี้ ก็คงไม่มีใครมีชีวิตอยู่ได้ในโลกนี้ หรือในโลกหน้า พระพรนี้ทำให้มนุษย์ทุกคนมีหน้าที่ มีเป้าหมาย และมีผลงานให้บรรลุถึง
    ยิ่งกว่านั้น ชีวิตมนุษย์ไม่เหมือนกับสิ่งสร้างอื่นๆ ที่พระเจ้าทรงสร้างมา คือ เป็นสิ่งมหัศจรรย์ มนุษย์ถูกสร้างขึ้นมาตามภาพลักษณ์และคล้ายกับพระเจ้า “พระเจ้าตรัสว่า เราจงสร้างมนุษย์ขึ้นตามภาพลักษณ์ของเรา... พระเจ้าทรงสร้างมนุษย์ตามภาพลักษณ์ของพระองค์ พระองค์ทรงสร้างเขาตามภาพลักษณ์ของพระเจ้า” (ปฐก 1:26, 27)
    แม้ว่าพระเจ้าได้ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาให้เป็นเจ้านายเหนือสิ่งสร้างอื่นๆ (ปฐก 1:26) แต่ก็มิได้ให้เขาเป็นเจ้านายเหนือตนเอง ในความหมายที่ว่าสามารถทำอะไรกับชีวิตของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันได้ตามใจชอบ ยิ่งกว่านั้นมีกฎบัญญัติเชิงบวกว่า “อย่าฆ่าคน” (อพย 20:13; ฉธบ 5:17)
    ดังนั้นจึงเป็นความผิดร้ายแรงในการทำลายชีวิตมนุษย์ไม่ว่าเวลาใดก็ตาม ซึ่งเริ่มตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิ (คือทำแท้ง) หรือเมื่อชราภาพ หรือเจ็บป่วยทุพพลภาพ หรือเป็นคนที่ไร้ประโยชน์ในสังคม (การุณย-ฆาตกรรม) เป็นความผิดร้ายแรงในการดับชีวิตมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิ กฎหมายพระศาสนจักรกำหนดให้ขับคนทำผิดเช่นนี้ออกจากพระ-ศาสนจักร “บุคคลใดจัดการให้มีการทำแท้งโดยมีผลสำเร็จตามมา ต้องโทษถูกตัดขาดจากพระศาสนจักรโดยอัตโนมัติ” (ม.1398) การกระทำการุณยฆาตกรรมก็เป็นสิ่งชั่วร้ายพอๆ กัน
    ผู้ใดที่ตัดพระเจ้าออกจากชีวิตของตนและเห็นแก่ผลประโยชน์ทางวัตถุในเรื่องการดำรงชีวิตมนุษย์ ซึ่งดูเหมือนว่าเป็นเรื่องมีมนุษยธรรมในการดับชีวิตมนุษย์คนหนึ่งที่ป่วยใกล้ตาย และต้องทนทุกข์ทรมานแสนสาหัส แต่มิใช่เช่นนั้นสำหรับผู้ที่เชื่อในพระเจ้า คริสตชนอาจเห็นว่า การทนทุกข์ทรมานนั้นมีคุณค่าอันยิ่งใหญ่ของการชดใช้ความผิดและการไถ่กู้เพื่อตนเองและผู้อื่น แบบอย่างของพระคริสตเจ้าบนไม้กางเขนนั้นน่าจะเป็นแรงบันดาลใจและให้กำลังใจแก่เขา และผู้ดูแลใกล้ชิดเขา
    แม้เมื่อมีผู้ที่ไร้สติสัมปชัญญะ และตกอยู่ในสภาพร่างกายไร้สำนึก ก็ยังมีมิติทางสังคมของชีวิตผู้ทนทุกข์ทรมาน ซึ่งเมื่อยกจิตใจขึ้นสู่สะภาวะเหนือธรรมชาติ ก็อาจก่อให้เกิดคุณค่าสูงส่งทางความรักเมตตาแบบคริสตชน ผู้ที่ต้องเอาใจใส่ดูแลคนทุกข์ทรมานได้รับเรียกให้แสดงความรักเมตตาแบบคริสตชนตราบเท่าที่เขายังมีชีวิตอยู่ “เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ท่านทำสิ่งใดต่อพี่น้องผู้ต่ำต้อยที่สุดของเราคนหนึ่ง ท่านก็ทำสิ่งนั้นต่อเรา” (มธ 25:40) มิติด้านสังคมและหมู่คณะในความเป็นอยู่ของมนุษย์นั้น ผู้คนเหล่านั้นไม่รับรู้ไม่ได้ ดังนั้น การกำหนดให้บุคคลใดตายนั้นเป็นการทำผิดต่อคุณค่าทางความรักเมตตาแบบคริสตชน พวกเขาสมควรได้รับการเอาใจใส่ดูแลไปจนกว่าจะสิ้นใจตามประสงค์ของพระเจ้า
    สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 กล่าวไว้ว่า การกระทำการุณย-ฆาตกรรมเป็นการฆาตกรรมแบบหนึ่ง ซึ่ง “ทำร้ายสังคมมนุษย์และหมิ่นประมาทเกียรติศักดิ์ของพระผู้สร้างอย่างร้ายแรง” (พระศาสน-จักรในโลกปัจจุบัน 27)